GENERAL HERO2010 Member
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.

สหภาพรัฐสภาโลกมีมติให้ไทยทบทวนการถอดถอน สส. จตุพร พรหมพันธ์ และสั่งให้สหประชาชาติติดตามอย่างใกล้ชิด โดย Jarupan Kuldiloke

2 posters

Go down

สหภาพรัฐสภาโลกมีมติให้ไทยทบทวนการถอดถอน สส. จตุพร พรหมพันธ์ และสั่งให้สหประชาชาติติดตามอย่างใกล้ชิด โดย Jarupan Kuldiloke Empty สหภาพรัฐสภาโลกมีมติให้ไทยทบทวนการถอดถอน สส. จตุพร พรหมพันธ์ และสั่งให้สหประชาชาติติดตามอย่างใกล้ชิด โดย Jarupan Kuldiloke

ตั้งหัวข้อ  Mamhablue Wed Dec 12, 2012 7:57 pm

สหภาพรัฐสภาโลกมีมติให้ไทยทบทวนการถอดถอน สส. จตุพร พรหมพันธ์ และสั่งให้สหประชาชาติติดตามอย่างใกล้ชิด
โดย Jarupan Kuldiloke

สหภาพรัฐสภาโลกมีมติให้ไทยทบทวนการถอดถอน สส. จตุพร พรหมพันธ์ และสั่งให้สหประชาชาติติดตามอย่างใกล้ชิด โดย Jarupan Kuldiloke 27995_4702017984294_928377737_n

http://www.ipu.org/hr-e/191/th183.htm

THAILANDCASE N° TH/183 - JATUPORN PROMPAN
Resolution adopted unanimously by the IPU Governing Council at its 191st session(Québec, 24 October 2012)
The Governing Council of the Inter-Parliamentary Union,
Having before it the case of Mr. Prompan Prompan, a former member of the
House of Representatives of Thailand, which has been examined by the
Committee on the Human Rights of Parliamentarians, pursuant to its
Procedure for the treatment by the Inter-Parliamentary Union of
communications concerning violations of the human rights of members of
parliament,
Considering the following information provided by the source:
Mr. Jatuporn Prompan, a leader of the so-called United Front for
Democracy against Dictatorship (UDD) and at the time a member of the
House of Representatives, played a prominent role in the "Red Shirt"
demonstrations that took place in central Bangkok between 12 March and
19 May 2010; in the weeks following the demonstrations, Mr. Prompan and
his fellow UDD leaders were officially charged with participating in an
illegal gathering that contravened the state of emergency declared by
the government; later, Mr. Prompan was among the leaders indicted on
terrorism charges relating to arson attacks on several buildings that
took place on 19 May 2010, after the UDD leaders had been taken into
police custody; unlike the other UDD leaders, Mr. Prompan’s status as a
member of parliament resulted in his quick release on bail;
On 10 April 2011, Mr. Prompan took the stage during the commemoration
organized at the Democracy Monument in Bangkok to mark the first
anniversary of the government crackdown on the Red Shirt demonstrations;
in his speech, he criticized the then government and the Royal Thai
Army for using the pretext of "protecting the monarchy" to criminalize
the Red Shirt movement and kill its members the year before; Mr. Prompan
also criticized the Constitutional Court for sparing the Democrat Party
from dissolution, making reference to leaked video recordings that
showed some of the justices colluding with party officials; following
this, representatives of the Royal Thai Army filed a complaint alleging
that Mr. Prompan had committed lese-majesty in his speech; although a
year-long investigation subsequently found the charges to be baseless,
the Department of Special Investigations asked the Criminal Court to
revoke his bail, which it did on 12 May 2011; Mr. Prompan was
subsequently held in Bangkok Remand Prison until 2 August 2011;
A week after the revocation of his bail, Mr. Prompan’s name was included
on the party list submitted by Pheu Thai for the legislative elections
to be held on 3 July 2011; the Election Commission endorsed the list
after verifying that the candidates met the required legal conditions;
in advance of the elections, Mr. Prompan’s lawyers repeatedly filed
motions requesting that the Criminal Court grant bail or temporary
release to allow him to vote; the requests were denied and Mr. Prompan
was thereby prevented from exercising his right to vote; according to
the source, his failure to cast a vote was immediately seized upon by
the opposition as evidence that he was not qualified to sit in
parliament; at first, the Election Commission certified the election
results, allowing Mr. Prompan to be sworn in as a member of the new
House of Representatives, which first met on the day of his release; in
late November 2011, however, the Electoral Commission ruled by a 4-1
vote that Mr. Prompan should be disqualified as a member of parliament,
asking the Speaker of the House of Representatives to refer the case to
the Constitutional Court for a final ruling;
On 18 May 2012, the Constitutional Court ruled that Mr. Prompan’s
detention on election day, and consequent failure to vote in the
election, disqualified him from serving as a member of parliament; it
reasoned that Mr. Prompan was prohibited from voting under Article
100(3) of the 2007 Constitution, which specifies that "being detained by
a warrant of the Court or by a lawful order" on election day is one of
the prohibitions leading to disenfranchisement, and that this in turn
meant that he had automatically lost his membership in his political
party under the 2007 Organic Act on Political Parties; the loss of party
membership was subsequently the basis (under Articles 101(3) and 106(4)
of the Constitution) on which he was disqualified from sitting in the
House of Representatives,
Considering that the source affirms that the criminal charges pending
against Mr. Prompan in connection with his involvement in the 2010 Red
Shirt rallies are wholly inappropriate, that the specific charge of
participation in an illegal gathering stemmed from the previous
government’s unlawful use of emergency powers, and that the terrorism
charges on which Mr. Prompan and other fellow Red Shirt leaders were
indicted in August 2010 are politically motivated, but that, according
to the source, while the Red Shirts were accused by the government of
committing various acts of violence, there exists no evidence that their
leaders played a role in planning the attacks, or even knew about them;
considering also that the next hearing in the case is scheduled for 29
November 2012,
Considering further that Mr. Prompan was sentenced on 10 July and 27
September 2012 respectively in two criminal cases to two six-month
prison sentences (with a two-year suspension) and fines of 50,000 baht
on charges of defaming then Prime Minister Abhisit Vejjajiva, but that
an appeal is pending in both cases; bearing in mind that the United
Nations Special Rapporteur on the promotion and protection of the right
to freedom of opinion and expression reiterated in his report
(A/HRC/17/27 of 16 May 2011) the call for all States to decriminalize
defamation,
Bearing in mind that Thailand is a party to the International Covenant
on Civil and Political Rights (ICCPR) and therefore obliged to protect
the rights enshrined therein,
Is deeply concerned that Mr. Prompan was disqualified on grounds that
appear directly to contravene Thailand’s international human rights
obligations;
Considers that, although the Thai Constitution specifically provides for
the disenfranchisement of persons "detained by a lawful order" on
election day, preventing those accused of a crime from exercising the
right to vote is at odds with the provisions of the ICCPR, Article 25 of
which guarantees the right to "take part in the conduct of public
affairs" and "to vote and to be elected at genuine periodic elections"
without "unreasonable restrictions";
Considers in this regard that denying an incumbent member of parliament
temporary release from prison to exercise the right to vote is an
"unreasonable restriction", particularly in the light of the ICCPR
provisions guaranteeing persons accused of a crime the right to be
presumed innocent (Article 14) and "separate treatment appropriate to
their status as unconvicted persons" (Article 10(2)(a)); points out that
Mr. Prompan’s disqualification also appears to run counter to the
spirit of Article 102(4) of the Thai Constitution, which stipulates that
only those convicted, not those accused, of a crime lose their right to
stand for election once a candidacy has been submitted;
Is likewise concerned that Mr. Prompan’s political party membership was
terminated at a time when it had not been established that he had
committed any wrongdoing and on account of a speech he had made that
appeared to fall clearly within the exercise of his right to freedom of
expression, as borne out by the subsequent dismissal of the charge; is
also concerned that the courts can rule on the question of party
membership when this is first and foremost a private matter between Mr.
Prompan and his party and there was no dispute between them on the
question;
Sincerely hopes that, in the light of the above, the competent Thai
authorities will do everything possible to reconsider Mr. Prompan’s
disqualification and ensure that all current legal provisions are in
line with the relevant international human rights standards; wishes to
ascertain the official views on this point;
Is concerned about the alleged legal basis for and facts adduced to
substantiate the charges pending against Mr. Prompan and the possibility
that the court may order his return to preventive detention; wishes to
receive a copy of the charge sheet and to be informed of the outcome of
the next hearing; considers that, in the light of the concerns in the
case, it would be useful to explore the possibility of sending a trial
observer to the proceedings, and requests the Secretary General to look
into the matter;
Is also concerned that Mr. Prompan was prosecuted, sentenced and
convicted on charges of defamation; concurs in this regard with the
recommendation made by the United Nations Special Rapporteur that
defamation should not be considered an offence under criminal law;
wishes to ascertain, therefore, whether the Thai authorities are
contemplating reviewing the existing legislation with this in mind;
wishes to receive a copy of the first-instance rulings and to be kept
informed of the appeal proceedings;
Requests the Secretary General to convey this resolution to the competent authorities and to the source;
Requests the Committee to continue examining this case and to report back to it in due course.
-----------
ประเทศไทย
คดีเลขที่ TH/183 - นายจตุพร พรหมพันธุ์

มติที่มีการรับรองเป็นเอกฉันท์ในที่ประชุมสภาบริหาร IPU (IPU Governing Council) สมัยประชุมที่ 191
(ควีเบก 24 ตุลาคม 2555)

สภาบริหารสหภาพรัฐสภาระหว่างประเทศ

ได้พิจารณากรณีของนายจตุพร พรหมพันธุ์
อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแห่งประเทศไทย
โดยเป็นการพิจารณาของคณะกรรมาธิการว่าด้วยสิทธิมนุษยชนของสมาชิกรัฐสภา
(Committee on the Human Rights of Parliamentarians)
และเป็นไปตามขั้นตอนปฏิบัติการรับข้อร้องเรียนกรณีที่เกิดการละเมิดสิทธิ
มนุษยชนของสมาชิกรัฐสภาของสหภาพรัฐสภาระหว่างประเทศ

ได้พิจารณาข้อมูลจากผู้ร้องที่ให้มาแล้วว่า

นายจตุพร พรหมพันธุ์ แกนนำของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ
(นปช.) และในขณะนั้นดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
มีบทบาทสำคัญในระหว่างการชุมนุมของคนเสื้อแดงกลางกรุงเทพฯ ระหว่างวันที่ 12
มีนาคม - 19 พฤษภาคม 2553 ช่วงหลังการชุมนุม นายจตุพรและแกนนำนปช.คนอื่น ๆ
ได้ถูกตั้งข้อหาว่ามีส่วนร่วมในการชุมนุมที่ผิดกฎหมาย
เป็นการละเมิดต่อกฎหมายในสถานการณ์ฉุกเฉิน ซึ่งรัฐบาลเป็นผู้ประกาศใช้
ในเวลาต่อมา มีการสั่งฟ้องคดีต่อนายจตุพรและแกนนำคนอื่น ๆ
ในข้อหาก่อการร้าย
ทั้งในส่วนของการวางเพลิงเผาทำลายอาคารหลายแห่งซึ่งเกิดขึ้นในวันที่ 19
พฤษภาคม 2553 หลังจากแกนนำนปช.ได้ถูกตำรวจควบคุมตัวไว้แล้ว
ต่างจากแกนนำนปช.คนอื่น ๆ เนื่องจากนายจตุพรมีตำแหน่งเป็นสส.
เขาจึงได้รับการประกันตัวอย่างรวดเร็ว

ในวันที่ 10 เมษายน 2554
นายจตุพรเข้าร่วมการชุมนุมรำลึกซึ่งจัดขึ้นที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยใน
กรุงเทพฯ เพื่อรำลึกการครบรอบปีการปราบปรามผู้ชุมนุมเสื้อแดงของรัฐบาล
ในการกล่าวปราศรัย เขาได้วิจารณ์รัฐบาลและกองทัพไทยที่ได้อ้าง
“การปกป้องราชบัลลังก์” เพื่อหาทางเอาผิดกับขบวนการคนเสื้อแดง
และยังมีการสังหารคนเสื้อแดงเมื่อปีก่อนหน้านี้
นายจตุพรยังได้วิจารณ์ศาลรัฐธรรมนูญที่มีคำวินิจฉัยไม่ยุบพรรคประชาธิปัตย์
โดยอ้างถึงคลิปวีดิโอที่หลุดรอดออกมาและเผยให้เห็นการสมคบคิดกันระหว่างผู้
พิพากษาศาลรัฐธรรมนูญบางท่านกับเจ้าหน้าที่พรรคการเมือง
หลังจากนั้นเป็นเหตุให้กองทัพบกได้ส่งตัวแทนแจ้งความดำเนินคดีกับนายจตุพรใน
ข้อหากล่าวปราศรัยในลักษณะที่หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ
และแม้จะมีการสอบสวนอีกหนึ่งปีต่อมาและพบว่าข้อกล่าวหาดังกล่าวไม่มีมูลความ
จริง
แต่กรมสอบสวนคดีพิเศษก็ยังร้องขอศาลอาญาให้ยกเลิกเงื่อนไขการประกันตัวของ
เขา และศาลก็มีคำสั่งเช่นนั้นเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2554
เป็นเหตุให้นายจตุพรถูกควบคุมตัวที่เรือนจําพิเศษกรุงเทพจนกระทั่งวันที่ 2
สิงหาคม 2554

หนึ่งสัปดาห์หลังยกเลิกการประกันตัว
มีการใส่ชื่อนายจตุพรไว้ในบัญชีรายชื่อสมาชิกรัฐสภาของพรรคเพื่อไทย
ซึ่งได้รับเลือกตั้งเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2554
และทางคณะกรรมการการเลือกตั้งได้เห็นชอบต่อบัญชีรายชื่อนั้นหลังจากตรวจพบ
ว่าผู้สมัครมีคุณสมบัติถูกต้องตามกฎหมาย
และเป็นการตรวจสอบล่วงหน้าก่อนการเลือกตั้ง ในช่วงเวลาดังกล่าว
ทนายความของนายจตุพรได้ร้องขอต่อศาลอาญาหลายครั้งให้มีการปล่อยตัวชั่วคราว
หรืออนุญาตให้ออกจากเรือนจำชั่วคราวเพื่อลงคะแนนเสียง แต่ศาลปฏิเสธคำขอ
เป็นเหตุให้นายจตุพรไม่สามารถใช้สิทธิในการเลือกตั้งได้
ทั้งนี้ตามข้อมูลจากผู้ร้อง
การที่ไม่ได้ไปใช้สิทธิลงคะแนนเสียงได้ถูกฝ่ายตรงข้ามใช้ประโยชน์
โดยอ้างเป็นหลักฐานว่าเขาขาดคุณสมบัติการเป็นสมาชิกรัฐสภา ในเบื้องต้น
กลต.รับรองผลการเลือกตั้งเช่นนั้น
และอนุญาตให้นายจตุพรสาบานตนเข้าเป็นสมาชิกรัฐสภาคนใหม่
ซึ่งมีการประชุมในวันที่เขาได้รับการปล่อยตัว แต่ในช่วงปลายเดือนพฤศจิกายน
2554 กลต.มีมติ 4-1 ว่านายจตุพรขาดคุณสมบัติการเป็นสมาชิกรัฐสภา
และขอให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรส่งเรื่องนี้เพื่อให้ศาลรัฐธรรมนูญมีคำ
วินิจฉัย

ในวันที่ 18 พฤษภาคม 2555
ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งว่าเหตุที่นายจตุพรถูกควบคุมตัวในวันเลือกตั้ง
และเป็นเหตุให้ไม่สามารถไปลงคะแนนเสียงได้
เป็นเงื่อนไขทำให้เขาขาดคุณสมบัติการเป็นสมาชิกรัฐสภา
โดยศาลให้เหตุผลว่านายจตุพรถูกห้ามไม่ให้ไปลงคะแนนเสียงตามมาตรา 100(3)
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ซึ่งกำหนดไว้ว่า
“ต้องคุมขังอยู่โดยหมายของศาลหรือโดยคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย”
ในวันเลือกตั้ง
ซึ่งเป็นหนึ่งในข้อห้ามและเป็นเหตุให้มีการจำกัดสิทธิการเลือกตั้งของเขา
และหมายถึงว่าเขาต้องสูญเสียสมาชิกภาพของพรรคการเมืองไปโดยอัตโนมัติ
ทั้งนี้เป็นไปตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญวาดวยพรรคการเมือง พ.ศ. 2550
และการสูญเสียสมาชิกภาพพรรคการเมือง (ตามมาตรา 101(3) และ 106(4)
ของรัฐธรรมนูญ) เป็นเหตุให้เขาขาดคุณสมบัติการเป็นสมาชิกรัฐสภา

พิจารณาว่า ผู้ร้องยืนยันว่า
การแจ้งข้อหาอาญาต่อนายจตุพรเนื่องจากบทบาทของเขาในการชุมนุมของคนเสื้อแดง
เมื่อปี 2553 ขาดความเหมาะสมอย่างยิ่ง
โดยอ้างว่าข้อหาการเข้าร่วมการชุมนุมที่ผิดกฎหมายเป็นผลมาจากการใช้อำนาจใน
สถานการณ์ฉุกเฉินที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของรัฐบาลชุดที่ผ่านมา
และการตั้งข้อหาก่อการร้ายต่อนายจตุพรและแกนนำคนเสื้อแดงคนอื่น ๆ
ซึ่งมีการสั่งฟ้องเมื่อเดือนสิงหาคม 2553 มีสาเหตุมาจากแรงจูงใจทางการเมือง
โดยตามความเห็นของผู้ร้อง
ในขณะที่คนเสื้อแดงถูกรัฐบาลกล่าวหาว่าก่อความรุนแรงหลายครั้ง
แต่ไม่มีพยานหลักฐานยืนยันว่าบรรดาแกนนำได้วางแผนให้กระทำความรุนแรงเหล่า
นั้น หรือทราบล่วงหน้าว่าจะมีการกระทำเช่นนั้น และพิจารณาอีกว่า
จะมีการไต่สวนคดีนี้ขึ้นในวันที่ 29 พฤศจิกายน 2555

พิจารณาต่อไปว่า นายจตุพรได้ถูกศาลตัดสินลงโทษในวันที่ 10 กรกฎาคม และ 27
กันยายน 2555 ในความอาญาสองคดีให้ได้รับโทษจำคุกเป็นเวลาหกเดือนทั้งสองคดี
(ให้รอลงอาญาไว้สองปี) และโทษปรับเป็นเงินจำนวน 50,000
บาทในข้อหาหมิ่นประมาทนายกฯ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
แต่คดียังอยู่ระหว่างการอุทธรณ์ทั้งสองคดี ระลึกไว้ว่า
ผู้รายงานพิเศษแห่งสหประชาชาติว่าด้วยการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิที่จะมี
เสรีภาพในการแสดงความเห็นและการแสดงออกเน้นย้ำในรายงาน (A/HRC/17/27 วันที่
16 พฤษภาคม 2554) เรียกร้องให้รัฐต่าง ๆ
ลดการเอาผิดทางอาญาจากการหมิ่นประมาท

ระลึกว่า
ไทยเป็นภาคีของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
(International Covenant on Civil and Political Rights-ICCPR)
เป็นเหตุให้มีพันธกรณีต้องคุ้มครองสิทธิตามที่กำหนดไว้ในกติกา

- กังวลอย่างมากว่า นายจตุพรได้ถูกพิจารณาว่าขาดคุณสมบัติด้วยเหตุผลที่ขัดแย้งโดยตรงกับพันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศของไทย

- พิจารณาว่า แม้ว่ารัฐธรรมนูญไทยกำหนดให้มีการจำกัดสิทธิของบุคคลที่
“ต้องคุมขังอยู่โดยคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย” ในวันเลือกตั้ง
เป็นเหตุให้จำเลยไม่สามารถใช้สิทธิในการเลือกตั้ง
ซึ่งถือว่าไม่สอดคล้องกับข้อกำหนดในข้อบทที่ 25 ของ ICCPR
ที่ประกันสิทธิที่จะ “มีส่วนร่วมในการปฏิบัติรัฐกิจ” และ
“ออกเสียงหรือได้รับเลือกตั้งในการเลือกตั้งอันแท้จริงตามวาระ”
ทั้งนี้โดยไม่มี “ข้อจำกัดอันไม่สมควร”

- พิจารณาว่า
ด้วยเหตุดังกล่าวจึงมีความเห็นว่าการไม่อนุญาตให้สมาชิกรัฐสภาได้รับการ
ปล่อยตัวชั่วคราวจากเรือนจำเพื่อใช้สิทธิในการเลือกตั้ง เป็น
“ข้อจำกัดอันไม่สมควร” โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อพิจารณาประกอบข้อบทใน ICCPR
ที่ประกันให้บุคคลที่ตกเป็นจำเลยในคดีอาญามีสิทธิได้รับการสันนิษฐานว่าเป็น
ผู้บริสุทธิ์ (ข้อบทที่ 14) และ "ได้รับการจำแนกออกจากผู้ต้องโทษ
และต้องได้รับการปฏิบัติที่แตกต่างออกไปให้เหมาะสมกับสถานะที่ไม่ใช่ผู้ต้อง
โทษ” (มาตรา 10(2)(a))
และยังชี้ให้เห็นว่าการวินิจฉัยว่านายจตุพรขาดคุณสมบัติขัดกับเจตนารมณ์ของ
มาตรา 102(4) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
ซึ่งกำหนดให้เพียงผู้ที่ต้องโทษตามคำสั่งศาลแล้วเท่านั้นที่จะสูญเสียสิทธิ
ในการลงสมัครรับเลือกตั้งเมื่อมีการยื่นเรื่องเพื่อสมัครรับเลือกตั้ง
แต่ไม่รวมถึงผู้ที่ยังเป็นแค่จำเลย

-
จึงมีความกังวลกับการวินิจฉัยให้สมาชิกภาพพรรคการเมืองของนายจตุพรสิ้นสุดลง
ในขณะที่ยังไม่มีการพิสูจน์ว่าเขาได้กระทำความผิดใด ๆ
ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับคำปราศรัยของเขา
ซึ่งอันที่จริงเป็นเพียงการใช้สิทธิที่จะมีเสรีภาพในการแสดงออกของเขาอย่าง
ชัดเจน และได้รับการยืนยันจากการสั่งไม่ฟ้องคดีในเวลาต่อมา
และยังกังวลกับการที่ศาลมีคำวินิจฉัยในประเด็นสมาชิกภาพพรรคการเมืองของเขา
ทั้ง ๆ ที่เป็นเรื่องส่วนตัวระหว่างนายจตุพรกับพรรคของเขาเอง
และไม่ปรากฏว่ามีข้อพิพาทระหว่างเขากับพรรคของเขาให้เป็นประเด็นที่ศาลต้อง
พิจารณาเลย

- หวังเป็นอย่างยิ่งว่า ตามข้อมูลข้างต้น
หน่วยงานผู้มีอำนาจหน้าที่ของไทยจะกระทำทุกวิถีทางเพื่อทบทวนการตัดสมาชิก
ภาพของนายจตุพร
และประกันว่าข้อบัญญัติทางกฎหมายที่เป็นอยู่สอดคล้องกับมาตรฐานสิทธิมนุษยชน
ระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง
และต้องการยืนยันความเห็นอย่างเป็นทางการในประเด็นนี้

-
กังวลเกี่ยวกับเหตุผลและข้อเท็จจริงทางกฎหมายที่นำมาใช้เพื่อตั้งข้อกล่าวหา
ต่อนายจตุพร
และความเป็นไปได้ที่ศาลอาจมีคำสั่งให้ควบคุมตัวเขาอีกครั้งหนึ่ง
ต้องการได้รับสำเนาคำฟ้องที่เกี่ยวข้อง
และได้รับทราบผลของการพิจารณาในครั้งต่อไป พิจารณาว่าจากข้อกังวลในกรณีนี้
อาจเป็นประโยชน์ที่จะเสนอให้มีการส่งตัวแทนเข้าร่วมสังเกตการณ์คดี
และร้องขอให้เลขาธิการพิจารณากรณีนี้

- และกังวลเกี่ยวกับ การที่นายจตุพรได้ถูกฟ้องร้องดำเนินคดี
ถูกตัดสินและลงโทษในข้อหาหมิ่นประมาท
ซึ่งเป็นความกังวลที่สอดคล้องกับข้อเสนอแนะของผู้รายงานพิเศษแห่งสหประชา
ชาติว่า การหมิ่นประมาทไม่ควรถือเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา
ต้องการยืนยันว่า ทางการไทยจะพิจารณาทบทวนกฎหมายที่มีอยู่หรือไม่
ต้องการได้รับสำเนาคำตัดสินของศาลชั้นต้น
และได้รับแจ้งถึงขั้นตอนในชั้นอุทธรณ์คดี

- ร้องขอให้เลขาธิการส่งมอบมติฉบับนี้ให้กับหน่วยงานผู้มีอำนาจหน้าที่และผู้ร้อง

- ร้องขอให้คณะกรรมการตรวจสอบกรณีนี้ต่อไป และให้รายงานกลับมาในเวลาอันเหมาะสม

แปลจาก http://www.ipu.org/hr-e/191/th183.htm
Mamhablue
Mamhablue
Senior gen.member
Senior gen.member

จำนวนข้อความ : 202
Join date : 23/09/2012

ขึ้นไปข้างบน Go down

สหภาพรัฐสภาโลกมีมติให้ไทยทบทวนการถอดถอน สส. จตุพร พรหมพันธ์ และสั่งให้สหประชาชาติติดตามอย่างใกล้ชิด โดย Jarupan Kuldiloke Empty Re: สหภาพรัฐสภาโลกมีมติให้ไทยทบทวนการถอดถอน สส. จตุพร พรหมพันธ์ และสั่งให้สหประชาชาติติดตามอย่างใกล้ชิด โดย Jarupan Kuldiloke

ตั้งหัวข้อ  goosehhardcore Thu Dec 13, 2012 10:12 am

งานเข้าอีกแระ อุตส่าห์ฆ่าตัดตอนอภิซวยแล้ว ยังมีมาอีก กรรมมันติดจรวดจริงๆ
goosehhardcore
goosehhardcore
Hero gen.seh member
Hero gen.seh member

จำนวนข้อความ : 6012
Join date : 12/06/2010
ที่อยู่ : Bangkok Thailand

ขึ้นไปข้างบน Go down

ขึ้นไปข้างบน


 
Permissions in this forum:
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ