GENERAL HERO2010 Member
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.

คำให้การของรองผู้ช่วย รมต.กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ เกี่ยวกับรัฐประหารในไทย

Go down

คำให้การของรองผู้ช่วย รมต.กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ เกี่ยวกับรัฐประหารในไทย Empty คำให้การของรองผู้ช่วย รมต.กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ เกี่ยวกับรัฐประหารในไทย

ตั้งหัวข้อ  goosehhardcore Wed Jun 25, 2014 8:30 pm

คำให้การของรองผู้ช่วย รมต.กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ เกี่ยวกับรัฐประหารในไทย O8xro9

ประเทศไทย: ประชาธิปไตยในภาวะเสี่ยง
24 มิถุนายน พ.ศ. 2557

คำให้การของนายสก็อต มาร์เซียล รองผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ฝ่ายกิจการเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก ต่อคณะอนุกรรมาธิการการต่างประเทศด้านกิจการเอเชียตะวันออกและแปซิฟิกของสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ

กรุงวอชิงตัน ดี.ซี.

เรียน ท่านประธานชาบอทและสมาชิกคณะอนุกรรมาธิการฯ

ขอขอบคุณที่เปิดโอกาสให้ผมเข้าพบในวันนี้เพื่อแถลงเกี่ยวกับรัฐประหารในประเทศไทยเมื่อไม่นานมานี้

ความสัมพันธ์สหรัฐอเมริกา-ไทย

ปีที่แล้ว สหรัฐฯ ได้จัดงานเพื่อระลึกวาระครบรอบ 180 ปี แห่งมิตรสัมพันธ์กับประเทศไทย ซึ่งเป็นหนึ่งในห้าพันธมิตรตามสนธิสัญญาของสหรัฐฯ ในเอเชีย ทั้งสองประเทศมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดยิ่ง และความร่วมมือระหว่างสหรัฐฯ กับไทยทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลกด้านการบังคับใช้กฎหมาย ด้านการไม่แพร่ขยายอาวุธ และด้านความมั่นคง ก็ดำเนินไปอย่างดีเยี่ยมมาตลอด กองทัพของสหรัฐฯ เข้าร่วมในการฝึกซ้อมร่วมทางทหารที่สำคัญอย่างหลากหลายทั้งในระดับทวิภาคีและพหุภาคี ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดการฝึกซ้อมทางทหารคอบร้าโกลด์ ซึ่งเป็นการฝึกซ้อมร่วมทางทหารประจำปีที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โดยมีกองกำลังจาก 27 ประเทศเข้าร่วม เช่น สหรัฐฯ ไทย อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ มาเลเซีย สิงคโปร์ ตลอดจนประเทศผู้สังเกตการณ์อีกหลายประเทศ การฝึกซ้อมร่วมเช่นนี้มอบโอกาสอันมีค่าสำหรับกองทัพสหรัฐฯ ในการพัฒนาความสัมพันธ์ที่สำคัญ อีกทั้งเพิ่มพูนการประสานงานและความร่วมมือระหว่างกัน ซึ่งรวมถึงการตอบสนองต่อวิกฤตด้านมนุษยธรรม

ประเทศไทยมีส่วนร่วมอย่างสำคัญในประเด็นและเป้าหมายด้านมนุษยธรรมมามาเป็นเวลาหลายปี โดยได้ให้ที่พักพิงแก่ผู้ลี้ภัยหลายแสนคนช่วงหลังสงครามเวียดนาม และทุกวันนี้ยังคงเป็นที่พักพิงของผู้ลี้ภัย 140,000 คน ซึ่งรวมถึงชนกลุ่มน้อยที่มีความอ่อนไหวทางการเมืองและต้องเผชิญกับปัญหาหรือถูกเบียดเบียนในส่วนอื่นของภูมิภาค ประเทศไทยดำรงบทบาทที่สร้างสรรค์ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมาอย่างยาวนาน ทั้งในฐานะสมาชิกอาเซียนและเอเปค ตลอดช่วงหลายปีที่ผ่านมา สหรัฐฯ ทำงานร่วมกับชาวไทยอย่างใกล้ชิดในการตอบสนองต่อภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นในภูมิภาค อาทิเช่น เหตุการณ์ที่พม่าซึ่งประเทศเพื่อนบ้านของไทยประสบภัยจากพายุไซโคลนครั้งร้ายแรงเมื่อพ.ศ. 2551 นอกจากนี้ สหรัฐฯ และไทยยังร่วมงานกันอย่างใกล้ชิดในด้านสุขภาพซึ่งเป็นหนึ่งในรากฐานสำคัญของความร่วมมือระดับทวิภาคีที่ประสบความสำเร็จของทั้งสองประเทศ ผ่านการดำเนินงานของหน่วยงานที่สำคัญ อาทิ ศูนย์ควบคุมโรคสหรัฐฯ และสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์ทหาร ไทย-สหรัฐฯ ในความร่วมมือนี้ ประเทศไทยได้ช่วยพัฒนาวัคซีนสำหรับเชื้อเอชไอวี/เอดส์เพียงหนึ่งเดียวที่ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าให้ผลจริงจากการวิจัยในมนุษย์

ทางด้านการค้า สหรัฐฯ คือคู่ค้าที่ใหญ่เป็นอันดับสามของไทยด้วยมูลค่าการค้าระหว่างกันมากกว่า 3หมื่น 7 พันล้านเหรียญสหรัฐ ทั้งยังเป็นประเทศที่เข้าลงทุนในไทยมากเป็นอันดับสามด้วยมูลค่าการลงทุนโดยตรงสะสมมากกว่า 1หมื่น 3 พันล้านเหรียญสหรัฐ ประเทศไทยมีเศรษฐกิจที่ใหญ่เป็นอันดับสองของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รองจากอินโดนีเซีย และหอการค้าอเมริกันในประเทศไทยได้เป็นตัวแทนของกว่า 800 บริษัทที่ดำเนินธุรกิจอยู่ในเกือบทุกภาคส่วนของเศรษฐกิจไทย

สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการดำเนินงานของรัฐบาลสหรัฐฯ ในภูมิภาคนี้ ทั้งยังคงเป็นหนึ่งในสถานทูตสหรัฐฯ ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในเอเชียด้วยพนักงานชาวไทยและชาวอเมริกันกว่า 3,000 คนจากหน่วยงานต่างๆ มากกว่า 60 หน่วย สหรัฐฯ และไทยดำเนินความสัมพันธ์ระดับประชาชนอย่างใกล้ชิด โดยมีอาสาสมัครหน่วยสันติภาพสหรัฐอเมริกาในประเทศไทยมากกว่า 5,000 คน เข้ามาปฏิบัติงานที่ได้รับผลสำเร็จลุล่วงในประเทศไทยตลอด 52 ปีที่ผ่านมา

ด้วยเหตุผลทั้งหมดข้างต้น สหรัฐฯ ให้ความสำคัญอย่างยิ่งต่อความสัมพันธ์กับประเทศไทยและต่อประชาชนชาวไทย ตลอดหลายปีมานี้ สหรัฐฯ ยินดีที่ได้เห็นประเทศไทยสร้างความเจริญรุ่งเรืองและพัฒนาประชาธิปไตย จนนับว่าเป็นความสำเร็จของภูมิภาคในหลากหลายด้าน ทั้งยังเป็นคู่ความร่วมมือใกล้ชิดของสหรัฐฯ ในประเด็นความสนใจร่วมกันต่างๆ เช่น การต่อต้านการก่อการร้าย การลักลอบค้าสัตว์ป่า อาชญากรรมข้ามชาติ ความมั่นคงทางพลังงาน และการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

สถานการณ์ทางการเมืองและรัฐประหารในประเทศไทย

อย่างไรก็ตาม ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ประเทศไทยต้องผจญกับการถกเถียงโต้แย้งว่าด้วยการเมืองภายในประเทศ ซึ่งไม่เพียงทวีความแตกแยกในชั้นการเมืองเท่านั้น แต่ยังส่งผลถึงสังคมโดยรวมอีกด้วย หากจะให้บรรยายการโต้เถียงที่ซับซ้อนนี้คงต้องใช้เวลามากเกินกว่าที่เรามีในวันนี้ แต่โดยพื้นฐานแล้ว นี่เป็นเรื่องระหว่างฝ่ายสนับสนุนกับฝ่ายต่อต้านอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร ผู้ซึ่งมีแนวทางทางการเมืองและการปกครองที่สร้างอิทธิพลอย่างมาก ทว่าก็ทำให้เขากลายเป็นบุคคลที่ก่อให้เกิดการแบ่งแยกเป็นฝักฝ่าย การถกเถียงโต้แย้งนี้ยังสะท้อนปัญหาความขัดแย้งที่ร้าวลึกมากยิ่งขึ้นระหว่างฝ่ายต่างๆ ในสังคมบนพื้นฐานของทั้งสถานภาพทางสังคมเศรษฐกิจและภูมิศาสตร์ ในช่วงสิบปีที่ผ่านมา การเมืองไทยเต็มไปด้วยการถกเถียงโต้แย้ง การชุมนุมประท้วง หรือแม้กระทั่งความรุนแรงในบางครั้ง ระหว่างกลุ่มต่างๆ ที่ประชันกันแย่งชิงอิทธิพลทางการเมือง ความแตกแยกเช่นนี้นำไปสู่เหตุการณ์รัฐประหารเมื่อพ.ศ. 2549 และอีกครั้งหนึ่งเมื่อเดือนที่แล้ว

รัฐประหารครั้งล่าสุดเกิดขึ้นในช่วงสิ้นสุดการต่อสู้ดิ้นรนทางการเมืองอย่างร้อนแรงกว่าหกเดือนระหว่างกลุ่มที่เป็นปฏิปักษ์ต่อกัน จนนำมาซึ่งการชุมนุมนานหลายเดือนบนท้องถนนของกรุงเทพมหานครรวมถึงการเข้ายึดอาคารสถานที่ราชการ ความพยายามประนีประนอมไม่ประสบผลสำเร็จ และในวันที่ 22 พฤษภาคม กองทัพก็ได้ก่อรัฐประหาร บรรดาผู้นำกองทัพให้เหตุผลว่า รัฐประหารครั้งนี้เป็นสิ่งจำเป็นเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความรุนแรง ยุติภาวะอัมพาตทางการเมือง และสร้างเงื่อนไขปัจจัยสู่ประชาธิปไตยที่เข้มแข็งยิ่งขึ้น

ตลอดช่วงทศวรรษแห่งความปั่นป่วนนี้ โดยเฉพาะระหว่างช่วงหกเดือนอันวุ่นวายที่เพิ่งผ่านมา จุดยืนของสหรัฐฯ คือหลีกเลี่ยงการเลือกข้างในการชิงชัยทางการเมืองภายในของประเทศไทย ขณะที่ยังคงเน้นย้ำสนับสนุนหลักการประชาธิปไตยและยึดมั่นในความสัมพันธ์กับประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง สหรัฐฯ แสดงความไม่เห็นด้วยต่อรัฐประหารหรือการกระทำนอกรัฐธรรมนูญอื่นๆ ในหลายโอกาสทั้งที่เปิดเผยและไม่ได้เปิดเผยสู่สาธารณะ สหรัฐฯ ได้เน้นย้ำว่า วิถีทางประชาธิปไตยหนึ่งเดียวที่จะแก้ไขปัญหาได้คือการให้ประชาชนเลือกผู้นำและนโยบายที่พวกเขาพึงพอใจผ่านการเลือกตั้ง สหรัฐฯ สื่อสารดังกล่าวโดยตรงไปยังเจ้าหน้าที่ระดับสูงของทางการไทยมาโดยตลอดผ่านเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ประจำประเทศไทย รวมถึงระหว่างการเยือนไทยโดยเจ้าหน้าอาวุโสของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ตลอดจนผ่านช่องทางการทหารทั้งระดับสูงและระดับปฏิบัติงาน

อย่างไรก็ดี เมื่อเกิดรัฐประหาร เราได้แสดงการตอบโต้ทันทีตามหลักการของเราด้วยการแสดงความไม่เห็นด้วยต่อการใช้กำลังทหารเข้าแทรกแซง เริ่มด้วยคำแถลงของรัฐมนตรีแคร์รีเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม ซึ่งเราได้กล่าวตำหนิการทำรัฐประหารมาอย่างต่อเนื่อง พร้อมกับได้เรียกร้องให้มีการจัดตั้งรัฐบาลพลเรือน ให้ประเทศไทยกลับสู่ระบอบประชาธิปไตยตลอดจนการเคารพสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐาน ซึ่งรวมถึงเสรีภาพในการแสดงออกและการชุมนุมอย่างสงบ เราได้แจ้งกับเจ้าหน้าที่ของไทยว่า เราเข้าใจดีถึงความอึดอัดใจกับปัญหาการเมืองที่มีมายาวนาน แต่ได้เน้นว่า การทำรัฐประหารนั้นนอกจากจะไม่ใช่การแก้ไขปัญหาแล้ว ยังเป็นการก้าวถอยหลังด้วยซ้ำไป

ในช่วงแรก เรายังมีความหวังว่า การรัฐประหารครั้งนี้จะคล้ายกับรัฐประหารในปี พ.ศ. 2549 กล่าวคือ ฝ่ายทหารจะโอนถ่ายอำนาจสู่รัฐบาลพลเรือนอย่างรวดเร็วและเดินหน้าจัดการเลือกตั้งที่เสรีและเที่ยงธรรม อย่างไรก็ดี เหตุการณ์ในช่วงที่ผ่านมานี้ได้บ่งชี้ว่า คณะรัฐประหารครั้งนี้นอกจากจะดำเนินการปราบปรามมากกว่าครั้งก่อนแล้ว ยังมีแนวโน้มว่าจะอยู่ในอำนาจนานกว่า คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องในการสั่งให้เข้ารายงานตัว กักกันและคุกคามนักการเมือง นักวิชาการ ผู้สื่อข่าว ผู้แสดงความคิดเห็นทางอินเทอร์เน็ต และผู้ประท้วงอย่างสงบหลายร้อยคน คสช. ยังคงตรวจสอบสื่อในประเทศและอินเทอร์เน็ต และในช่วงหลายสัปดาห์ที่ผ่านมา คสช. ได้สั่งปิดกั้นสื่อต่างประเทศเช่นกัน การกระทำของฝ่ายทหารได้สร้างความวิตกแก่ชนกลุ่มน้อยและแรงงานต่างด้าวในประเทศไทย อาทิเช่น รายงานเมื่อเร็วๆ นี้ระบุว่า มีชาวกัมพูชาเกือบ 200,000 คนได้เดินทางออกนอกประเทศไทยด้วยความหวาดกลัวว่า คสช. จะดำเนินการปราบปรามแรงงานที่ไม่มีเอกสาร

รัฐบาลทหารได้กล่าวว่า จะจัดตั้งคณะรัฐบาลชั่วคราวภายในเดือนกันยายน และได้กำหนดเวลาอย่างไม่ชัดเจนนักว่า จะจัดให้มีการเลือกตั้งภายในเวลาประมาณ 15 เดือน วัตถุประสงค์ในช่วงการบริหารประเทศภายใต้กฎอัยการศึกตามที่คสช. ได้ระบุไว้คือ ลดความขัดแย้งและการแบ่งฝ่ายในสังคมเพื่อแผ้วทางให้เกิดบรรยากาศทางการเมืองที่กลมเกลียวกันกว่านี้เมื่อรัฐบาลพลเรือนเข้ามาบริหารประเทศ ในระหว่างนี้ คณะรัฐบาลทหารได้เริ่มดำเนินการโยกย้ายข้าราชการที่พิจารณาเห็นว่าจงรักภักดีกับรัฐบาลชุดก่อน คณะกรรมการรัฐวิสาหกิจ 56 แห่งซึ่งรวมถึงประธานคณะกรรมการ (ซึ่งส่วนใหญ่ได้รับการแต่งตั้งโดยอดีตนายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร) ถูกกระตุ้นให้ลาออกเพื่อเปิดทางให้บุคคลที่ฝ่ายทหารเลือกเข้ามาดำรงตำแหน่งแทน ขณะนี้ กำลังมีการเสนอให้ดำเนินการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและครอบคลุมในภาคพลังงานและแรงงาน ตลอดจนการพิจารณาข้อจำกัดด้านการลงทุนจากต่างประเทศในบางภาคอุตสาหกรรมเช่น โทรคมนาคม

อย่างไรก็ดี เรามองไม่เห็นว่าการรัฐประหารและการดำเนินการปราบปรามที่ตามมาจะก่อให้เกิดการปรองดองและสมานฉันท์ทางการเมืองที่จำเป็นยิ่งสำหรับประเทศไทย เราไม่เชื่อว่า การสมานฉันท์ที่แท้จริงจะเกิดขึ้นได้จากความหวาดกลัวหรือการกดขี่ ประเด็นเบื้องหลังต่างๆ ตลอดจนความเห็นแตกต่างทางการเมืองที่ฝังรากลึกมานานอันเป็นสาเหตุแห่งความแตกแยกนี้จะสามารถแก้ไขได้โดยประชาชนและผ่านกระบวนการประชาธิปไตยเท่านั้น เรามีความรู้สึกเหมือนคนไทยส่วนใหญ่ คือ ต้องการเห็นไทยก้าวไปสู่อุดมการณ์ประชาธิปไตยของประเทศ เสริมสร้างสถาบันประชาธิปไตยให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น และกลับสู่การปกครองแบบประชาธิปไตยผ่านการเลือกตั้งได้อย่างสันติ

ปกป้องผลประโยชน์ของเราและพิทักษ์ประชาธิปไตย

ผลประโยชน์ของเรารวมถึงการรักษาความสงบและประชาธิปไตยในประเทศไทย ตลอดจนคงความร่วมมือที่สำคัญระหว่างสหรัฐฯ กับไทยในระยะยาว เรายังคงมุ่งมั่นที่จะเห็นประชาชนไทยอยู่ดีมีสุขและประเทศไทยกลับไปสู่ตำแหน่งผู้นำในภูมิภาค และเราเชื่อว่า หนทางที่ดีที่สุดในการบรรลุซึ่งเป้าหมายดังกล่าวคือการกลับไปสู่การปกครองที่มีรัฐบาลมาจากการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย

การรัฐประหารและการดำเนินการปราบปรามที่ตามมาทำให้เราไม่สามารถคงพันธไมตรีระหว่างไทยกับสหรัฐฯ ให้เป็นไป “ตามปกติ” ได้ เราได้ระงับการช่วยเหลือด้านความมั่นคงมูลค่ากว่า 4 ล้าน 7 แสนเหรียญสหรัฐตามที่กฎหมายเราระบุไว้ นอกจากนี้ เรายังได้ยกเลิกการเยือนประเทศของเจ้าหน้าที่ระดับสูง การฝึกซ้อมทางทหาร และการฝึกอบรมกับทหารและตำรวจหลายโครงการ อาทิเช่น เราได้ประสานกับกระทรวงกลาโหมยกเลิกการฝึกซ้อม CARAT (Cooperation Afloat Readiness and Training) ซึ่งเป็นการฝึกซ้อมระดับทวิภาคีของกองทัพเรือซึ่งกำลังดำเนินการฝึกอยู่เมื่อเกิดรัฐประหาร และได้ยกเลิกการฝึกซ้อมหนุมานการ์เดียน (Hanuman Guardian) ของกองทัพบกซึ่งเป็นการฝึกซ้อมระดับทวิภาคีที่ได้วางแผนไว้แล้ว ขณะนี้ เรายังคงทบทวนพิจารณาโครงการและความร่วมมืออื่นๆ และจะพิจารณาหามาตรการอื่นนอกเหนือจากนี้ตามสถานการณ์ ประเทศอื่นๆ อีกหลายประเทศได้แสดงทัศนะในลักษณะคล้ายคลึงกันนี้ เราหวังว่า สารจากประชาคมโลกที่เด่นชัดนี้รวมทั้งแรงกดดันจากภายในประเทศไทยเองจะทำให้คณะรัฐประการลดการปราบปรามลงและประเทศไทยจะกลับสู่ระบอบประชาธิปไตยโดยเร็ว

ในขณะเดียวกัน เราก็ตระหนักดีถึงผลประโยชน์ตามหลักยุทธศาสตร์ระยะยาวของสหรัฐฯ เรายังคงรักษามิตรภาพที่ยืนยงของเรากับคนไทยและกับประเทศไทยซึ่งรวมถึงฝ่ายทหารด้วย สิ่งท้าทายที่สหรัฐอเมริกากำลังเผชิญคือ การแสดงอย่างชัดเจนว่า เราสนับสนุนให้ประเทศไทยกลับสู่ระบอบประชาธิปไตยและเสรีภาพขั้นพื้นฐานโดยเร็ว และในขณะเดียวกัน เราต้องดำเนินการเพื่อประกันว่า เราจะสามารถรักษาและเสริมความแข็งแกร่งให้แก่มิตรภาพที่สำคัญและพันธมิตรด้านความมั่นคงของสหรัฐฯ นี้ได้ในระยะยาว

ในการก้าวไปข้างหน้า สิ่งสำคัญคือการถ่ายโอนอำนาจไปสู่การปกครองโดยพลเรือนอย่างครอบคลุม โปร่งใส ทันกาลและนำไปสู่ประชาธิปไตยผ่านการเลือกตั้งที่เสรีและเที่ยงธรรมอันจะสะท้อนถึงเจตนารมณ์ของประชาชนชาวไทย เมื่อประเทศไทยกลับไปสู่ระบอบประชาธิปไตยแล้ว เราหวังและตั้งใจอย่างยิ่งว่า ประเทศไทยซึ่งเป็นมิตรเก่าแก่ของสหรัฐฯ จะยังคงเป็นประเทศคู่ความร่วมมือที่สำคัญในเอเชียอีกนานต่อไปหลายทศวรรษ

สรุป

สุดท้ายนี้ ผมขอกล่าวสรุปประเด็นสุดท้ายว่า เพื่อให้การดำเนินการดังกล่าวประสบผลสัมฤทธิ์นั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่รัฐสภาจากทั้งสองพรรคจะให้การสนับสนุนอย่างเข้มแข็งและยืนนานแก่ความพยายามของเราในการผลักดันให้ประเทศไทยกลับไปสู่ระบอบประชาธิปไตยรวมถึงความพยายามของเราในการรักษามิตรภาพและผลประโยชน์ระยะยาวของเรา

ขอบคุณครับที่เชิญผมให้มาแถลงประเด็นสำคัญนี้

ที่มา : http://thai.bangkok.usembassy.gov/mobile/062414_scot_marciel_testimony.html#.U6rKz6FqKCk.twitter

ภาพ : http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1352705580 >> ทีมรักษาความปลอดภัยของสถานทูตอเมริกาประจำประเทศไทยได้เข้ามาตรวจสอบความพร้อมและความปลอดภัย ที่ ตึกไทยคู่ฟ้าและตึกสันติไมตรี ในโอกาสที่นายบารัค โอบามา ประธานาธิบดีสหรัฐฯ เดินทางเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการในวันที่ 18-19 พ.ย.
goosehhardcore
goosehhardcore
Hero gen.seh member
Hero gen.seh member

จำนวนข้อความ : 6012
Join date : 12/06/2010
ที่อยู่ : Bangkok Thailand

ขึ้นไปข้างบน Go down

คำให้การของรองผู้ช่วย รมต.กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ เกี่ยวกับรัฐประหารในไทย Empty Re: คำให้การของรองผู้ช่วย รมต.กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ เกี่ยวกับรัฐประหารในไทย

ตั้งหัวข้อ  goosehhardcore Thu Jun 26, 2014 11:35 pm

คำให้การของรองผู้ช่วย รมต.กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ เกี่ยวกับรัฐประหารในไทย 107jr7q


ได้อ่านที่บางคนพูดว่า EU จะแบนไทยก็ปล่อยมันไปไม่กระทบอะไรเรา เราซื้อใช้กันเองในประเทศได้ และก็ค้าขายกับจีนแทน แล้วตลกจังจริงๆความคิดชาตินิยมโดยไม่ได้อยู่บนฐานความเป็นจริงนี้ก็เคยอ่านมาตั้งแต่เด็กแล้ว และก็ไม่ได้คิดจะไปเถียงอะไร เสียเวลา

แต่วันนี้ไปเจอสเตตัส คุณสมเกียรติ โอสถสภา ยกข้อมูลเป็นคุ้งเป็นแควมาสนับสนุนว่าไทยอยู่ได้สบายแต่เลือกเสนอข้อมูลไม่ครบทุกด้าน อ่านละหงุดหงิด เลยขอเขียนเกี่ยวกับประเด็นนี้ซักหน่อยใครเป็นโรคหัวใจอย่าอ่านนะ เพราะข้อมูลผลกระทบจากการโดน EU แบนมันสะเทือนขวัญมาก ไม่งั้นทหารคงไม่วิ่งลนลานทีท่าอ่อนลงขนาดนี้

1 เศรษฐกิจไทยเกิน 2 ใน 3 มาจากการส่งออกไปต่างประเทศ พูดอีกแง่คือ หากเราปิดประเทศเลิกยุ่งกับต่างประเทศเลย ความมั่งคั่ง ความเป็นอยู่ เงินที่เราจะซื้อสินค้าต่างๆ จะหายไปเกินครึ่ง ลองจินตนาการดูว่าจะพอเพียงดีงามขนาดไหน

2 พี่มังกรจีนที่เราอยากจะไปเกาะหางเค้าเพื่อให้เค้าช่วยพยุงเรื่องส่งออก ไทยก็มีมูลค่าส่งออกไปจีนเยอะเป็นอันดับหนึ่งจริง ตัวเลขประมาณ 8.5 แสนล้าน ประมาณ 12% ของยอดส่งออกรวมแต่ แต่ แต่ ยอดการนำเข้าจากจีนมูลค่าประมาณ 1.2 ล้านล้านนะครัช สรุปไทยขาดดุลการค้ากับจีนประมาณ 3.5 แสนล้านบาท

พูดง่ายๆคือจีนไม่เคยคิดจะช่วยซื้อของจากไทย จีนเป็นพ่อค้า เค้าขายของให้เราเป็นหลักและที่แย่กว่านั้นมูลค่าที่ไทยส่งออกไปจีนจำนวนมากเป็นสินค้าระหว่างทำ เช่นพวกชิ้นส่วนอิเล็กโทรนิกส์ และชิ้นส่วนพลาสติก ซึ่งจีนซื้อไปเพื่อไปประกอบเป็นสินค้าแล้วส่งออกอีกที (ซึ่งแน่นอนสินค้าที่สำเร็จแล้วจำนวนมากไหลกลับมาขายไทย)

พูดได้ว่าจีนมองเราเหมือนเป็นหน่วยการผลิตนึงของเค้าเป็นโรงงานนอกแผ่นดินใหญ่ของเค้า เค้าไม่ได้คิดว่าเค้าเป็นลูกค้าที่จะซื้อสินค้าจากเราไปใช้ ทางกลับกันไทยต่างหากที่เป็นลูกค้าของจีนที่หลายๆอย่างต้องซื้อจากจีนโดยหลีกเลี่ยงไม่ได้

3 มาดูเรื่อง EU กันบ้าง EU ที่คุณสมเกียรติบอกว่าถ้าเค้าไม่ได้ค้าขายกับไทยมันต้องตายแน่ๆ ส่วนไทยแค่อยู่เฉยๆให้เค้าเข้ามาง้อเราเอง EU กำลังจะล่มจม ส่วนไทยกำลังจะรุ่งเรือง (เพลียมาก ขอยาสลายมโน แปป)

ไทยส่งออกไป EU ประมาณ 7.3 แสนล้านบาท ประมาณ 10% ของส่งออกทั้งหมด (ซึ่งอันนี้ก็เป็นจุดที่หลายคนอ้างว่าแค่ 10% หายไปเราก็ไม่กลัว อยากจะด่าว่าสติดีรึเปล่า 7แสนล้านบาทต่อปีเนี่ยนะน้อย)แล้วอย่ามองแค่ตัวเลข ต้องดูด้วยว่าเราส่งอะไรไป พวกสินค้าจาก SME, OTOP งาน crafts ต่างๆส่งออกไปยุโรปเยอะมาก

ถ้า EU embargo ไทย ผลกระทบจะไม่ใช่แค่กับธุรกิจใหญ่แต่มันแผ่พังถึงรากของเศรษฐกิจ มาดูยอดที่ EU ส่งออกมาไทยบ้าง มูลค่าประมาณ 7.1แสนล้านบาท ก็ใกล้เคียงกับที่ EU ซื้อจากไทยแต่ แต่ แต่ มูลค่าที่ EU ส่งออกมาไทยมันไม่ถึง 1% ของมูลค่าส่งออกของ EU ทั้งหมด (อ่าวไหนว่าไทยจำเป็นคอขาดบาดตายกับ EU ทำไมซื้อของจากเค้ายังไม่ถึง 1% เลยล่ะ) มันน่าตกใจไหมล่ะ เราส่งออกไปหาเค้าเป็น 10% ของมูลค่าส่งออกเราทั้งหมด แต่เค้าส่งออกหาเราไม่ถึง 1% ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมดของเค้า

ก็จริงที่ว่าถ้าเลิกค้าขายกันก็เสียประโยชน์ก็เจ็บทั้งคู่ แต่ EU ก็คงเจ็บเหมือนโดนมดกัด ส่วนไทยก็คงเจ็บเหมือนโดนช้างกระทืบ

4 พูดถึงเมกาด้วยเลยละกัน เห็นช่วงนี้เอาเรื่องเมืองไทย ทั้งประยุทธ์ ทั้ง… ไปล้อในรายการตลกบ่อยๆ เมกาเป็นลูกค้าที่สำคัญมากของไทย ซื้อของจากไทย 7.3 แสนล้านบาท และขายของให้ไทย 4.7 แสนล้านบาท จะเห็นได้ว่าถึงเมกาจะซื้อของจากเราเป็นมูลค่าน้อยกว่าจีน แต่เมกาซื้อมากกว่าขายอยู่ 2.6 แสนล้านบาท

ต่างจากจีนที่ขายมากกว่าซื้อถ้าเมกาเลิกซื้อของจากไทยนี่บอกเลยว่าสาหัสเหมือนโดนช้างกระทืบอีกรอบ และมันก็ไม่ได้เดือนร้อนเมกาเค้าเท่าไร เพราะมูลค่าที่เค้าส่งออกมาหาเรามันก็ไม่ถึง 1% ของมูลค่าส่งออกรวมของเมกา

ส่วนคำถามว่าทำไม EU กับ เมกาถึงสนใจความไม่เป็นประชาธิปไตยในไทยนัก มันสำคัญอะไรนัก ไว้เขียนหนหน้านะมันอีกยาวววววP.S. อยากแชร์ก็เอานะเลยไม่ต้องเกรงใจ อันนี้เราพูดข้อเท็จจริง ไม่ได้วิจารณ์ คสช แค่อยากให้ทุกคนได้รู้ข้อเท็จจริง

cr.pages: อรรถชัย อนันตเมฆ via Ilya Banpodj
goosehhardcore
goosehhardcore
Hero gen.seh member
Hero gen.seh member

จำนวนข้อความ : 6012
Join date : 12/06/2010
ที่อยู่ : Bangkok Thailand

ขึ้นไปข้างบน Go down

ขึ้นไปข้างบน


 
Permissions in this forum:
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ