GENERAL HERO2010 Member
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.

Vote Now vs Vote No : ปริญญาชี้โน โหวตไม่มีผลทางกม.

Go down

Vote Now vs Vote No : ปริญญาชี้โน โหวตไม่มีผลทางกม. Empty Vote Now vs Vote No : ปริญญาชี้โน โหวตไม่มีผลทางกม.

ตั้งหัวข้อ  goosehhardcore Tue May 10, 2011 7:27 pm

Vote Now vs Vote No : ปริญญาชี้โน โหวตไม่มีผลทางกม. Votenor


เอกสารที่บอกเหตุผลว่าทำไมถึงต้อง Vote No
>>http://www.4shared.com/document/6LmOBWd-/VOTE-NO-1-8_New.html


ขอบคุณKh.Surapol on F
goosehhardcore
goosehhardcore
Hero gen.seh member
Hero gen.seh member

จำนวนข้อความ : 6012
Join date : 12/06/2010
ที่อยู่ : Bangkok Thailand

ขึ้นไปข้างบน Go down

Vote Now vs Vote No : ปริญญาชี้โน โหวตไม่มีผลทางกม. Empty Re: Vote Now vs Vote No : ปริญญาชี้โน โหวตไม่มีผลทางกม.

ตั้งหัวข้อ  goosehhardcore Wed May 11, 2011 9:16 pm

Vote Now vs Vote No : ปริญญาชี้โน โหวตไม่มีผลทางกม. 18813307


ปริญญาชี้โน โหวตไม่มีผลทางกม.
11 พฤษภาคม 2554 เวลา 20:16 น.

อ.ปริญญาไขความต่าง"โน โหวต"กับ"โหวต โน"รธน.ฉบับ50การใช้สิทธิเลือกตั้งถือเป็นหน้าที่จึงต้องมีช่องให้กาไม่ประสงค์ลงคะแนน

นายปริญญา เทวานฤมิตรกุล อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ และรองอธิการบดีฝ่ายการนักศึกษา ม.ธรรมศาสตร์ เปิดเผยว่า กระแสการ"โหวต โน" และ"โน โหวต"การเลือกตั้ง ซึ่งในความหมายของคำว่า"โน โหวต" หมายถึงการไม่ประสงค์ลงคะแนน หรือไม่ประสงค์ออกเสียง สามารถกากากบาทเลือกช่องไม่ประสงค์ออกเสียงได้ แต่ไม่มีผลในทางกฏหมาย

ขณะที่ "โหวต โน" หมายถึงการใช้สำหรับการทำประชามติ คือจะมีให้เลือกระหว่าง "ใช่ กับ ไม่ใช่" หรือ"เยสกับโน" ดังนั้นการที่ไม่ประสงค์จะลงคะแนน หรืองดออกเสียงในการเลือกตั้ง จึงหมายถึง"โน โหวต" ไม่ใช่"โหวต โน"

อย่างไรก็ตาม ในการเลือกตั้งเมื่อ2 เมษายน 2549 "โน โหวต" มีผลทางกฎหมาย เพราะซึ่งมีผู้สมัครเพียงพรรคเดียว คือพรรคไทยรักไทย โดยกฎหมายเลือกตั้งบัญญัติไว้ว่า ถ้ามีผู้สมัครเพียงคนเดียว ต้องได้คะแนนรับรองถึง 20 เปอร์เซ็นต์ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งนั้น ดังนั้น เมื่อมีคนกากากบาทเลือกไม่ประสงค์ออกเสียงมากๆ และมีคะแนนไม่ถึง 20 เปอร์เซ็นต์ ก็เป็นสส.ไม่ได้

"เมื่อเป็น ส.ส. ไม่ได้สภาก็ไม่ครบ เมื่อไม่ครบก็เปิดสภาไม่ได้ จึงทำให้เกิดวิกฤติทางการเมืองในขณะนั้น" ดร.ปริญญา กล่าว

ทั้งนี้การเลือกตั้งปัจจุบัน ยึดรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ.2550 เมื่อมีการยุบสภา และถ้ามีผู้สมัครหลายคน"โน โหวต" มากเท่าไรก็ไม่มีผลทางกฎหมาย ส่วนสาเหตุที่มีช่องให้กากากบาทในช่องไม่ประสงค์การลงคะแนน เพราะเป็นการบังคับให้การเลือกตั้งเป็นหน้าที่
http://bit.ly/kIqfQH
goosehhardcore
goosehhardcore
Hero gen.seh member
Hero gen.seh member

จำนวนข้อความ : 6012
Join date : 12/06/2010
ที่อยู่ : Bangkok Thailand

ขึ้นไปข้างบน Go down

Vote Now vs Vote No : ปริญญาชี้โน โหวตไม่มีผลทางกม. Empty Re: Vote Now vs Vote No : ปริญญาชี้โน โหวตไม่มีผลทางกม.

ตั้งหัวข้อ  goosehhardcore Wed May 11, 2011 9:31 pm

Vote Now vs Vote No : ปริญญาชี้โน โหวตไม่มีผลทางกม. 58772841


"ดร.ปริญญา" ฟันธง การเลือกตั้งที่มีผู้สมัครหลายพรรค no vote จะไม่มีผลทางกฎหมายแต่อย่างใด
วันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 เวลา 19:10:00 น.


ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล อาจารย์ประจำภาควิชากฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ และรองอธิการบดีฝ่ายการนักศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวถึงกระแส vote no และ no vote ในขณะนี้โดยได้ให้ความหมายของ no vote ว่า หมายถึงการไม่ประสงค์จะลงคะแนนหรือไม่ประสงค์ออกเสียง คือ หากไม่ต้องการเลือกใครก็สามารถกากากบาทเลือกช่องไม่ประสงค์ออกเสียง ซึ่งในทางกฎหมายแล้วไม่มีผลอะไรทั้งสิ้น

ขณะที่ Vote no หมายถึง การใช้การทำประชามติ เช่น การทำประชามติว่าจะให้มีการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์หรือไม่ ประเทศใดจะเข้าร่วมในเงินสกุลยูโรหรือไม่ เป็นต้น คือจะมีให้เลือกระหว่าง ใช่ กับ ไม่ใช่ หรือ yes กับ No ดังนั้นการที่ไม่ประสงค์จะลงคะแนน หรืองดออกเสียง จึงหมายถึง no vote ไม่ใช่ vote no

ตารางเปรียบเทียบความแตกต่างของการกากบาทไม่ประสงค์ออกเสียง(no vote)ในปี49 และปี54

ปี 2549
1. กฏหมายรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2540 คือ หลักเกณฑ์ 90 วัน ไม่มีข้อยกเว้นการยุบสภาเหมือนฉบับปัจจุบัน
2. ในปี 2549 มีผู้สมัครเพียงพรรคเดียว
- ทางกฎหมาย : มีผลทางกฎหมายคือ ผู้สมัครต้องได้คะแนนรับรองถึง 20 เปอร์เซ็นต์ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งนั้น เช่น ถ้าไม่มีคู่แข่ง no vote จะมีผลคือคนไม่รับรอง เมื่อไม่รับรองก็มีผลคะแนนเสียงไม่ถึง20 เปอร์เซ็นต์
3. เกิดวิกฤติทางการเมือง

ปี 2554
1. ปัจจุบันรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ.2550 ยุบสภา หลักเกณฑ์ 30 วัน
2. มีผู้สมัครหลายพรรค
- ทางกฎหมาย : ไม่มีผลทางกฎหมาย เว้นแต่มีผู้สมัครเพียงคนเดียวจะมีผล แต่ครั้งนี้มีผู้สมัครหลายคนจึงไม่มีผลทางกฎหมายแต่อย่างใด ดังนั้นคะแนนเสียง no vote สูงแค่ไหนไม่มีผลทางกฏหมาย
- ทางการเมือง : อาจจะมีผล ถ้ามีคนงดออกเสียงมาก จะถูกสังคมมองว่าไม่ชอบธรรม แต่ถ้าทางกฎหมายแล้ว
กกต. จะประกาศให้คนนั้นเป็น ส.ส. ได้ เพราะกฎหมายไม่ได้เขียนว่างดออกเสียง ซึ่งเป็นสิทธิของประชาชน ถ้ามากกว่าจุดไหนจะไม่ได้เป็นส.ส. เพราะถือว่างดออกเสียงคือจะไม่นับ


ดร.ปริญญา กล่าวว่า ในปี 2549 novote มีผลทางกฎหมาย เพราะเนื่องจากปี 2549 ได้มีการเลือกตั้งในวันที่ 2 เมษายน 2549 ซึ่งมีผู้สมัครเพียงพรรคเดียว คือพรรคไทยรักไทย ซึ่งทางกฎหมายเลือกตั้งได้บัญญัติไว้ว่า ถ้ามีผู้สมัครเพียงคนเดียว ผู้สมัครคนนั้นต้องได้คะแนนรับรองถึง 20 เปอร์เซ็นต์ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งนั้น เมื่อมีคนกากากบาทเลือกไม่ประสงค์ออกเสียงมากๆ คะแนนก็ไม่ถึง 20 เปอร์เซ็นต์ เมื่อคะแนนไม่ถึง 20 เปอร์เซ็นต์ ก็เป็น ส.ส. ไม่ได้ เมื่อเป็น ส.ส. ไม่ได้สภาก็ไม่ครบ เมื่อไม่ครบก็เปิดสภาไม่ได้ จึงทำให้เกิดวิกฤติทางการเมืองในขณะนั้น ซึ่งถ้ามีผู้สมัครพรรคเดียว ไม่มีการสมัครแข่งขันก็มีหลักเกณฑ์ตามรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2540 คือ หลักเกณฑ์ 90 วัน ไม่มีข้อยกเว้นการยุบสภาเหมือนฉบับปัจจุบัน ซึ่งในปี 2554 ปัจจุบัน ยึดรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ.2550 ยุบสภา และถ้ามีผู้สมัครหลายคน no vote มากเท่าไรก็ไม่มีผลทางกฎหมาย


สำหรับประเทศไทยการที่มีช่อง no vote คือไม่ประสงค์ที่จะลงคะแนนนั้น ซึ่งสาเหตุที่มีช่องไม่ประสงค์ที่จะลงคะแนนขึ้นมา เพราะเป็นการบังคับให้การเลือกตั้งเป็นหน้าที่ เมื่อบังคับให้การเลือกตั้งเป็นหน้าที่ก็ต้องมีช่องให้ประชาชนเลือกไม่ประสงค์ที่จะลงคะแนนด้วย


อย่างไรก็ตาม ส่วนกรณีของการฉีกบัตรเลือกตั้งจะขึ้นอยู่กับศาลฎีกาและอยู่ที่การตีความของกฎหมาย ถ้าตราบใดที่ยังไม่มีการตีความทางกฎหมาย ยังไม่มีการกากบาทลงไปในบัตรก็ถือว่าไม่ผิด ไม่ถือว่าเป็นบัตรเลือกตั้ง และไม่จำเป็นว่าศาลฎีกาจะดำเนินแบบนี้ตลอดไป อาจจะพลิกได้ในอนาคต
(สำนักข่าวแห่งชาติ)


ที่มา: http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1305115973&grpid=03&catid=01
goosehhardcore
goosehhardcore
Hero gen.seh member
Hero gen.seh member

จำนวนข้อความ : 6012
Join date : 12/06/2010
ที่อยู่ : Bangkok Thailand

ขึ้นไปข้างบน Go down

ขึ้นไปข้างบน

- Similar topics

 
Permissions in this forum:
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ