GENERAL HERO2010 Member
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.

"สมิทธ"คาดปลายปีสารกัมมันตรังสีจากญี่ปุ่นเยือนไทยเหตุลมเปลี่ยนทิศ>เรื่องน่ารู้:ทำความเข้าใจเรื่อง สารกัมมันตรังสี-กัมมันตภาพรังสี

Go down

"สมิทธ"คาดปลายปีสารกัมมันตรังสีจากญี่ปุ่นเยือนไทยเหตุลมเปลี่ยนทิศ>เรื่องน่ารู้:ทำความเข้าใจเรื่อง สารกัมมันตรังสี-กัมมันตภาพรังสี Empty "สมิทธ"คาดปลายปีสารกัมมันตรังสีจากญี่ปุ่นเยือนไทยเหตุลมเปลี่ยนทิศ>เรื่องน่ารู้:ทำความเข้าใจเรื่อง สารกัมมันตรังสี-กัมมันตภาพรังสี

ตั้งหัวข้อ  goosehhardcore Wed Mar 23, 2011 9:39 pm

"สมิทธ"คาดปลายปีสารกัมมันตรังสีจากญี่ปุ่นเยือนไทยเหตุลมเปลี่ยนทิศ>เรื่องน่ารู้:ทำความเข้าใจเรื่อง สารกัมมันตรังสี-กัมมันตภาพรังสี R7345275953586


เหตุการณ์ภัยพิบัติที่ประเทศญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 11 มีนาคมที่ผ่านมา นอกจากจะทำให้คนไทยมีความสนใจด้านแผ่นดินไหว ภูมิศาสตร์ การเกิดคลื่นยักษ์สึนามิแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่กำลังเป็นประเด็นสำคัญในขณะนี้คือเหตุการณ์วิกฤตโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุคุชิม่า ไดอิจิ ที่ตั้งอยู่ที่เมืองฟุคุชิม่า ที่เกิดเหตุการณ์อาคารเตาปฏิกรณ์ระเบิด ทำให้มีกัมมันตภาพรังสีบางส่วนกระจายออกมาสู่บรรยากาศ ซึ่งสร้างความกังวลไม่น้อยต่อคนญี่ปุ่น และนานาประเทศ

เพื่อให้การติดตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ประเทศญี่ปุ่นของเราคนไทยทันเหตุการณ์ ได้ความรู้ความเข้าใจ เรามาทำความรู้จักกับคำศัพท์ทั้ง 3 นี้กันอย่างคร่าวๆ กัน

พลังงานนิวเคลียร์ สารกัมมันตรังสี และกัมมันตภาพรังสีคืออะไร?

พลังงานนิวเคลียร์อะไร ถ้าจะกล่าวแบบสั้นๆ เข้าใจง่ายๆ ก็ต้องตอบว่า คือ พลังงานได้เกิดขึ้นจากปฏิกิริยานิวเคลียร์

ปฏิกิริยานิวเคลียร์นี้เป็นปฏิกิริยาที่เกิดในระดับนิวเคลียสของอะตอม โดยเกิดได้จากหลายลักษณะดังนี้

1. พลังงานนิวเคลียร์แบบฟิซชั่น (Fission) ซึ่งเกิดจากการแตกตัวของนิวเคลียสธาตุหนัก เช่น ยูเรเนียม พลูโทเนียม เมื่อถูกชนด้วยนิวตรอนหรือโฟตอน ธาตุหนักเหล่านี้นี่เองที่เราสามารถเรียกอีกชื่อหนึ่งได้ว่า สารกัมมันตรังสี หรือธาตุกัมมันตรังสี

2. พลังงานนิวเคลียร์แบบฟิวชั่น (Fusion) เกิดจากการรวมตัวของนิวเคลียสธาตุเบา เช่น ไฮโดรเจน

3. พลังงานนิวเคลียร์ที่เกิดจากการสลายตัวของสารกัมมันตรังสี (Radioactivity) ซึ่งให้รังสีต่างๆ ออกมา เช่น อัลฟา เบตา แกมมา และนิวตรอน เป็นต้น

4. พลังงานนิวเคลียร์ที่เกิดจากการเร่งอนุภาคที่มีประจุ (Particle Accelerator) เช่น อิเล็กตรอน โปรตอน ดิวทีรอน และอัลฟา เป็นต้น

สำหรับปฏิกิริยาในโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์จะเป็นปฏิกิริยาจาก พลังงานนิวเคลียร์แบบฟิซชั่น พลังงานที่ได้จะทำให้น้ำกลายเป็นไอน้ำที่มีแรงดันสูง แล้วไอน้ำแรงดันสูงจะไปหมุนกังหันไอน้ำที่ต่อกับเครื่องกำเนิดไฟฟ้า เพื่อผลิตไฟฟ้า และส่งต่อไปยังผู้บริโภค

แต่หลายคนยังสับสนระหว่างคำว่ากัมมันตรังสี และกัมมันตภาพรังสีอยู่ว่าทั้ง 2 คำนี้ควรใช้อย่างไร และแตกต่างกันอย่างไร ถ้าจะให้อธิบายให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือ

สารกัมมันตรังสี คือ สารที่สามารถปลดปล่อย กัมมันตภาพรังสี

ดังนั้นสารกัมมันตรังสี ก็คือ สารหรือธาตุพลังงานสูงกลุ่มหนึ่งที่สามารถแผ่รังสี ออกมาได้ เมื่อแผ่รังสีออกมามันจะก็จะกลายสภาพไปเป็นธาตุชนิดอื่นหรือธาตุชนิดเดิมที่ มีความเสถียรมากขึ้น รังสีที่แผ่ออกมาจากธาตุกลุ่มนี้ เราจึงเรียกว่า กัมมันตภาพรังสี นั่นเอง

ตัวอย่างสารกัมมันตรังสีที่เราคุ้นชื่อ เช่น ยูเรเนียม-238, ยูเรเนียม-235, เรเดียม-226, เรดอน-222, โคบอลต์-60, ไอโอดีน-131 และซีเซียม-137 เป็นต้น

สารเหล่านี้เนื่องจากมีพลังงานมากและไม่เสถียรจึงต้องมีการปลดปล่อย กัมมันตภาพรังสีออกมา เพื่อให้อะตอมของธาตุเสถียรขึ้น การแผ่รังสีจะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา โดยอัตราการแผ่รังสีของธาตุแต่ละชนิดนั้นเป็นสมบัติเฉพาะตัวและมีค่าคงที่ เราเรียกการอัตราการสลายตัวของสารเหล่านี้ว่า ครึ่งชีวิต หรือ Half life คือระยะเวลาที่สารกัมมันตรังสีใช้เวลาสลายตัวจนเหลือปรมาณครึ่งหนึ่งของสาร ตั้งต้น

กัมมันตภาพรังสีที่ถูกปลดปล่อยออกมาจากการสลายตัวมี 3 ชนิด คือ

1. รังสีแอลฟ่า (Alpha-a) มีอำนาจทะลุทะลวงต่ำเพียงแค่กระดาษ อากาศ น้ำที่หนาประมาณ 2- 3 cm หรือโลหะบาง ๆ ก็สามารถกั้นอนุภาคแอลฟาได้

2. รังสีบีต้า (Beta-b) มีอำนาจทะลุทะลวงสูงกว่ารังสีแอลฟาประมาณ 100 เท่า ทะลุผ่านกระดาษบาง ๆ เสื้อผ้า มือ น้ำที่หนา 2 cm. แผ่นอะลูมิเนียมหนา 1 cm. ได้ และมีความเร็วใกล้เคียงกับความเร็วแสง

และ 3. รังสีแกมมา (Gamma-g) เป็นรังสีที่มีพลังงานสูงมีความเร็วเท่ากับความเร็วแสง และมีอำนาจทะลุทะลวงสูง ผ่านแผ่นตะกั่วหนา 1.5 mm. หรือแผ่นคอนกรีตหนาๆ ได้ แต่ถ้าใช้ตะกั่ว และคอนกรีต ผสมเข้าด้วยกันสามารถกั้นรังสีแกมมาได้

(มีต่อ)


แก้ไขล่าสุดโดย goosehhardcore เมื่อ Thu Mar 24, 2011 4:20 pm, ทั้งหมด 4 ครั้ง
goosehhardcore
goosehhardcore
Hero gen.seh member
Hero gen.seh member

จำนวนข้อความ : 6012
Join date : 12/06/2010
ที่อยู่ : Bangkok Thailand

ขึ้นไปข้างบน Go down

"สมิทธ"คาดปลายปีสารกัมมันตรังสีจากญี่ปุ่นเยือนไทยเหตุลมเปลี่ยนทิศ>เรื่องน่ารู้:ทำความเข้าใจเรื่อง สารกัมมันตรังสี-กัมมันตภาพรังสี Empty Re: "สมิทธ"คาดปลายปีสารกัมมันตรังสีจากญี่ปุ่นเยือนไทยเหตุลมเปลี่ยนทิศ>เรื่องน่ารู้:ทำความเข้าใจเรื่อง สารกัมมันตรังสี-กัมมันตภาพรังสี

ตั้งหัวข้อ  goosehhardcore Wed Mar 23, 2011 9:41 pm

"สมิทธ"คาดปลายปีสารกัมมันตรังสีจากญี่ปุ่นเยือนไทยเหตุลมเปลี่ยนทิศ>เรื่องน่ารู้:ทำความเข้าใจเรื่อง สารกัมมันตรังสี-กัมมันตภาพรังสี R7356255970894


ด้วยความรู้ความเข้าใจในด้านนี้ มนุษย์เราจึงนำสารกัมมันรังสี และกัมมันตภาพรังสีที่ได้มาใช้ประโยชน์นานัปการ เช่น การใช้คาร์บอน-14 ในการคำนวณอายุของวัตถุโบราณหรือซากดึกดำบรรพ์ ในทางการแพทย์ใช้ไอโอดีน -131 ในการติดตามเพื่อศึกษาความผิดปกติของต่อมไทรอยด์ ใช้โคบอลต์ -60 เรเดียม -226 รักษาโรคมะเร็ง และโซเดียม -24 (Na-24) ใช้ศึกษาการหมุนเวียนเลือดในร่างกาย และการใช้ ยูเรเนียม -238 ในเตาปฏิกรณ์ของโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ เป็นต้น

แต่สารเหล่านี้ มีประโยชน์ ก็มีโทษเช่นเดียวกัน สำหรับกรณีของโรงไฟฟ้าฟุคุชิมา ไดอิจิ สารกัมมันตรังสีที่แพร่ออกมา และสร้างความกังวลต่อผู้ที่เกี่ยวข้องคือ ไอโอดีน-131 และ ซีเซียม-137

ไอโอดี-131 แม้จะมีครึ่งชีวิตเพียง 8 วัน แต่ก็สามารถถูกดูดซับเข้าไปในอาหารได้ โดยเฉพาะในนมและผลิตภัณฑ์จากนม เมื่อเข้าสู่ร่างกายจะสะสมในต่อมไทรอยด์ ยับยั้งการเจริญเติบโตและเมตาบอลิซึ่มของร่างกาย และอาจก่อให้เกิดมะเร็ง โดยไอโอดีน-131 จะมีอันตรายกับเด็กมาก เนื่องจากเด็กอยู่ในช่วงวัยเจริญเติบโต และต่อมไทรอยด์กำลังพัฒนาและขยายตัว หากได้รับในช่วงนี้ อาจส่งผลต่อการเจริญเติบโตของร่างกายได้

แต่ที่อันตรายไปกว่านั้นคือ ซีเซียม-137 ซีเซียมมีองค์ประกอบทางเคมีคล้ายๆ กับโปแตสเซียม ทำให้ร่างกายเข้าใจผิดนึกว่าเป็นโปแตสเซียมจึงดูดซึมเข้าไปสะสมไว้ ซึ่งจะส่งผลให้การทำงานของเซลล์ผิดปกติ ก่อให้เกิดมะเร็ง หากได้รับในปริมาณมาก หรือเป็นเวลานานอาจทำให้เกิดความผิดปกติในระดับโครโมโซมหรือระดับพันธุกรรม ซึ่งอาจทำให้เกิดโรคได้อีกหลากหลาย และหากมีได้รับซีเซียมในปริมาณที่มากๆ ในระยะเวลาอันสั้นก็อาจทำให้เกิดการลวกไหม้อย่างรุนแรงบริเวณที่สัมผัสหรือกับร่างกาย จนกระทั่งอาจเสียชีวิต

และที่สำคัญคือ ซีเซียม-137 มีครึ่งชีวิตที่ยาวนานกว่าไอโอดีน-131 คือ 30 ปี ดังนั้นหากต้องการให้สารกัมมันตรังสีชนิดนี้สลายตัวจนเหลือเพียง 1% ของปริมาณตั้งต้นจะต้องให้เวลายาวนานกว่า 200 ปี

หน่วยวัดรังสีที่มีอันตรายต่อมนุษย์


หน่วยสำหรับวัดอัตราการเสี่ยงภัยจากสารกัมมันตภาพรังสีที่นานาชาติใช้กัน นั้นมีหน่วยเป็น "มิลลิซีเวิร์ตส์" หรือ "เอ็มเอสวี-MSV" ซึ่งเป็นชื่อที่ตั้งตามนามสกุลของศาสตราจารย์โรล์ฟ มักซิมิเลียน ซีเวิร์ต ชาวสวีดิช ผู้บุกเบิกการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับอันตรายจากสารกัมมันตภาพรังสีต่อสิ่งมี ชีวิต

ซึ่งโดยปกติมนุษย์เรามีโอกาสได้รับรังสีชนิดต่างๆในชีวิตประจำวันอยู่ แล้ว มากบ้างน้อยบ้างแตกต่างกันออกไป โดยประเทศไทยได้มีกฎหมายกำหนดปริมาณรังสีสำหรับผู้ปฏิบัติงานทางรังสีจะรับ รังสีได้ 20 มิลลิซีเวิร์ตต่อปีโดยเฉลี่ยในช่วง 5 ปีติดต่อกัน ทั้งนี้ในแต่ละปีจะรับรังสีได้ไม่เกิน 50 มิลลิซีเวิร์ต และตลอดในช่วง 5 ปีติดต่อกันนั้นจะต้องได้รับรังสีไม่เกิน 100 มิลลิซีเวิร์ต

(มีต่อ)


แก้ไขล่าสุดโดย goosehhardcore เมื่อ Wed Mar 23, 2011 10:04 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง
goosehhardcore
goosehhardcore
Hero gen.seh member
Hero gen.seh member

จำนวนข้อความ : 6012
Join date : 12/06/2010
ที่อยู่ : Bangkok Thailand

ขึ้นไปข้างบน Go down

"สมิทธ"คาดปลายปีสารกัมมันตรังสีจากญี่ปุ่นเยือนไทยเหตุลมเปลี่ยนทิศ>เรื่องน่ารู้:ทำความเข้าใจเรื่อง สารกัมมันตรังสี-กัมมันตภาพรังสี Empty Re: "สมิทธ"คาดปลายปีสารกัมมันตรังสีจากญี่ปุ่นเยือนไทยเหตุลมเปลี่ยนทิศ>เรื่องน่ารู้:ทำความเข้าใจเรื่อง สารกัมมันตรังสี-กัมมันตภาพรังสี

ตั้งหัวข้อ  goosehhardcore Wed Mar 23, 2011 9:46 pm

"สมิทธ"คาดปลายปีสารกัมมันตรังสีจากญี่ปุ่นเยือนไทยเหตุลมเปลี่ยนทิศ>เรื่องน่ารู้:ทำความเข้าใจเรื่อง สารกัมมันตรังสี-กัมมันตภาพรังสี R7333355932083


ปริมาณรังสีรวมที่ได้รับจากทั้งภายในและภายนอกร่างกาย กำหนดปริมาณรังสีทั่วร่างกายใช้กับการได้รับรังสีของแขน ขาและศีรษะ ที่สามารถผ่านเนื้อเยื่อได้ลึก 1 เซนติเมตรซึ่งเป็นระดับความลึกที่เริ่มมีเนื้อเยื่อเกี่ยวกับระบบเลือด

จากเหตุการณ์โรงไฟฟ้าฟุคุชิม่าไดอิจิ ที่ผ่านมา ทำให้นานาชาติ ซึ่งรวมทั้งคนไทยต้องกลับมาทบทวนถึงความจำเป็นในการนำพลังงานนิวเคลียร์มาใช้ในประเทศ สำหรับประเทศไทย แม้จะไม่ได้ตั้งอยู่บนรอยเลื่อนสำคัญของโลก และความเสี่ยงต่อการเกิดแผ่นดินไหว และสึนามิก็ไม่สูงเท่ากับประเทศญี่ปุ่น แต่หากเกิดอุบัติเหตุ หรือภัยพิบัติที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้เกิดขึ้น เราจะสามารถควบคุมสถานการณ์ได้หรือไม่ และความเสียหายที่เกิดขึ้นจะคุ้มกับสิ่งที่ได้มามากน้อยแค่ไหน นั่นคือคำถามที่คนไทยทุกคนจะต้องช่วยกันหาคำตอบ

*จากการรายงานสถานการณ์โดยรัฐบาลญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 20 มีนาคมที่ผ่านได้รายงานว่าเจ้าหน้าที่โรงไฟฟ้าสามารถยับยั้งการแพร่กระจาย ของสารกัมมันตรังสีจากโรงไฟฟ้าได้แล้ว แต่เจ้าหน้าที่ยังต้องเฝ้าระวังสถานการณ์อยู่เป็นระยะ และจากการตรวจวัดปริมาณรังสีไม่พบการเปลี่ยนแปลงของระดับรังสีอย่างมีนัย สำคัญ (ประกาศ สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ เรื่องการเกิดเหตุฉุกเฉินทางนิวเคลียร์ที่ประเทศญี่ปุ่นจากเหตุแผ่นดินไหว ฉบับที่17วันที่ 20 มีนาคม 2554 )

3 เหตุการณ์ประวัติศาสตร์ อุบัติเหตุโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์
[/b]
1. โรงไฟฟ้าเชอร์โนบิล ประเทศยูเครน (สหภาพโซเวียตเดิม) เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2529 นับเป็นเหตุการณ์ที่รุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ คือเกิดการระเบิดของไอน้ำที่รุนแรงดันทะลุหม้อปฏิกรณ์และอาคารปฏิกรณ์นิวเคลียร์ ทำให้สารกัมมันตภาพรังสีแพร่กระจายในวงกว้าง มีผู้เสียชีวิต 31 คน และบาดเจ็บ 203 คนทันที และหลายแสนคนต้องอพยพออกจากพื้นที่แห่งนั้นในทันทีหลังเกิดเหตุการณ์ ผลที่ตามมาหลังเหตุการณ์ได้ทำให้ยูเครน เบลารุส และรัสเซีย ได้รับผลกระทบเรื่องการปนเปื้อนจากสารกัมมันตภาพรังสี ด้านเยอรมนี นอร์เวย์ สวีเดน ออสเตรีย อิตาลี ฝรั่งเศส และอังกฤษ ได้รับผลกระทบจากเมฆกัมมันตภาพรังสี

2. โรงงานสกัดเชื้อเพลิงที่มายัค ในสหภาพโซเวียต (ปัจจุบันอยู่ในประเทศรัสเซีย) เมื่อวันที่ 29 ก.ย.2500 โดยเกิดจากระบบหล่อเย็นในถังเก็บกากนิวเคลียร์นับหมื่นตันทำงานผิดพลาดทำให้เกิดระเบิดที่มีความรุนแรงเทียบเท่ากับการระเบิดของระเบิดทีเอ็นที จำนวน 75 ตัน และส่งผลทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 200 คน จากการถูกกัมมันตภาพรังสี และอีกกว่าหมื่นคนต้องอพยพจากบ้าน ขณะที่อีก 450,000 คนไม่มีที่กำบังกัมมันตภาพรังสี

3. โรงไฟฟ้าทรีไมล์ ไอซ์แลนด์ ที่ตั้งอยู่ในรัฐ เพนซิลเวเนีย สหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 28 มี.ค.2522 โดยมีสาเหตุจากขาดน้ำหล่อเย็นในแกนเครื่องปฏิกรณ์ ทำให้เชื้อเพลิงหลอมละลาย มีรังสีรั่วไหลออกจากอาคารคลุมปฏิกรณ์สู่ภายนอก แม้รังสีที่รั่วออกมาจะมีปริมาณเล็กน้อยแต่ยังนับว่าเป็นอุบัติเหตุในอุตสาหกรรมพลังงานนิวเคลียร์สหรัฐที่ร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์

***ภาพโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ฟุคุชิม่า ไดอิจิ จาก http://www.abc.net.au

ขอขอบคุณข้อมูลจาก มูลนิธิสืบ นาคะเสถียร
http://campus.sanook.com/%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B9%83%E0%B8%88%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87-%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%A1%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B5-%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%A1%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B5-935043.html


แก้ไขล่าสุดโดย goosehhardcore เมื่อ Wed Mar 23, 2011 10:40 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง
goosehhardcore
goosehhardcore
Hero gen.seh member
Hero gen.seh member

จำนวนข้อความ : 6012
Join date : 12/06/2010
ที่อยู่ : Bangkok Thailand

ขึ้นไปข้างบน Go down

"สมิทธ"คาดปลายปีสารกัมมันตรังสีจากญี่ปุ่นเยือนไทยเหตุลมเปลี่ยนทิศ>เรื่องน่ารู้:ทำความเข้าใจเรื่อง สารกัมมันตรังสี-กัมมันตภาพรังสี Empty Re: "สมิทธ"คาดปลายปีสารกัมมันตรังสีจากญี่ปุ่นเยือนไทยเหตุลมเปลี่ยนทิศ>เรื่องน่ารู้:ทำความเข้าใจเรื่อง สารกัมมันตรังสี-กัมมันตภาพรังสี

ตั้งหัวข้อ  goosehhardcore Wed Mar 23, 2011 10:29 pm

"สมิทธ"คาดปลายปีสารกัมมันตรังสีจากญี่ปุ่นเยือนไทยเหตุลมเปลี่ยนทิศ>เรื่องน่ารู้:ทำความเข้าใจเรื่อง สารกัมมันตรังสี-กัมมันตภาพรังสี News04

คนญี่ปุ่นเริ่มทำงานปกติ แม้ห่วงเรื่องกัมมันตภาพรังสี


ทีมดับเพลิงฉีดน้ำใส่เตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์หมายเลข 3 และ 4 อีกครั้งในวันนี้ และใช้รถสำหรับฉีดปูนซีเมนต์ก่อสร้างตึกสูง มาเติมน้ำเข้าบ่อเก็บแท่งพลังงานใช้แล้วของเตาปฏิกรณ์หมายเลข 4 โดยตรง เพื่อควบคุมอุณหภูมิ ขณะที่บริษัทโตเกียว อิเลคโทรนิคส์ พาวเวอร์ หรือเทปโก้ ผู้ดูแลโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ไดอิชิ เปิดเผยว่าทีมวิศวกรมีแผนจะกู้ระบบไฟฟ้า เพื่อเริ่มการทำงานของอุปกรณ์และระบบในห้องควบคุมเตาปฏิกรณ์ทั้ง 4 อาคารที่เหลือ แต่จะพยายามเริ่มระบบปั๊มน้ำเข้าบ่อเก็บแท่งพลังงานใช้แล้วของอาคารเตาปฏิกรณ์หมายเลข 2 เป็นอันดับแรก

สำหรับสถานการณ์ที่ยังไม่แน่นอน สร้างความกังวลเรื่องการปนเปื้อนของกัมมันตภาพรังสี โดยเฉพาะหลังพบปริมาณกัมมันตภาพรังสีในน้ำทะเลใกล้โรงไฟฟ้า และน้ำก๊อกที่หมู่บ้านไออิตาเตะ ซึ่งเจ้าหน้าที่ต้องแจกน้ำขวดให้ชาวบ้าน รวมทั้งมีการประกาศห้ามส่งผัก และนมจากพื้นที่ 4 จังหวัดใกล้โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ หลังพบการปนเปื้อนของกัมมันตภาพรังสี ซึ่งไอเออีเอ ยืนยันว่าปนเปื้อนสูงกว่าระดับความปลอดภัย

ด้านกรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น ประกาศเตือนถึงความเป็นไปได้ในการเกิดอาฟเตอร์ช็อคขนาด 7 ริกเตอร์ขึ้นไป แม้ว่าจำนวนอาฟเตอร์ช็อคจะลดลงมากแล้ว ขณะที่ชาวญี่ปุ่นพยายามใช้ชีวิตให้เป็นปกติมากที่สุดวันนี้กรุงโตเกียวเริ่มคึกคัก ประชาชนเดินทางไปทำงานตามปกติ แม้ว่าบริการไฟฟ้าและน้ำประปาจะยังไม่สมบูรณ์ทุกพื้นที่ เช่นเดียวกับเด็กนักเรียนประถมในจังหวัดอิบารากิ ซึ่งเป็นหนึ่งในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ กลับไปเรียนหนังสือ และร้องเพลงให้กำลังใจ ผู้ประสบภัยที่ยังอาศัยอยู่ที่ศูนย์อพยพที่โรงเรียน

ส่วนชาวบ้านในเมืองชิโอกามะ จังหวัดมิยาหงิ เก็บกวาดซากความเสียหาย และทำความสะอาดท้องถนนที่เต็มไปด้วยโคลนจากคลื่นยักษ์สึนามิ รวมทั้งช่วยกันบรรจุกระสอบทราย เพื่อกันคลื่นซัดเข้าท่าเรือที่เสียหาย
ทางการเตรียมพื้นที่ฝังศพขนาดใหญ่ รองรับจำนวนศพผู้เสียชีวิตที่เพิ่มมากขึ้นทุกวัน ล่าสุดยอดผู้เสียชีวิตอย่างเป็นทางการอยู่ที่ 9,080 คน สูญหายอีกประมาณ 13,000 คน และไร้ที่อาศัยอีกกว่า 350,000 คน


Source: http://news.sanook.com/1010578-%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B8%8D%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%9B%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%9B%E0%B8%81%E0%B8%95%E0%B8%B4-%E0%B9%81%E0%B8%A1%E0%B9%89%E0%B8%AB%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%A1%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B5.html
goosehhardcore
goosehhardcore
Hero gen.seh member
Hero gen.seh member

จำนวนข้อความ : 6012
Join date : 12/06/2010
ที่อยู่ : Bangkok Thailand

ขึ้นไปข้างบน Go down

"สมิทธ"คาดปลายปีสารกัมมันตรังสีจากญี่ปุ่นเยือนไทยเหตุลมเปลี่ยนทิศ>เรื่องน่ารู้:ทำความเข้าใจเรื่อง สารกัมมันตรังสี-กัมมันตภาพรังสี Empty Re: "สมิทธ"คาดปลายปีสารกัมมันตรังสีจากญี่ปุ่นเยือนไทยเหตุลมเปลี่ยนทิศ>เรื่องน่ารู้:ทำความเข้าใจเรื่อง สารกัมมันตรังสี-กัมมันตภาพรังสี

ตั้งหัวข้อ  goosehhardcore Thu Mar 24, 2011 4:16 pm

"สมิทธ"คาดปลายปีสารกัมมันตรังสีจากญี่ปุ่นเยือนไทยเหตุลมเปลี่ยนทิศ
วันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2554 เวลา 15:15:13น.


นายสมิทธ ธรรมสโรช ประธานกรรมการมูลนิธิสภาเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ เปิดเผยวันที่่ 24 มีนาคมว่า การสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ ถือว่ามีความจำเป็น เนื่องจาก 30-40 ปีข้างหน้า น้ำมันและก๊าซธรรมชาติก็จะหมดไปจากโลก ส่วนตัวมองว่าพลังงานนิวเคลียร์ เป็นพลังงานสะอาดที่สามารถใช้ทดแทนได้ กรณีที่กลุ่มประชาชนต่อต้าน เป็นเพราะขาดความรู้ความเข้าใจโดยละเอียด

เมื่อถามถึงกรณีที่โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ ที่ประเทศญี่ปุ่นระเบิด รังสีที่เป็นอันตรายจะมาถึงประเทศไทยหรือไม่ นายสมิทธกล่าวว่า ปัจจุบันไม่มี แต่มีความเป็นไปได้ในช่วงปลายปี ที่ลมเปลี่ยนทิศทางมาเป็นทางตะวันตกเฉียงใต้ สารกัมมันตรังสีอาจมาถึงไทยได้ ส่วนความเข้มข้น หรือสามารถทำอันตรายกับประชาชนได้หรือไม่ ขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของรังสีที่ปล่อยออกมา ถึงเวลานั้นคงต้องตรวจวัดอีกครั้ง
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1300954064&grpid=03&catid&subcatid
goosehhardcore
goosehhardcore
Hero gen.seh member
Hero gen.seh member

จำนวนข้อความ : 6012
Join date : 12/06/2010
ที่อยู่ : Bangkok Thailand

ขึ้นไปข้างบน Go down

ขึ้นไปข้างบน

- Similar topics

 
Permissions in this forum:
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ