GENERAL HERO2010 Member
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.

‘อาจารย์ปรีดี พนมยงค์’บิดาประชาธิปไตยไทย

Go down

‘อาจารย์ปรีดี พนมยงค์’บิดาประชาธิปไตยไทย Empty ‘อาจารย์ปรีดี พนมยงค์’บิดาประชาธิปไตยไทย

ตั้งหัวข้อ  goosehhardcore Mon Jan 03, 2011 11:42 am

‘อาจารย์ปรีดี พนมยงค์’บิดาประชาธิปไตยไทย


ก่อนจะเข้าบทความ ผู้เขียนมีความเห็นจากนายชยุตพงศ์ นิลอ่อน ผู้พิพากษาศาลแรงงานภาค 2 จังหวัดชลบุรี ฝากถึงลูกไทยรักชาติชาวอีสานที่อยู่ในกองกำลังติดความรู้ เพื่อไว้ในการต่อสู้กับลูกจีนรักชาติของพลตรีจำลอง ศรีเมือง ซึ่งได้วิพากษ์คำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญไว้ว่า

“ศาลรัฐธรรมนูญตัดสินคดียุบพรรคประชาธิปัตย์มีความเป็นสองมาตรฐานคือ ทำไมศาลรัฐธรรมนูญไม่ยกฟ้องก่อน ในเมื่อคดีขาดอายุความตั้งแต่แรก แต่กลับปล่อยให้มีการดำเนินคดี ในอนาคตสังคมไทยจะไม่ใช่การต่อสู้ระหว่างคนเสื้อแดงกับทหารสายพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา แล้ว แต่จะเป็นการต่อสู้ระหว่างประชาชนชาวไทยทั้งประเทศที่รักความยุติธรรมกับ อำนาจที่ไม่เป็นธรรม จนถึงขั้นปฏิวัติโดยประชาชน เพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศ”

รัฐบุรุษอาวุโสของไทยที่ได้รับการยกย่องคือ อาจารย์ปรีดี พนมยงค์ ผู้ซึ่งประกอบคุณานุคุณต่อประเทศชาติอย่างมากมาย ท่านเคยดำรงตำแหน่งสำคัญๆของประเทศมาแล้วหลายตำแหน่ง ไม่ว่าจะเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย กระทรวงการคลัง และกระทรวงการต่างประเทศ

เป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งธนาคารกลางของประเทศคือ ธนาคารแห่งประเทศไทยในปัจจุบัน เป็นอดีตผู้นำเสรีไทย และเป็นผู้ที่องค์การยูเนสโกยกย่องให้เป็นบุคคลดีเด่นของโลกประจำปี 2543


บทบาทสำคัญที่สุดคือ การเป็นผู้วางรากฐานระบอบประชาธิปไตยให้กับประเทศ ในฐานะหนึ่งในผู้นำการอภิวัฒน์ 24 มิถุนายน 2475

อุดมการณ์ทางการเมืองของอาจารย์ปรีดีประกอบด้วยหลักการพื้นฐานอยู่ 3 ประการ ซึ่งแบ่งการพิจารณาออกเป็น 3 ด้านด้วยกันคือ การเมือง เศรษฐกิจ สังคม

ด้านการเมือง อาจารย์ปรีดีมีความเชื่อมั่นว่า “สังคมจะดำรงอยู่ได้ก็ด้วยมวลราษฎร ดังนั้น ระบบสังคมที่ทำให้มวลราษฎรมีพลังผลักดันให้สังคมก้าวหน้าก็คือ ระบอบประชาธิปไตย”

อาจารย์ปรีดีให้ความเห็นว่า “รูปแบบของสังคมใดๆนั้น ย่อมประกอบด้วยประชาธิปไตยทางเศรษฐกิจ ประชาธิปไตยทางการเมือง ทรรศนะสังคมที่เป็นประชาธิปไตย ซึ่งเป็นหลักนำจิตใจและประกันความสงบสุขสมบูรณ์ของราษฎร”

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2489 เป็นตัวอย่างที่แสดงถึงความพยายามของอาจารย์ปรีดีในการสถาปนาระบอบ ประชาธิปไตยอย่างสมบูรณ์ขึ้นในสังคมไทย เพราะมีบทบัญญัติให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกพฤฒสภา(วุฒิสภา) เป็นผู้รับเลือกตั้งจากราษฎร

โดยเฉพาะอย่างยิ่งได้บัญญัติให้ประชาชนมีสิทธิมนุษยชนอย่างสมบูรณ์ ดังปรากฏอยู่ในมาตรา 13, 14 และ 15 ของรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าว และรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน พุทธศักราช 2550 ซึ่งส่วนหนึ่งได้นำบทบัญญัติที่อาจารย์ปรีดีวางพื้นฐานไว้แล้วมาบัญญัติเอา ไว้ด้วย จึงนับว่าเป็นรัฐธรรมนูญที่มีความเป็นประชาธิปไตยอีกฉบับหนึ่ง

ด้านเศรษฐกิจ การบำรุงความสุขสมบูรณ์ของราษฎรในทางเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นหลักการสำคัญหนึ่งในหลัก 6 ประการของแถลงการณ์คณะราษฎรนั้น อาจารย์ปรีดีเห็นว่าควรจัดให้มีสหกรณ์ขึ้นทำหน้าที่เป็นผู้ประกอบการทาง เศรษฐกิจเพื่อประโยชน์แก่มวลสมาชิก แนวความคิดดังกล่าวนี้ปรากฏเป็นรูปธรรมอยู่ในหมวดที่ 8 แห่งร่างเค้าโครงการเศรษฐกิจแห่งชาติที่อาจารย์ปรีดีได้เป็นผู้ร่างขึ้น แต่มีผู้ขัดขวางโดยพยายามป้ายสีว่าเป็นแนวคิดคอมมิวนิสต์ แต่เมื่อได้มีการตรวจสอบภายหลังแล้วพบว่ามิใช่

อย่างไรก็ตาม แนวคิดสหกรณ์นี้เองทำให้อาจารย์ปรีดีต้องถูกเนรเทศออกนอกประเทศ จึงไม่ได้มีการนำมาใช้ในขณะนั้น ภายหลังรัฐบาลชุดต่อๆมาเห็นความสำคัญกับแนวคิดสหกรณ์ตามที่อาจารย์ปรีดีเสนอ มากขึ้น จนปัจจุบันได้มีการตั้งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ขึ้นในประเทศไทย

อาจารย์ปรีดีเคยกล่าวว่า “ข้าพเจ้าระวังมิให้มนุษย์มีสภาพเป็นสัตว์ ข้าพเจ้าประสงค์จะให้มนุษย์เป็นมนุษย์ยิ่งขึ้น ปราศจากการประทุษร้ายต่อกันอันเนื่องมาจากเหตุเศรษฐกิจ”

ด้านสังคม อาจารย์ปรีดีเป็นผู้ที่ยึดมั่นในปรัชญาสสารธรรมทางสังคมที่เป็นวิทยาศาสตร์ ซึ่งมีความคิดว่า สภาวะทางสังคมเกิดขึ้นและมีอาการเคลื่อนไหวตามกฎธรรมชาติของมวลราษฎร ในงานเขียนชื่อ “อนาคตของประเทศไทยควรดำเนินไปในรูปใด” (พ.ศ. 2516)

อาจารย์ปรีดียืนยันว่า “ระบบเพื่อประโยชน์คนจำนวนน้อยจะคงอยู่ชั่วกัลปาวสานไม่ได้ คืออนาคตจะต้องเป็นของราษฎร ซึ่งเป็นพลเมืองส่วนข้างมาก”

ได้แก่ “ผู้ไร้สมบัติ ชาวนายากจน ผู้มีทุนน้อย รวมทั้งนายทุนที่รักชาติ ซึ่งมิได้คิดเอาแต่ประโยชน์ส่วนตัวหรือกลุ่มของชนชั้นของตัวเองเป็นที่ตั้ง อีกทั้งต้องการระบบสังคมใหม่ที่จะช่วยความเป็นอยู่ของพลเมืองส่วนข้างมากให้ ดียิ่งขึ้นคือ มีระบบการเมืองที่สอดคล้อง สมานกับพลังการผลิตทางเศรษฐกิจของสังคม เพื่อให้การเบียดเบียนหมดไปหรือลดน้อยลงไปมากที่สุดเท่าที่จะมากได้”

ดังนั้น แนวคิดสังคมอุดมคติในทรรศนะของอาจารย์ปรีดีจึงเป็นสังคมประชาธิปไตยสมบูรณ์ กล่าวคือ เป็นสังคมที่เปิดโอกาสให้ประชาชนได้รับการศึกษาอย่างเต็มที่ และมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาของเขาด้วยตัวเขาเอง มีส่วนร่วมในการปกครอง โดยการจัดให้มีสหกรณ์ทำหน้าที่ผู้ประกอบการทางเศรษฐกิจเพื่อประโยชน์แก่มวล สมาชิก มีเทศบาลที่ได้รับเลือกจากราษฎรในท้องถิ่นเพื่อปกครองตนเอง

สังคมเช่นนี้ย่อมเป็นสังคมที่ทุกคนมีงานทำ ปราศจากความอดอยาก มีสิทธิเสรีภาพเท่าเทียมกัน ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน และเป็นสังคมที่บุคคลสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างมีศักดิ์ศรีของความเป็น มนุษย์

ผู้เขียนในฐานะชาวอีสานจึงขอร่วมสดุดีในเกียรติของท่านอดีตนายกรัฐมนตรี และรัฐบุรุษอาวุโสของไทย ผู้ที่สร้างคุณงามความดีให้กับประเทศชาติอย่างมากมาย

ท่านผู้นี้ควรถูกขนานนามว่าเป็น “บิดาของประชาธิปไตยไทย รวมทั้งรัฐบุรุษทางการเมืองไทย” อย่างแท้จริง



ที่มา : นิตยสารโลกวันนี้วันสุข ปีที่ 6 ฉบับ 292 วันที่ 1 – 7 มกราคม พ.ศ. 2554 หน้า 12 คอลัมน์ หอคอยความคิด โดย วิษณุ บุญมารัตน์
(update: 2010-12-29)
goosehhardcore
goosehhardcore
Hero gen.seh member
Hero gen.seh member

จำนวนข้อความ : 6012
Join date : 12/06/2010
ที่อยู่ : Bangkok Thailand

ขึ้นไปข้างบน Go down

ขึ้นไปข้างบน

- Similar topics

 
Permissions in this forum:
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ