GENERAL HERO2010 Member
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.

ระเบิดสงครามกำราบกัดดาฟีจับตาชนวน Oil Shock : ปฏิบัติการเด็ดปีกกัดดาฟีสิทธิมนุษยชนหรือสวาปามน้ำมัน

Go down

ระเบิดสงครามกำราบกัดดาฟีจับตาชนวน Oil Shock : ปฏิบัติการเด็ดปีกกัดดาฟีสิทธิมนุษยชนหรือสวาปามน้ำมัน  Empty ระเบิดสงครามกำราบกัดดาฟีจับตาชนวน Oil Shock : ปฏิบัติการเด็ดปีกกัดดาฟีสิทธิมนุษยชนหรือสวาปามน้ำมัน

ตั้งหัวข้อ  goosehhardcore Tue Mar 22, 2011 8:09 am

ระเบิดสงครามกำราบกัดดาฟีจับตาชนวน Oil Shock : ปฏิบัติการเด็ดปีกกัดดาฟีสิทธิมนุษยชนหรือสวาปามน้ำมัน  2b3d93b6c8e54dab89f5204


ปฏิบัติการเด็ดปีกกัดดาฟีสิทธิมนุษยชนหรือสวาปามน้ำมัน
21 มีนาคม 2554 เวลา 08:29 น.

.....ฝ่ายพันธมิตรนานาชาติที่เข้า “ขัดขวาง”กัดดาฟี จะประสบความสำเร็จในการ “ปลดปล่อย” ชาวลิเบียในเวลาอันสั้นหรือไม่นั้น ยังเร็วเกินกว่าที่จะตอบได้ แม้แต่กัดดาฟีเองถึงจะลั่นคำรามว่า นี่คือ “สงครามยืดเยื้อ” แต่เอาเข้าจริงก็เกินความสามารถของผู้นำลิเบียที่จะประเมินได้เพียงลำพัง

แต่มีความเคลื่อนไหวประการหนึ่งที่น่าสนใจมาจากฝ่ายสหรัฐ

นั่นคือแถลงการณ์ของประธานาธิบดีบารักโอบามา แห่งสหรัฐที่กล่าวต่อชาวบราซิลที่นครรีโอเดจาเนโร ที่ระบุว่า “สหรัฐปรารถนาจะเป็นลูกค้าชั้นดีที่สุดของบราซิล ในยามที่บราซิลเริ่มขายน้ำมัน”

การที่สหรัฐ “จีบ” บราซิลอย่างไม่อ้อมค้อม ทำให้อดคิดไม่ได้ว่า สหรัฐกำลังหาแหล่งน้ำมันสำรองแทนที่ลิเบีย หรือกระทั่งแหล่งในแอฟริกาหรือไม่ ในกรณีที่สงครามในลิเบียยืดเยื้อ และนานาประเทศในแอฟริกาคว่ำบาตรสหรัฐ ดังที่สหภาพแอฟริกา (AU) ได้มีแถลงการณ์ประณามและเรียกร้องให้ชาติตะวันตกหยุดใช้กำลังทหารแทรกแซงลิเบีย

หากแอฟริกาไม่พอใจชาติตะวันตกอย่างรุนแรง ถึงขั้นใช้มาตรการปิดกั้นธุรกิจน้ำมันจากตะวันตกไม่ให้เข้ามามีส่วนแบ่ง ปริมาณน้ำมันที่ไหลเข้าชาติตะวันตกจะลดวูบในทันที เพราะในกลุ่มท็อป 20 ของประเทศผู้ผลิตน้ำมันมากที่สุดในโลก มีถึง 4 ประเทศที่มาจากภูมิภาคนี้ คือ แอลจีเรีย ซึ่งมีกำลังการผลิตน้ำมัน 2.18 ล้านบาร์เรลต่อวัน ในอันดับที่ 12 ของโลก แองโกลา 1.835 ล้านบาร์เรลต่อวัน รั้งอันดับที่ 15 และไนจีเรีย 1.825 ล้านบาร์เรลต่อวัน

ยังไม่นับประเทศที่ไม่ออกเสียงแต่คัดค้านมติ UNSC อยู่ในที คือ บราซิลที่กำลังการผลิต 1.973 ล้านบาร์เรลต่อวัน ในอันดับที่ 14 ของโลก และมหามิตรของลิเบียคือเวเนซุเอลาในอันดับที่ 13 ด้วยกำลังการผลิต 2.175 ล้านบาร์เรลต่อวัน

หากชาติตะวันตกและบรรษัทน้ำมันชั้นนำมีเจตนาแอบแฝงในการโจมตีลิเบียจริง การบุกลิเบียเพื่อหวังแหล่งน้ำมันคงไม่ง่ายดายเท่ากับการบุกอิรักอย่างแน่นอน....

อ่านทั้งหมดที่ http://www.posttoday.com/%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%B0%E0%B8%AB%E0%B9%8C/%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8/79737/%E0%B8%9B%E0%B8%8F%E0%B8%B4%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%94%E0%B8%9B%E0%B8%B5%E0%B8%81%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%94%E0%B8%B2%E0%B8%9F%E0%B8%B5%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%A9%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AA%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%9B%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%99

Neutral Neutral Neutral Rolling Eyes Rolling Eyes Rolling Eyes bounce bounce bounce


แก้ไขล่าสุดโดย goosehhardcore เมื่อ Wed Mar 23, 2011 8:00 am, ทั้งหมด 1 ครั้ง
goosehhardcore
goosehhardcore
Hero gen.seh member
Hero gen.seh member

จำนวนข้อความ : 6012
Join date : 12/06/2010
ที่อยู่ : Bangkok Thailand

ขึ้นไปข้างบน Go down

ระเบิดสงครามกำราบกัดดาฟีจับตาชนวน Oil Shock : ปฏิบัติการเด็ดปีกกัดดาฟีสิทธิมนุษยชนหรือสวาปามน้ำมัน  Empty Re: ระเบิดสงครามกำราบกัดดาฟีจับตาชนวน Oil Shock : ปฏิบัติการเด็ดปีกกัดดาฟีสิทธิมนุษยชนหรือสวาปามน้ำมัน

ตั้งหัวข้อ  goosehhardcore Tue Mar 22, 2011 8:16 am

อีกนิด>>

....ในระหว่างที่ชาวโลกกำลังพุ่งความสนใจไปยังภัยพิบัติที่ญี่ปุ่น กัดดาฟีไม่เพียงรุกคืบจนยึดเมืองคืนจากฝ่ายกบฏได้จำนวนหนึ่งเท่านั้น แต่ในช่วงเวลาดังกล่าว National Oil Corporation บริษัทน้ำมันแห่งชาติของลิเบียยังเตรียมทำสัญญามอบแหล่งน้ำมันให้จีนและอินเดียได้ร่วมพัฒนารวมถึงประเทศที่ผู้นำลิเบียเห็นว่าเป็นมิตรต่อตน

ย้ำอีกครั้งว่า จีนและอินเดียเป็น 1 ใน 5 ประเทศที่งดออกเสียงสนับสนุนมติถล่มลิเบีย ซึ่งได้แก่ จีน รัสเซียในฐานะสมาชิกถาวรของ UNSC ส่วนอินเดีย เยอรมนี และบราซิล เป็นสมาชิกสมทบ...
goosehhardcore
goosehhardcore
Hero gen.seh member
Hero gen.seh member

จำนวนข้อความ : 6012
Join date : 12/06/2010
ที่อยู่ : Bangkok Thailand

ขึ้นไปข้างบน Go down

ระเบิดสงครามกำราบกัดดาฟีจับตาชนวน Oil Shock : ปฏิบัติการเด็ดปีกกัดดาฟีสิทธิมนุษยชนหรือสวาปามน้ำมัน  Empty Re: ระเบิดสงครามกำราบกัดดาฟีจับตาชนวน Oil Shock : ปฏิบัติการเด็ดปีกกัดดาฟีสิทธิมนุษยชนหรือสวาปามน้ำมัน

ตั้งหัวข้อ  goosehhardcore Wed Mar 23, 2011 8:05 am

ระเบิดสงครามกำราบกัดดาฟีจับตาชนวน Oil Shock : ปฏิบัติการเด็ดปีกกัดดาฟีสิทธิมนุษยชนหรือสวาปามน้ำมัน  Edfd9509476d481d85757ce


ระเบิดสงครามกำราบกัดดาฟีจับตาชนวน Oil Shock
22 มีนาคม 2554 เวลา 08:10 น.

ความขัดแย้งในระดับสงครามในโลกอาหรับมีความเปราะบางสูงและโยงใยถึงชะตากรรมเศรษฐกิจโลก เพราะภูมิภาคตะวันออกกลางแอฟริกาเหนือเป็นแหล่งพลังงานหลักของโลก การก่อสงครามในภูมิภาคนี้จึงไม่เพียงเกี่ยวข้องโดยตรงกับทิศทางราคาน้ำมันเท่านั้น แต่สงครามใดๆ ที่ระเบิดขึ้นในภูมิภาคนี้จะถูกจับตามองในทันทีว่า เกี่ยวข้องกับน้ำมันไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง

หากสมาชิกในโลกอาหรับเห็นดีเห็นงามกับการโจมตีประเทศหนึ่ง ราคาน้ำมันย่อมมีความเคลื่อนไหวที่ไม่หวือหวานัก หรืออาจหวือหวาเพียงชั่วระยะเวลาสั้นๆ

ดังเช่นกรณีของสงครามอ่าวเปอร์เซียเมื่อปี 2534 ราคาน้ำมันยังปรับขึ้นมาจากเฉลี่ย 17 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล มาอยู่ที่ 36 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล เมื่อเดือน ส.ค. 2534 ซึ่งสงครามได้ยุติลงพอดี หลังจากนั้นระดับราคาเริ่มลดลงอีกครั้งหลังจากที่กองทัพของ ซัดดัม ฮุสเซน ถอนกำลังออกจากคูเวต ขุมน้ำมันที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 5 ของโลก

เมื่อครั้งที่สหรัฐบุกอิรักเมื่อปี 2546 ครั้งนั้นราคาน้ำมันเฉลี่ยอยู่ที่ 2030 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล

อย่างไรก็ตาม ด้วยปัจจัยลบที่เข้ารุมเร้าพอดิบพอดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาวะกำลังการผลิตถึงขีดสุดของประเทศผู้ผลิตน้ำมันอย่างอินโดนีเซียและเม็กซิโก ยังผลให้ราคาน้ำมันโลกปรับขึ้นมาอย่างต่อเนื่องจนถึงปี 2551 ที่น้ำมันปรับขึ้นมาถึงกว่า 147 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ก่อนที่จะดิ่งเหวอีกครั้งด้วยพิษภัยจากเศรษฐกิจโลกถดถอย

แต่โดยสรุปแล้วอาจกล่าวได้ว่า การรุกรานอิรักเมื่อปี 2546 ไม่สั่นสะเทือนราคาในตลาดโลกในระยะแรก เนื่องจากประเทศผู้ผลิตน้ำมันในโลกอาหรับยังหนุนหลัง อีกทั้งสหรัฐยังเข้าควบคุมแหล่งน้ำมันในอิรักได้ในเวลาไม่นานนัก เช่นเดียวกับที่เคยเข้าควบคุมแหล่งน้ำมันในคูเวตให้พ้นจากเงื้อมมือซัดดัมได้ในเวลาอันสั้น

แต่ก็ใช่ว่าสงครามที่ได้รับไฟเขียวจากชาติอาหรับ จะไม่กระทบต่อตลาดน้ำมันโลกไปเสียทีเดียว!

นอกจากนี้ หากคราใดที่โลกอาหรับไม่หนุนชาติตะวันตก เหตุการณ์จะเป็นไปในทางตรงกันข้ามทันที ไม่เพียงชาติอาหรับจะประณามเท่านั้น แต่ยังอาจคว่ำบาตรด้วยการรวมหัวกันงดขายน้ำมันให้ชาติตะวันตก ในฐานะที่โลกอาหรับมีสัดส่วนสมาชิกใน OPEC มากถึง 8 ประเทศจากทั้งหมด 12 ประเทศ

นำไปสู่วิกฤตการณ์ที่เรียกว่า Oil Shock หรือภาวะที่โลกขาดแคลนน้ำมันอย่างหนักจนราคาถีบตัวขึ้นมาราวกับก้าวกระโดด

ภาวะ Oil Shock เคยเกิดขึ้นมาแล้วในช่วงทศวรรษที่ 70 ครั้งแรกราคาพุ่งขึ้นจาก 3 เหรียญสหรัฐ มาอยู่ที่ 12 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ครั้งที่ 2 ราคาปรับขึ้นมาอยู่ที่ 39.5 เหรียญสหรัฐ

หลังจากนั้นโลกไม่เคยประสบกับภาวะข้าวยากหมากแพงด้านพลังงานอีก ทั้งระดับราคายังทิ้งตัวลงถึง 60% ในช่วง 20 ปีต่อมา จนถึงทศวรรษที่ 2000 ที่ราคาน้ำมันกระโดดขึ้นมาสูงสุดเป็นประวัติการณ์ เนื่องจากการเก็งกำไรโดยอ้างเศรษฐกิจที่คึกคัก ก่อนที่ราคาจะทรุดลงอย่างรวดเร็ว เนื่องจากราคาแพงขึ้นโดยมิได้อิงกับกลไกราคาที่แท้จริง

ไม่มีใครคาดคิดว่าหลังจากการรุกรานอิรักเมื่อปี 2546 ชาติตะวันตกจะยังเหลือประเทศใดให้ใช้กำลังบีบเค้นอีก เพราะแม้แต่กัดดาฟีเองยังจูบปากกับสหรัฐอีกครั้งเมื่อปี 2549 หลังจากฮึ่มๆ ใส่กันมานานกว่า 20 ปี จากที่ลิเบียมีเอี่ยวกับการก่อวินาศกรรมสายการบินแพนแอม ที่เมืองล็อกเคอร์บี ของสกอตแลนด์ เมื่อปี 2531

อย่างไรก็ตาม ความไม่แน่นอน คือความแน่นอนที่สุด
ในทศวรรษนี้ สัญญาณของภาวะ Oil Shock ได้ก่อตัวขึ้นอีกครั้ง ท่าม กลางห่ากระสุนและระเบิดจากกองทัพตะวันตกที่สาดถล่มลิเบีย

แต่ความฮึกเหิมของชาติตะวันตกทำให้มองไม่เห็นความไม่พอใจอย่างรุนแรงของประชาชาติอาหรับ
ท่าทีที่ชัดเจนที่สุด คือ สันนิบาตอาหรับ (AL) ที่วิจารณ์การใช้กำลังทหารแทรกแซงสถานการณ์ในลิเบีย

มิหนำซ้ำท่าทีของ AL ก่อนหน้านี้ยังถูกตีความโดยบางประเทศไปเรียบร้อยว่า เป็นความไม่พอใจอย่างรุนแรงต่อความก้าวร้าวของชาติตะวันตก หนึ่งในนั้นคือ กุยโด เวสเทอร์เวลเลอ รัฐมนตรีต่างประเทศของเยอรมนี ที่เปิดเผยว่า เยอรมนีมีเหตุผลที่จะต้องหวาดกลัวกับการใช้กำลังทหารแทรกแซงลิเบีย และเหตุผลที่ว่านั้นมีน้ำหนักขึ้นเมื่อ AL วิพากษ์วิจารณ์การโจมตีในครั้งนี้

เหตุผลที่เยอรมนีหวาดกลัวนั้น มิใช่เกรงว่าสงครามจะขยายวง แต่เกรงว่ายุโรปจะถูกชำระแค้นโดยเศรษฐี น้ำมันในโลกอาหรับ เหมือนดังที่เคยเกิดขึ้นเมื่อคราว Oil Shock ครั้งแรก ซึ่งวิกฤตเมื่อ 38 ปีที่แล้วยังผลให้ยุโรปต้องเสียงแตก เนื่องจากประเทศที่มิได้สนับสนุนสงครามระหว่างอาหรับกับอิสราเอล กลับต้องรับเคราะห์ราคาน้ำมันแพงไปพร้อมกับประเทศที่สนับสนุนสงคราม

วันนี้เยอรมนีคือตัวแทนของฝ่ายไม่เห็นด้วย แต่ไม่มีกำลังพอจะคัดค้าน แม้ความโหดเหี้ยมของกัดดาฟีสมควรหยุดยั้ง แต่มิใช่ด้วยสงครามเกือบเต็มรูปแบบ และสงครามที่มีน้ำมันแอบแฝงเป็นวาระซ่อนเร้น

ที่ผ่านมาชาติตะวันตกตกเป็นหมายวิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรงว่า ใช้กำลังทหารกำราบ กัดดาฟี เพราะมีวาระซ่อนเร้นเรื่องน้ำมันในลิเบีย ไม่เฉพาะสหรัฐเท่านั้นที่เป็นจำเลย แต่ยังรวมถึงฝรั่งเศสที่กระเหี้ยนกระหือรือที่สุด และยังเป็นประเทศแรกที่ตัดสินใจใช้กำลังทหารตามมติ UNSC

เสียงวิพากษ์วิจารณ์ดังกล่าวมีน้ำหนักไม่น้อย เพราะลิเบียมีปริมาณน้ำมันสำรองมากเป็นอันดับ 10 ของโลก และมากที่สุดในทวีปแอฟริกา ที่ 4.1 หมื่นล้านบาร์เรล สามารถสูบขึ้นมาใช้ได้นานถึง 66 ปี

ไม่มีใครบอกได้ว่า การโจมตีลิเบียจะยืดเยื้อยาวนานเพียงใด แม้แต่ฝรั่งเศสจะยืนยันว่าการโจมตีจะไม่มีการยุติลงกลางคัน ซึ่งบ่งชี้ว่าหลักชัยของพันธมิตรตะวันตก คือมุ่งปลดเปลื้องลิเบียจากอำนาจของกัดดาฟี แต่ก็บอกไม่ได้ว่าจะใช้เวลานานเท่าใดกว่าจะไปถึงหลักชัย

ยิ่งการโจมตียืดเยื้อเท่าใด กำลังการผลิตน้ำมันจากลิเบียยิ่งอันตรธานไปจากโลกนานขึ้น และหมายความว่าชาวโลกยิ่งต้องแบกรับภาระมากขึ้นเท่านั้น
แต่น้ำมันแพงแบบรายวัน ยังไม่น่ากังวลเท่า Oil Shock ที่ลากยาวข้ามเดือนข้ามปี

เสียงสะท้อนที่แฝงความขุ่นเคืองจากโลกอาหรับนับเป็นสัญญาณอันตรายของวิกฤต Oil Shock มากพอสมควรแล้ว ยังมีความขัดเคืองจากพันธมิตรลิเบียและชาติที่เป็นปฏิปักษ์ที่แสดงออกอย่างรุนแรงขึ้นทุกวัน ไม่ว่าจะเป็นรัสเซีย อิหร่าน หรือเวเนซุเอลา ทั้ง 3 มีน้ำมันสำรองระดับท็อป 10 ของโลก ในอันดับที่ 1 ที่ 4 และที่ 6 อีกทั้งยังมีสัดส่วนการผลิตที่ 1 ที่ 4 และที่ 13 ตามลำดับ

หากตะวันตกเดินหมากพลาด จนเปิดช่องให้ฝ่ายคัดค้านการโจมตีลิเบียได้โอกาสสวนกลับ ด้วยการตัดตอนเศรษฐกิจอีกฝ่าย ผ่านตลาดน้ำมัน ครานั้นแม้แต่ UN ก็คงฉุดรั้งไว้ไม่อยู่ เพราะปัญหาเศรษฐกิจอยู่เหนืออำนาจขององค์กรโลกแล้ว

ยิ่งชาติตะวันตกล้ำเส้นกับประชาชาติอาหรับและพันธมิตรมากเท่าไร โลกยิ่งข้ามเส้นเข้าสู่พรมแดนของวิกฤต Oil Shock มากขึ้นเป็นเงาตามตัว
ที่มา: โพสต์ทูเดย์วิเคราะห์ http://bit.ly/dPcNWB
goosehhardcore
goosehhardcore
Hero gen.seh member
Hero gen.seh member

จำนวนข้อความ : 6012
Join date : 12/06/2010
ที่อยู่ : Bangkok Thailand

ขึ้นไปข้างบน Go down

ขึ้นไปข้างบน


 
Permissions in this forum:
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ