GENERAL HERO2010 Member
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.

อภิสิทธิ์ชน

Go down

อภิสิทธิ์ชน Empty อภิสิทธิ์ชน

ตั้งหัวข้อ  goosehhardcore Fri Mar 04, 2011 10:15 am

อภิสิทธิ์ชน 4987520110303colum1

นายวิชัย วิวิตเสวี กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) กล่าวถึงกรณีนายหัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล ประธานศาลปกครองสูงสุด ให้สัมภาษณ์ว่าจะไม่ให้ความร่วมมือกับ ป.ป.ช. ในการชี้แจงหรือส่งเอกสารเรื่องกล่าวหานายอักขราทร จุฬารัตน อดีตประธานศาลปกครองสูงสุด กรณีเปลี่ยนองค์คณะที่พิจารณาคำสั่งคุ้มครองที่ห้ามมิให้นำมติ ครม. ที่สนับสนุนการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกไปดำเนินการใดๆโดยมิชอบว่า เจ้าหน้าที่สำนักงาน ป.ป.ช. ไม่ได้แจ้งมาว่าสำนักงานศาลปกครองจะส่งเอกสารใดมาให้หรือไม่ และที่นายหัสวุฒิบอกว่า ก่อนหน้านี้ศาลยุติธรรมก็ไม่ให้ความร่วมมือกับ ป.ป.ช. ความจริงแล้วนายสบโชค สุขารมณ์ ประธานศาลฎีกา ให้ความร่วมมือกับ ป.ป.ช. เป็นอย่างดี เพราะว่าตุลาการทุกคนต้องอยู่ภายใต้กฎหมาย

นายวิชัยยังกล่าวว่า ที่นายหัสวุฒิระบุว่าศาลปกครองมีคณะกรรมการข้าราชการตุลาการศาลปกครอง (ก.ศป.) คอยดูอยู่ว่าตุลาการศาลปกครองคนใดทำผิดกฎ ทุจริต หรือรับสินบนหรือไม่ ความจริงแล้ว ก.ศป. มีหน้าที่วินิจฉัยเพียงความผิดทางวินัยเท่านั้น ส่วนความผิดทางอาญาเป็นหน้าที่ของ ป.ป.ช. ไม่เช่นนั้นจะมีประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 200, 201 และ 202 ว่าด้วยความผิดต่อหน้าที่ในการยุติธรรมทำไม

นายวิชัยจึงอยากให้สำนักงานศาลปกครองชี้แจงหรือส่งเอกสารที่เกี่ยวข้องกับเรื่องกล่าวหาดังกล่าวมาให้ เพราะหาก ป.ป.ช. วินิจฉัยโดยไม่มีข้อมูลเหล่านั้นอาจเป็นผลร้ายต่อตัวนายอักขราทรเอง ซึ่งไม่อยากให้เรื่องนี้กลายเป็นการทะเลาะกันระหว่าง ป.ป.ช. กับศาลปกครอง แต่ยืนยันว่า ป.ป.ช. มีอำนาจและหน้าที่ตรวจสอบคดีนี้

อย่างไรก็ตาม นายสมลักษณ์ จัดกระบวนพล อาจารย์พิเศษมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งเป็นอดีตผู้พิพากษาศาลฎีกา และอดีต ป.ป.ช. ระบุว่า ปัญหานี้ต้องพิจารณา พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 มาตรา 4 ซึ่งให้ความหมายของคำว่า “เจ้าหน้าที่ของรัฐ” คือผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ข้าราชการ หรือพนักงานส่วนท้องถิ่น ซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำ พนักงานหรือบุคคลผู้ปฏิบัติงานในรัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานของรัฐ ผู้บริหารท้องถิ่น และสมาชิกสภาท้องถิ่น ซึ่งมิใช่ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เจ้าพนักงานตามกฎหมายว่าด้วยลักษณะปกครองท้องที่

ดังนั้น ต้องถือว่าผู้พิพากษาตุลาการเป็นข้าราชการประเภทหนึ่งคือ “ข้าราชการตุลาการ” โดยเฉพาะผู้พิพากษาศาลยุติธรรมถือเป็นข้าราชการตุลาการ คือข้าราชการผู้มีอำนาจและหน้าที่ในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดี รวมตลอดถึงผู้ช่วยผู้พิพากษา และข้าราชการผู้ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นตามมาตรา 11 วรรคสอง จึงอยู่ในอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ที่จะทำการไต่สวนได้

ปัญหานี้จึงไม่ใช่การทะเลาะระหว่างองค์กร แต่เป็นเรื่องของนิติรัฐและกฎหมายที่ทุกคนต้องเคารพ ไม่ใช่เป็นอภิสิทธิ์ชน ไม่ว่าจะดำรงตำแหน่งใดๆก็ตาม
Ref: http://www.dailyworldtoday.com/columblank.php?colum_id=49875
goosehhardcore
goosehhardcore
Hero gen.seh member
Hero gen.seh member

จำนวนข้อความ : 6012
Join date : 12/06/2010
ที่อยู่ : Bangkok Thailand

ขึ้นไปข้างบน Go down

ขึ้นไปข้างบน


 
Permissions in this forum:
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ