GENERAL HERO2010 Member
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.

6 ปีแล้วหรือ...คนไทยได้อะไร ???? (ย้อนรอย...โดยLeeds01 )

Go down

6 ปีแล้วหรือ...คนไทยได้อะไร ???? (ย้อนรอย...โดยLeeds01 )  Empty 6 ปีแล้วหรือ...คนไทยได้อะไร ???? (ย้อนรอย...โดยLeeds01 )

ตั้งหัวข้อ  lucky m. Sun Aug 26, 2012 8:30 pm

6 ปีแล้วหรือ...คนไทยได้อะไร ???? (ย้อนรอย...โดยLeeds01 )



6 ปีแล้วหรือ...คนไทยได้อะไร ???? (ย้อนรอย...โดยLeeds01 )  74740020010303p3

ใครสั่งฆ่า? ... วางระเบิดเครื่องบินทักษิณ 3 มีนาคม 2544


วางระเบิดเครื่องบินทักษิณ 3 มีนาคม 2544

วันที่ 3 มีนาคม 2544 หลายคนยังจำกัน ได้ในสมัย "พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร" เป็นนายกรัฐมนตรี
ในครั้งนั้นเป็นข่าว ครึกโครมไปทั่วประเทศและทั่วโลกเมื่อ เครื่องบินของสายการบินไทย ที่จอด
เทียบท่าอยู่สนามบินดอนเมือง เพื่อรอรับผู้โดยสารบินไปยังจังหวัดเชียงใหม่ โดยหนึ่งในผู้โดยสาร
ในเที่ยวบินดังกล่าว ก็มีผู้นำของประเทศ "พ.ต. ต.ทักษิณ" ก่อนที่ผู้โดยสาร ขึ้นเครื่องไม่กี่นาที
เครื่องบินลำดังกล่าวเกิดระเบิดขึ้น กลางสนามบินดอนเมือง สร้างความแตกตื่นให้กับผู้คน
จำนวนมาก โชคดีของผู้โดยสารที่ยังไม่มีใครขึ้นบนเครื่องบิน จึงไม่มีใครสังเวยชีวิตในครั้งนั้น
แต่ก็เป็นที่กังขาของหลายฝ่ายว่าระเบิดเครื่องบินไทยครั้งนั้นเกิดจากเหตุอะไรกันแน่​
ลอบวางระเบิดนายกฯ..? วินาศกรรม..? ความประมาท..? อุบัติเหตุ..?
จนวันนี้คำถามเหล่านี้ก็ยังไม่ได้รับความชัดเจน

24 ชั่วโมงของทักษิณ: บทที่ 1 เสียงโทรศัพท์ยามรุ่งอรุณ (ตอนที่1)

นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่ ทักษิณเอาชีวิตรอดมาได้ ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 5 มีนาคม2544
เมื่อ เขาได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเพียง 25 วันเขาก็ได้รับรู้รสชาติของการถูกลอบสังหารในวันนั้น
เครื่องบินโบอิ้ง 747 ลำหนึ่งของการบินไทยซึ่งบรรทุกผู้โดยสารจำนวน 129 คนเดินทางจากกรุงเทพฯ
ไป ยังจังหวัดเชียงใหม่ผู้โดยสารบนเครื่องซึ่งรวมทั้งทักษิณที่เพิ่งได้รับ ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีพร้อมด้วย
ลูกชายรวมทั้งข้าราชการจำนวน 20 คนเตรียมพร้อมขึ้นเครื่องวินาทีที่เครื่องบินเตรียมทะยานขึ้นสู่ท้องฟ้า
นั้น ที่นั่งชั้นหนึ่งหมายเลข 11A ที่เขาได้จองไว้เกิดระเบิดขึ้นกะทันหัน ผู้โดยสารที่อยู่บริเวณรอบๆที่นั่งนั้น
ได้รับบาดเจ็บจำนวนมากแต่ที่โชค ดีก็คือที่นั่งนี้ไม่มีใครนั่งอยู่ในตอนนั้น ทักษิณผู้ซึ่งตรงต่อเวลามาโดย
ตลอดตัดสินใจที่จะรอลูกชายซึ่งก็คือนายพาน ทองแท้ที่มาถึงช้า วันนั้นลูกชายก็ไม่ทราบสาเหตุว่าทำไม
ถึงมาช้า 25 นาทีแต่ในที่สุดก็ได้ช่วยชีวิตพ่อของตนไว้ได้

6 ปีแล้วหรือ...คนไทยได้อะไร ???? (ย้อนรอย...โดยLeeds01 )  74740020010303p66 ปีแล้วหรือ...คนไทยได้อะไร ???? (ย้อนรอย...โดยLeeds01 )  74740020010303p8

โบอิ้ง 737-400 เวอร์ชั่น 1 (734) 9 ลำ ชั้น ธุรกิจ จัดแบบ 2-2 จำนวน 12 ที่ นั่ง ,
ชั้นประหยัด จัดแบบ 3-3 จำนวน 137 ที่นั่ง รวมทั้งหมดจำนวน 149 ที่นั่ง

เจ้าหน้าที่กองพิสูจน์หลักฐาน กองสรรพาวุธ สถาบันนิติ เวชวิทยา พนักงานสอบสวน
กองบังคับการตำรวจนครบาล 2 สำนักงาน ตำรวจแห่งชาติ (สตช.) และแผนกทำลายวัตถุระเบิด
กรมสรรพาวุธทหาร อากาศ ได้นำเขม่าที่ติดอยู่กับชิ้นส่วนของเครื่องบินและที่ศพผู้เสียชีวิตไปตรวจ สอบ
ด้วยเครื่องมือ Gas Chromatograph พบสาร Research Department Explosive (RDX) เป็นส่วนใหญ่
และสารประกอบประเภท Chlorates ด้วย โดยที่สาร RDX เป็นส่วนประกอบ สำคัญของดินระเบิดแบบ
ซีโฟร์ (Composition-4) คณะพนักงานสอบของ สตช.ได้ข้อสรุปเบื้องต้น เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2544 ว่า

การระเบิดขึ้นในบริเวณห้อง เก็บสินค้าส่วนด้านหน้าในสุด ค่อนไปทางซ้ายของลำตัวเครื่องบิน
บริเวณใต้ ที่นั่งชั้นประหยัด (Y-Class) หมายเลข 32-36 ห่างจากที่นั่งชั้น ธุรกิจ (J-Class)
ประมาณ 5-6 แถว

6 ปีแล้วหรือ...คนไทยได้อะไร ???? (ย้อนรอย...โดยLeeds01 )  74740020010303p2

รายงานการปฏิบัติของคณะกรรมการสอบสวนกรณีอันเกี่ยวกับอุบัติเหตุ ของ

อากาศยานในราชอาณาจักรกรณีเครื่องบินแบบ BOEING 737-400 เกิดเหตุเพลิงไหม้

คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงกลาโหมเสนอ รายงานการปฏิบัติของคณะกรรมการสอบสวนกรณีอันเกี่ยวกับ
อุบัติเหตุของอากาศยาน ในราชอาณาจักร กรณีเครื่องบินแบบ BOEING 737 - 400 เกิดเหตุเพลิงไหม้ สรุปได้ ดังนี้

เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2544 เครื่องบินแบบ BOEING 737 - 400 เครื่องหมายสัญชาติและทะเบียน HS-TDC ของ
บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ได้เกิดเพลิงลุกไหม้เครื่องบินทั้งลำ ขณะจอดอยู่ที่บริเวณหลุมจอดที่ 62
ท่าอากาศยานกรุงเทพ ทำให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บ จำนวน 6 คน เสียชีวิต จำนวน 1 คน และเครื่องบินได้รับความเสียหาย
ทั้งลำ

เครื่องบินลำดังกล่าวซึ่งทำการบิน เส้นทางภายในประเทศและเส้นทางระหว่าง ประเทศในภูมิภาคเอเชีย โดย
เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2544 ได้ทำการบินมาแล้วจำนวน 4 เที่ยวบิน คือ เส้นทางกรุงเทพฯ-ตรัง และ ตรัง-กรุงเทพฯ
เส้นทาง กรุงเทพฯ-พิษณุโลก และ พิษณุโลก-กรุงเทพฯ ขณะที่เครื่องบินจอดบริเวณหลุมจอดที่ 62 อาคารผู้โดย
สารภายในประเทศ ท่าอากาศยานกรุงเทพ เพื่อจะทำการบินในเที่ยวบินที่ 5 เส้นทาง กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ในเวลา
15 นาฬิกา 15 นาที โดยก่อนเกิดเหตุมีเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานต่อเครื่องบิน จำนวน 5กลุ่ม ซึ่งเจ้าหน้าที่
ของบริษัท การบินไทยฯ ได้ทำการตรวจซ่อมเครื่องปรับอากาศของเครื่องบินลำนี้ เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2544 เวลา 11
นาฬิกา 25 นาที ที่ท่าอากาศยานกรุงเทพ ก่อนทำการบินไปท่าอากาศยานพิษณุโลก ต่อมาเวลาประมาณ 15 นาฬิกา
40นาที เครื่องบินลำดังกล่าวได้เกิดระเบิด และเกิดเพลิงลุกไหม้บริเวณกลางลำตัวเครื่องบินลุกลามไปส่วนต่างๆ
ของเครื่องบินอย่างรวดเร็ว และอีก 18 นาทีต่อมา ถังเชื้อเพลิงที่ปีกขวาเกิดระเบิด จากเหตุการณ์นี้ทำให้เครื่องบินได้
รับความเสียหายทั้งลำ
6 ปีแล้วหรือ...คนไทยได้อะไร ???? (ย้อนรอย...โดยLeeds01 )  74740020010303p5
การปฏิบัติของหน่วยที่รับผิดชอบภายหลังเครื่องบินเกิดเหตุระเบิด


1. เจ้าหน้าที่กองพิสูจน์หลักฐาน กองสรรพาวุธ สถาบันนิติเวชวิทยา พนักงานสอบสวน กองบังคับการตำรวจ

นครบาล 2 สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และแผนกทำลายวัตถุระเบิด กรมสรรพาวุธทหารอากาศ ได้นำเขม่าที่ติด
อยู่กับชิ้นส่วนของเครื่องบินและที่ศพผู้เสียชีวิตไปตรวจ สอบด้วยเครื่องมือ Gas Chromatograph พบสาร
Research Department Explosive (RDX) เป็นส่วนใหญ่ และสารประกอบประเภท Chlorates ด้วย โดยที่สาร
RDX เป็นส่วนประกอบสำคัญของดินระเบิดแบบซีโฟร์ (Composition-4) คณะพนักงานสอบสวนของสำนัก
งานตำรวจแห่งชาติ ได้ข้อสรุปเบื้องต้นเมื่อ วันที่ 6 มีนาคม 2544 ว่าการระเบิดเกิดขึ้นในบริเวณห้องเก็บสินค้า
ส่วนด้านหน้าในสุด ค่อนไปทางซ้ายของลำตัวเครื่องบิน บริเวณใต้ที่นั่งชั้นประหยัด (Y-Class) หมายเลข32-36
ห่างจากที่นั่งชั้นธุรกิจ (J-Class) ประมาณ 5-6 แถว

2. ในวันที่ 6 มีนาคม 2544 คณะกรรมการสอบสวนฯ ได้จัดให้มีการประชุมเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นครั้งนี้ ปรากฏ

ว่าที่ประชุมยังไม่สามารถระบุได้ว่าเป็น การก่อวินาศกรรมหรืออุบัติเหตุ ดังนั้น ที่ประชุมจึงมีมติให้ คณะกรรม
การสอบสวนฯ จะดำเนินการควบคู่ไปกับคณะกรรมการสอบสวนของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และอนุญาตให้
เจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญจากประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งได้รับการแต่งตั้งเป็น Accredit Representative และคณะ
ที่ปรึกษา เข้าร่วมการสอบสวนกับคณะกรรมการสอบสวนฯ

3. ต่อมาคณะเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญของหน่วยงานสหรัฐฯ ได้แก่ National Transportation Safety Board (NTSB)

เป็น หน่วยงานในการสอบสวนกรณียานพาหนะของสหรัฐอเมริกาประสบอุบัติเหตุ และ Federal Aviation Abminis
tration (FAA) เป็นหน่วยงานที่ควบคุมเกี่ยวกับกฎระเบียบการบินของสหรัฐฯ รวมทั้งเจ้าหน้าที่ด้านเทคนิคของ
บริษัทโบอิ้ง Boeing ได้ขอเข้าร่วมการสอบสวนกับคณะกรรมการสอบสวนฯ ในฐานะประเทศผู้สร้างเครื่องบิน
ซึ่งได้รับการแต่งตั้งเป็น Accredit Representative และเป็นคณะที่ปรึกษา หลังจากผู้เชี่ยวชาญจากประเทศสหรัฐ
อเมริกาได้ตรวจสอบซากเครื่องบินพบว่ามี การระเบิดของถังเชื้อเพลิงกลางลำตัวเครื่องบิน (Center Tank)โดย
สาเหตุหลักที่นำไปสู่การระเบิดของถังเชื้อเพลิงฯ นั้น สันนิษฐานว่าอาจเกิดจากเหตุ 3 ประการ คือ
1) การวางระเบิดในห้องผู้โดยสาร (Cabin) เหนือบริเวณถังเชื้อเพลิงกลางลำตัวเครื่องบิน
2) จากระบบของเครื่องบิน บริเวณถังเชื้อเพลิงกลางลำตัวเครื่องบิน
3) จากเหตุอื่น ๆ ซึ่งยังไม่สามารถพบหลักฐานในขณะนี้
4. จากการนำชิ้นส่วนตัวอย่างส่งไปวิเคราะห์ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ในเบื้องต้นไม่พบสาร RDX และต้องนำชิ้นส่วน

ตัวอย่างอื่นๆของเครื่องบินไปทำการวิเคราะห์หาสารเคมีต่อไปซึ่งจะต้องใช้เวลาในการตร​วจพิสูจน์อีกระยะหนึ่ง

ในวันที่ 21 มิถุนายน 2544 NTSB ได้มีหนังสือแจ้งผลการดำเนินงานไปแล้ว โดยได้ถอดและแยกชิ้นส่วนต่าง ๆ
ที่นำมาจากเครื่องบินเพื่อทำการตรวจสอบอย่างละเอียดในห้องปฏิบัติการ ซึ่งในขณะนี้ยังไม่พบต้นเหตุของการจุด
ระเบิด ปั๊มเชื้อเพลิงและเครื่องวัดเชื้อเพลิงยังต้องทำการตรวจสอบต่อไปเนื่องจากพบว่ามีรอย​ขูดขีดและมีวัตถุแปลก
ปลอมถูกกดเข้าไป ในขณะที่ FUEL GAGE CONNECTOR เกิดความเสียหาย ซึ่งอาจเนื่องมาจากไฟฟ้าลัดวงจร จึง
ต้องทำการตรวจสอบ โดยใช้ SCANNING ELECTRON MICROSCOPE ขณะนี้ได้ทำการทดสอบปั๊มเชื้อเพลิงไป
แล้วหนึ่งเรื่อง และกำลังวางแผนในการทดสอบอื่นๆต่อไป เพื่อหาความเป็นไปได้ของ การเกิดประกายไฟ ขณะที่
วัตถุแปลกปลอมถูกดูดเข้าไป และแหล่งของการจุดระเบิดที่เป็นไปได้ ซึ่งเกิดขึ้นระหว่างการทำงานของมอเตอร์หรือ
ลูกปืนปั๊มเชื้อเพลิงเป็นระยะ เวลานาน โดยไม่มีการระบายความร้อนจากเชื้อเพลิง

ในวันที่ 6 สิงหาคม 2544 คณะเจ้าหน้าที่จาก NTSB และ BOEING จำนวน 5คน ได้เดินทางมายังประเทศไทย และ
ได้บรรยายสรุปการปฏิบัติงานที่ได้ดำเนินการไปแล้ว ณ ห้องประชุม ฝ่ายเสนาธิการทหารอากาศ โดยมี ประธานคณะ
กรรมการสอบสวนกรณีอันเกี่ยวกับอุบัติเหตุของอากาศยานในราชอาณาจักร เป็นประธานฯ โดยสรุปได้ดังนี้ ที่เกี่ยว
ข้องไปตรวจสอบเพิ่มเติมหลังจากที่บรรยายสรุป คณะเจ้าหน้าที่จาก NTSB และ BOEING ได้เดินทางไปโรงเก็บซาก
ชิ้นส่วนเครื่องบิน เพื่อตรวจสอบและคัดเลือกชิ้นส่วนใหม่ที่เกี่ยวข้องในช่วงระหว่างวันที่ 6 - 10 สิงหาคม 2544 ภายใต้
การดูแลของคณะกรรมการสอบสวนฯ ทั้งนี้ เพื่อนำไปตรวจสอบเพิ่มเติม ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา

จากการตรวจสอบสถานที่เกิดเหตุ ซากเครื่องบิน ชิ้นส่วนต่าง ๆ ตลอดจนการส่งชิ้นส่วนไปตรวจสอบในห้อง
ปฏิบัติการอย่างละเอียด ขณะนี้ยังไม่ทราบสาเหตุที่คาดว่าจะนำไปสู่การระเบิด แต่มีอุปกรณ์หลายอย่างอยู่ระหว่าง
การตรวจสอบวิเคราะห์ เช่น เครื่องวัดปริมาณเชื้อเพลิงอาจมีการลัดวงจรเกิดขึ้นภายในเครื่องวัด สวิตซ์ไฟฟ้า
(FLOAT SWITCH) ในถังเชื้อเพลิงด้านขวาเกิดการแตกร้าว ปั๊มเชื้อเพลิงที่ถังเชื้อเพลิงกลางพบมีสิ่งแปลกปลอม
และรอยขีดข่วนเกิดขึ้นภายใน และถ่ายเทประจุไฟฟ้าสถิต (STATIC ELECTRICITY) ที่สาย BONDING ของชุด
VENT VALVE ของถังเชื้อเพลิง เป็นต้น ในการดำเนินการขั้นต่อไปของคณะเจ้าหน้าที่จาก NTSB จะได้ทำการตรวจ
สอบวิเคราะห์ต่าง ๆ ที่มีสิ่งผิดปกติดังกล่าวข้างต้น และนำชิ้นส่วนใหม่

ในวันที่ 2 ตุลาคม 2544 The National Transportation Safety Board (NTSB) ได้แจ้งให้ทราบว่า


1. จากการพบร่องรอย (Marks) ที่บริเวณ Pump Inlets NTSB ร่วมกับ Federal Aviation Administration (FAA)
และบริษัท Boeing ได้จัดเตรียมแผนการตรวจสอบการทำงานของ Pump ดังกล่าว ซึ่งห้องทดลองได้ถูกสร้าง
ขึ้นโดย บริษัท Boeing
2. ชิ้นส่วนต่าง ๆ ได้แก่ Wiring, Fuel Vent Valves, Fuel Quantity Probes และ Fuel Filter ได้ถูกจัดส่งไปยังห้องทด
ลองต่าง ๆ เพื่อทำการตรวจสอบ ในวันที่ 4 ตุลาคม 2544 NTSB ได้แจ้งให้ทราบว่า มีความจำเป็นต้องรื้อ
Wing Tank Fuel Pumps ทั้งสอง เพื่อตรวจสอบ ซึ่งจะให้ Pumps ทั้งสองดังกล่าว ไม่สามารถนำกลับมาใช้งาน
ได้อีก คณะกรรมการสอบสวนฯ จึงได้แจ้งให้ NTSB ทราบ เพื่อดำเนินการต่อไป


ในวันที่ 4 มกราคม 2545 NTSB ได้ส่งรายงานการตรวจสอบรูบริเวณผนังด้านข้างของเครื่องบินว่า ลักษณะรอยแตก
และการเสียรูปของรูดังกล่าว เกิดจากการโดนวัตถุทะลุพื้นผิวจากภายนอกเข้าไปยังภายใน จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ
ไว้ในชั้นหนึ่งก่อน และหากมีข้อมูลเพิ่มเติมจักได้รายงานให้ทราบต่อไป

พ.ต.ท.ทักษิณ : ถ้าดูจากการวางกระสอบทราย การบังคับทิศทางอะไรต่างๆ
เจ้าหน้าที่ รปภ. ตนเห็นรถคันนี้ที่จอดอยู่
เขาวิทยุแจ้งข้างหลังว่ามีรถเป้าหมาย
เพราะเนื่องจากเขามีรูปถ่ายรถคันนี้อยู่ เมื่อวันที่ 9 ส.ค.มีตุ๊กตา
มีอะไรรูปพรรณสันฐาน และทะเบียนปลอมที่ใช้ก็ใช้ทะเบียนเดิม
กับที่ไปจอดเมื่อวันที่ 9 ส.ค. โดยจอดที่ทางออกสนามบิน
เมื่อวานที่ผมพูดบางคนไม่รู้ นึกว่ารถไปวนเวียนที่บ้านไม่ใช่
คือไปตั้งแต่วันที่ 9-10 ส.ค.นั้นคือที่ บน.6 ทางออกจาก บน.6
แถวร้านเจ๊เล้งตรงนั้น

๐ เห็นบอกว่ามีคนอยู่เบื้องหลังเป็นกลุ่มบุคคล

พ.ต.ท.ทักษิณ : วันนั้นที่เขาบอกมามันมีชื่อ ประมาณ 4 คน เป็นทหารหมดเลย

๐ ผู้ต้องหายังปากแข็งจะทำให้เป็นปัญหา สาวไม่ถึงตัวบงการ

พ.ต.ท.ทักษิณ : ที่ให้การค่อนข้างจะโกหกอย่างชัดเจน เพราะรถคันนี้ออกจาก
กอ.รมน. บังเอิญเราให้เจ้าหน้าที่ตำรวจไปขอความร่วมมือเอาสมุดคุมรถเข้า-
ออก ก็รู้ว่ารถคันนี้ออกเมื่อเวลา 05.45 น. ออกจาก กอ.รมน.

๐ แสดงว่าดูจากหลักฐานแล้วเป็นการวางแผนกันเป็นขบวนการ

พ.ต.ท.ทักษิณ : ใช่

๐ ขบวนการตรงนี้ใหญ่มากจะสาวถึงตัวผู้บงการหรือไม่

พ.ต.ท.ทักษิณ : พอรู้กลุ่ม แต่ต้องจับกุมผู้ที่เกี่ยวข้องเพิ่ม ....."

**บิ๊กตร.ยันคดีลอบสังหารยังไม่มีจับเพิ่ม

ทีมตำรวจชุดสืบสวนสอบสวนคดีลอบสังหาร พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
นายกรัฐมนตรีกับพวก เครียดจัดข่าวออกมาทำสับสน เรียกประชุมกำหนด 4
นายตำรวจเป็นผู้ให้ข่าวสื่อมวลชน ด้านชุดเชี่ยวชาญวัตถุระเบิดนครบาล
นำรถทดสอบระเบิดโดยจำลองย่อส่วนขนาด 1 ต่อ 4
แบบเดียวกับที่คนร้ายใช้วางไว้ในรถแดวูคันก่อเหตุในค่ายทหารพื้นที่จังหวัด
นครสวรรค์​ ผลรถทดลองระเบิดแหลกเหลือแต่ซาก
เตรียมใช้เป็นข้อมูลนำสืบมัดขบวนการลอบสังหาร ขณะที่ พล.อ.พัลลภ ปิ่นมณี
อดีตรองผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (รอง ผอ.กอ.รมน.)
ออกมาปฏิเสธไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุการณที่เกิดขึ้นและบอกว่าคนไทยกำลัง
ได้ดูหนัง​สนุก

อย่างไรก็ตาม ล่าสุด เมื่อวันที่ 11 กันยายน พล.ต.ท.มนตรี จำรูญ
ผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง (ผบช.ก.)
ยืนยันว่ายังไม่มีการดำเนินออกหมายจับหรือหมายเรียกผู้เกี่ยวข้องในคดีเพิ่ม
เติม ยังคงมีแค่ 5 นายทหารซึ่งตกเป็นผู้ต้องหาพยายามลอบสังหารนายกรัฐมนตรี
ประกอบด้วย ร.ท.ธวัชชัย กลิ่นชะนะ พ.ท.มนัส สุขประเสริฐ พ.อ.สุรพล
สุประดิษฐ์ หรือเสธ.ตี๋ พล.ต.ไพโรจน์ ธีระภาพ ซึ่งยังให้การปฏิเสธ และ
จ.ส.อ.ชาคริต จันทระ หรือจ่ายักษ์
ผู้ต้องหาคนเดียวซึ่งให้การรับสารภาพและซัดทอดผู้ร่วมขบวนการทั้งหมด


**เครียดข่าวสับสน-ตั้ง4นายตร.ให้ข่าวสื่อ

ต่อมาเวลา 11.00 น. พล.ต.ท.มนตรี จำรูญ ผบช.ก. พล.ต.ต.วินัย ทองสอง
ผู้บังคับการกองบังคับการกองปราบปราม (ผบก.บก.ป.)
ร่วมกันแถลงข่าวด้วยสีหน้าเคร่งเครียดว่า
ตลอดเวลาที่คณะพนักงานสอบสวนได้ร่วมกันทำคดีมา
พนักงานสอบสวนจะไม่ให้ข่าวที่เกินกว่าที่ได้รวบรวมพยานหลักฐานได้
ไม่เคยให้ข่าวล่วงหน้า
แต่ขณะนี้ข่าวที่ออกมาอยากให้เข้าใจว่าทำให้เกิดความสับสนอย่างมาก
สังคมจะเข้าใจผิดว่าพนักงานสอบสวนนำความลับไปเปิดเผยหรือทำให้กระทบกับผู้
อื่นที่อาจ​ไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง

**ห่วงข้อมูลสำนวนหลุดทำตร.ขัดแย้งทหาร

ส่วนความคืบหน้าการสืบสวนสอบสวน พล.ต.ท.มนตรีกล่าวว่า
ยังคงมีผู้ต้องหาในคดีเพียง 5 ราย
ส่วนพยานหลักฐานที่ได้มาเพิ่มเติมต้องขอเวลาตรวจสอบ
และวิเคราะห์ความเกี่ยวข้องว่าเชื่อมโยงกับคดีได้หรือไม่เพียงใด
สำหรับกรณีที่จะมีผู้เกี่ยวข้องเพิ่มเติมนอกจากนี้ยังไม่สามารถคาดการณ์ได้

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า
ภายหลังการแถลงข่าวพนักงานสอบสวนหลายนายได้ติดต่อมายังผู้สื่อข่าว
พร้อมกับสอบถามถึงแหล่งที่มาของข่าวที่หลุดออกไปยังสื่อมวลชน
เนื่องจากหลายเรื่องที่หลุดออกมานั้นอยู่ในสำนวนการสอบสวนจริง
ขณะที่บางเรื่องเป็นเรื่องที่ชุดสืบสวนในทางลับกำลังติดตามอยู่
พนักงานสอบสวนจึงพยายามขอร้องไม่ให้นำข้อมูลแนวทางการสืบสวนของตำรวจไปเปิด
เผย
เพราะเกรงว่าข้อมูลที่หลุดออกไปจะทำให้เกิดความขัดแย้งกันระหว่างทหารกับ
ตำรวจ เนื่องจากมีนายทหารระดับสูงหลายนายที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับคดีนี้

**สอบปากคำเพิ่ม4ทหารผู้ต้องหา

ต่อมาเวลา 13.30 น. พนักงานสอบสวนกองปราบปราม นำตัว จ.ส.อ.ชาคริต
หรือจ่ายักษ์ จากห้องคุมขังไปสอบสวนเพิ่มเติม
โดยมีตำรวจคอมมานโดคุ้มกันอย่างแน่นหนาขึ้นบันไดด้านข้างของอาคารกองปราบ
ปราม ซึ่ง จ.ส.อ.ชาคริตไม่พูดใดๆ กับผู้สื่อข่าวทั้งสิ้น
และระหว่างนั้นตำรวจคอมมานโดพยายามกันไม่ให้ผู้สื่อข่าวบันทึกภาพ

ขณะที่ทางด้าน พ.ต.อ.ประพนธ์ แกลโกศล รองผู้บังคับการตำรวจนครบาล 9 (รอง
ผบก.น.9)
พร้อมด้วยพนักงานสอบสวนอีกจำนวนหนึ่งไปที่เรือนจำทหารของมณฑลทหารบกที่ 11
จังหวัดนครปฐม เพื่อสอบปากคำเพิ่มเติม ร.ท.ธวัชชัย กลิ่นชะนะ พ.ท.มนัส
สุขประเสริฐ และ พ.อ.สุรพล สุประดิษฐ์ ผู้ต้องหาทั้ง 3
ที่ถูกควบคุมตัวไว้ในเรือนจำดังกล่าว
เนื่องจากพนักงานสอบสวนต้องการให้ผู้ต้องหาทั้ง 3
คนยืนยันคำให้การเป็นครั้งสุดท้าย แม้ว่าจะให้การปฏิเสธมาตลอด

**สงสัยรถนิสสันขนอาวุธสวมทะเบียน

สำหรับการสืบสวนหารถยนต์กระบะ ยี่ห้อนิสสัน รุ่นฟรอนเทียร์ สีบรอนซ์
ทะเบียนตรากงจักร ตามที่
จ.ส.อ.ชาคริตได้ให้การไว้ว่าเป็นรถยนต์อีกคันที่ใช้บรรทุกอาวุธร่วมขบวนการ
ลอบสังหาร​ครั้งนี้ด้วยนั้น
มีรายงานว่าชุดสืบสวนที่ติดตามรถยนต์คันดังกล่าวชุดแรกไปตรวจสอบที่บ้านพัก
หลังหนึ่ง​ในเขต อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี เบื้องต้นพบว่าเป็นบ้านเดี่ยว
ตั้งอยู่กลางทุ่ง
ซึ่งกำลังที่ส่งไปเฝ้าจุดได้รายงานเข้ามาว่าไม่มีคนอยู่ในบ้าน
และก็ไม่พบความเคลื่อนไหวใดๆ ทั้งสิ้น

ทั้งนี้
พนักงานสอบสวนได้สอบถามจากชาวบ้านในละแวกใกล้เคียงทราบว่าเคยเห็นรถยนต์คัน
ดังกล่าวจ​ริง แต่ก็ไม่เห็นมาหลายวันแล้วตั้งแต่เกิดคดีนี้ขึ้น
ส่วนกำลังอีกชุดหนึ่งที่ไปตรวจสอบที่บ้านพักในค่ายทหารแห่งหนึ่งใน
เขตกรุงเทพฯ ก็ไม่พบ
เบื้องต้นเชื่อว่าน่าจะเป็นรถยนต์ที่ถูกนำมาใช้สวมทะเบียนของราชการ
เนื่องจากตรวจสอบแล้วทราบว่าในกองทัพไม่มีการนำรถยนต์รุ่นและสีดังกล่าวเข้า
มาใช้แต่​อย่างใด คาดว่าน่าจะเป็นในลักษณะเดียวกันกับรถยนต์ของ
จ.ส.อ.ชาคริต ที่มีการยืมรถของกลางในคดีของสำนักงาน ป.ป.ส.
เข้ามาใช้ในงานราชการลับก็เป็นได้

**หาพยานยัน2จ่า"อ.-ร."ร่วมทีมบึ้ม

ส่วนความเคลื่อนไหวการติดตาม 2 ทหารที่
จ.ส.อ.ชาคริตซัดทอดเป็นมือประกอบระเบิด เบื้องต้นมีรายงานว่าเป็นทหารระดับ
"จ่า" หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ จ.ลพบุรี ตำรวจตรวจสอบข้อเท็จจริงแล้ว
สงสัยเป็น "จ่า อ. และ จ่า ร."
แต่เนื่องจากรายละเอียดทั้งหมดเป็นแต่เพียงคำให้การซัดทอด
จึงเป็นเรื่องยากที่ผู้ต้องสงสัยจะยอมรับสารภาพได้โดยง่าย
ทางพนักงานสอบสวนอยู่ในระหว่างเสาะหาพยานหลักฐานมาเพิ่มเติม
เพื่อยืนยันคำให้การดังกล่าว

**นำรถประกอบระเบิดย่อส่วนทดสอบ

ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า เมื่อวันที่ 10 กันยายนที่ผ่านมา พ.ต.อ.ปรีชา
ธิมามนตรี รองผู้บังคับการหัวหน้าศูนย์สืบสวน กองบัญชาการตำรวจนครบาล
พ.ต.ท.กำธร อุ่ยเจริญ สว.กลุ่มงานเก็บกู้และตรวจพิสูจน์วัตถุระเบิด
กองบังคับการตำรวจปฏิบัติการพิเศษกองบัญชาการตำรวจนครบาล
พร้อมกำลังชุดพนักงานสอบสวนและศูนย์ข้อมูลกองปราบปราม
ประสานไปยังหัวหน้าหน่วยทหารแห่งหนึ่งในจังหวัดนครสวรรค์
เพื่อขอทดสอบระเบิดจำลองย่อส่วนขนาด 1 ต่อ 4
แบบเดียวกับที่คนร้ายใช้ในรถแดวูซุกระเบิดคันก่อเหตุที่ยึดได้ขณะ
ร.ท.ธวัชชัย 1 ในผู้ต้องหากำลังขับบริเวณเชิงสะพานกรุงธน
โดยใช้รถยนต์จริงเป็นตัวทดสอบ และมีอุปกรณ์ระเบิดประกอบด้วยระเบิดซีโฟร์
0.8 ปอนด์ ระเบิดทีเอ็นที 2 ปอนด์
สารเอ็นโฟร์ซึ่งมีส่วนประกอบของสารยูเรียผสมน้ำมันดีเซล 16.8 กก.
ฝักแคชนิดเอ็ม 7 เชื้อปะทุไฟฟ้าทางทหารชนิดเอ็ม 6 กระสอบทราย

เมื่อเดินทางไปถึงบริเวณที่โล่งภายในค่าย
ซึ่งมีการจัดหารถเก๋งเก่าคันหนึ่งเตรียมไว้แล้ว
พ.ต.ท.กำธรได้นำส่วนประกอบระเบิดย่อส่วนประกอบใส่ไว้ภายในรถ
โดยใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง จึงแล้วเสร็จ
โดยมีวงจรจุดระเบิดแบบคลื่นสั้นของรถบังคับติดไว้บริเวณใต้ที่นั่งคนขับ
เหมือนกับที่​พบในรถแดวู หลังจากนั้นชุดทดสอบทั้งหมด
ได้กันเจ้าหน้าที่ให้ห่างออกไปจากรถประมาณ 300 เมตร ส่วนผู้จุดระเบิดคือ
พ.ต.ท.กำธรยืนอยู่ห่างจากรถที่ใช้ทดสอบประมาณ 150 เมตร

**ผลรถแหลก-ถ่ายวิดีโอเก็บเป็นหลักฐาน

หลังจากการเตรียมการเสร็จเรียบร้อย
พ.ต.ท.กำธรได้กดระเบิดจนเกิดเสียงดังสนั่นหวั่นไหว
ตัวถังรถเก่าที่นำมาทดสอบถูกฉีกกระจายออกเป็นชิ้นๆ
เหลือเพียงคัดซีรถและเครื่องยังติดกับตัวถังอยู่
จากการตรวจสอบแรงระเบิดมีระยะทำลายประมาณ 100 เมตร
จากการคำนวณถ้าใช้ระเบิดจำนวนตามที่คนร้ายใช้
รัศมีการทำลายน่าจะมีระยะทำการประมาณ 500 เมตร
แรงระเบิดจะมีอานุภาพทำลายทั้งจากแรงอัด เนื่องจากประกอบด้วยสารเอ็นโฟร์
ซึ่งเป็นระเบิดความดันต่ำ และสารซีโฟร์และทีเอ็นที
ซึ่งเป็นระเบิดความดันสูง ซึ่งมีอำนาจการฉีกทำลายรุนแรง
ทำให้วัตถุที่อยู่ในรัศมีฉีกขาด กลายเป็นสะเก็ดระเบิดจำนวนมหาศาล
เมื่ออยู่ในที่ชุมชนหรือที่สาธารณะเช่นเชิงสะพานบางพลัดจุดเกิดเหตุ

ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า ในการดำเนินการครั้งนี้
เจ้าหน้าที่ได้ทำการถ่ายภาพวิดีโอ ภาพนิ่ง ไว้ตลอดการทดลอง
เพื่อประกอบเข้าสำนวนการสอบสวน
เพื่อให้หลักฐานแน่นหนาพอจะเอาผิดผู้ต้องหาทั้ง 5 คนด้วย

**"พัลลภ"โบ้ยเรื่องกอ.รมน.ให้ถาม"แม้ว"

วันเดียวกัน พล.อ.พัลลภ ปิ่นมณี อดีตรอง ผอ.กอ.รมน.ให้สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์
"มติชน" เกี่ยวกับรายละเอียดคำรับสารภาพของ จ.ส.อ.ชาคริต หรือ จ่ายักษ์
ที่เชื่อโยงประเด็นต่างๆ มากมายว่า ยอมรับว่าเรื่องนี้ทำให้วุ่นอยู่
แต่ขอยืนยันว่าไม่รู้เรื่องด้วยเลย โดยเฉพาะที่มีความพยายามโยงเข้าไปใน
กอ.รมน.นั้น

"ถ้าอยากรู้รายละเอียดและความจริงทั้งหมดใน กอ.รมน.
คงต้องไปถามเอากับพ.ต.ท.ทักษิณ เพราะมีตำแหน่งเป็น ผอ.กอ.รมน.
เท่ากับเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุดของ กอ.รมน. ส่วนผมเป็นเพียงรอง ผอ.กอ.รมน.
มีหน้าที่บริหารงาน กอ.รมน.ตามนโยบายของนายกฯเท่านั้น" พล.อ.พัลลภกล่าว

ผู้สื่อข่าวถามว่า แต่รายละเอียดคำรับสารภาพของ
จ.ส.อ.ชาคริตลำดับเป็นเรื่อง มีผู้เกี่ยวข้องที่น่าสนใจและเชื่อมโยงถึง
พล.อ."พ."อาจอยู่เบื้องหลัง พล.อ.พัลลภหัวเราะก่อนกล่าวว่า
ดูคำรับสารภาพของ จ.ส.อ.ชาคริตแล้ว
เหมือนหนังแต่คิดว่าไปดูหนังแขกยังสนุกกว่าเสียอีก

**ซัด"จ่ายักษ์"แค่พลขับ"ติงต๊อง"

เมื่อถามว่า
จ.ส.อ.ชาคริตระบุส่วนประกอบหนึ่งของแผนลอบสังหารถึงขั้นจะมีการปฏิวัติ
พล.อ.พัลลภกล่าวว่า ไม่มี กอ.รมน.มีแต่ฝ่ายเสนาธิการที่ทำงานด้านนโยบาย
คอยทำหน้าที่ประสานงานเรื่องที่เกี่ยวข้องเท่านั้น ตามที่
ผอ.กอ.รมน.คือนายกรัฐมนตรี มอบหมาย ไม่ได้คุมกำลังพลที่ติดอาวุธ ดังนั้น
กอ.รมน.จะไปเอากำลังพลที่ไหนมาปฏิวัติ เมื่อถามว่า
รู้สึกหนักใจหรือไม่ที่ถูกเชื่อมโยงด้วย พล.อ.พัลลภกล่าวว่า ไม่หนักใจ
รู้สึกเฉยๆ อยากรู้ต้องไปถาม พ.ต.ท.ทักษิณ

**ลั่นใครจะบ้าเขียนคำแถลงการณ์ปฏิวัติ

เมื่อถามถึง กระแสข่าวปฏิวัติตามที่ตำรวจอ้าง พล.อ.พัลลภกล่าวว่า "ใครจะบ้าไปเขียนคำแถลงการณ์อะไรไว้ แล้วเรื่องปฏิวัติก็ไม่เคยคิด ผม
จะเอากำลังทหารที่ไหนไปปฏิวัติ มีแต่ทหารลูกน้องหน้าห้อง
ฝ่ายอำนวยการเท่านั้น ไม่มีกำลังอะไรเป็นกองทัพเลย ตอนนี้ผมอายุ 71 ปีแล้ว
อยากใช้ชีวิตสบายๆ พักผ่อนตอนแก่ ผมจะไปปฏิวัติไปทำไม
ผมจะต้องเอาตัวเข้าเสี่ยงไปแลกขนาดนั้นเลยหรือ แล้วผมจะเอากำลังที่ไหน
แค่คิดก็ไม่รู้จะทำยังไงแล้ว"

"จ่ายักษ์" สารภาพ ซัดทอดยกทีม อ้างล้ม "ระบอบทักษิณ"

"จ.ส.อ.ชาคริตรับสารภาพว่า ได้ร่วมกระทำผิดจริง
โดยให้การเป็นประโยชน์ต่อรูปคดี และมีความเชื่อมโยงในประเด็นต่างๆ
ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการสืบสวน จิ๊กซอว์ใกล้ครบแล้ว แต่คงเปิดเผยไม่ได้"
พล.ต.ท.มนตรีกล่าว



@ ซัดนายใหญ่สั่ง-ทำลายระบอบทักษิณ

ทั้งนี้ จ่ายักษ์ได้ให้การรับสารภาพอ้างว่า ได้ร่วมกับ ร.ท.ธวัชชัย
พ.ท.มนัส พ.อ.สุรพล หรือ เสธ.ตี๋ และ พล.ต.ไพโรจน์ กับพวกอีกอย่างน้อย 8 คน
เตรียมการที่จะลอบสังหารนายกรัฐมนตรีจริง
โดยมีการวางแผนตั้งแต่เมื่อช่วงกลางเดือนมิถุนา ยนที่ผ่านมา ซึ่ง เสธ.ตี๋
ที่เป็นผู้บังคับบัญชาของตนได้เรียกให้ไปพบที่สำนักงาน กอ.รมน. สวนรื่นฤดี
พร้อมกับบอกว่า "นายใหญ่" สั่งการให้ฆ่า พ.ต.ท.ทักษิณ เพื่อ
"ทำลายระบอบทักษิณ" เนื่องจากที่ผ่านมาทำให้ประเทศชาติเสียหาย
ซึ่งได้ยินดีปฏิบัติตาม เนื่องจากเป็นคำสั่งของนายใหญ่ ซึ่งก็คือ "พล.อ.
พ." โดย เสธ.ตี๋ ยังอ้างด้วยว่าการลงมือครั้งนี้เป็นการรับงานผ่านมาจาก
พล.ต. "ส" และ พล.ต. "ต"
โดยมีผู้ร่วมวางแผนการลอบสังหารอีกคนหนึ่งที่สำคัญคือ พ.อ. "บ" หรือ
ทั้งหมดเป็นทหารสังกัด กอ.รมน.

@ อ้างเพื่อรักษาชีวิตคนอีก 60 กว่าล.

จ.ส.อ.ชาคริตให้การอ้างด้วยว่า ก่อนที่จะมีการลงมือนั้นร่วมกับ พ.อ.สุรพล
หรือ เสธ.ตี๋ หารือกันถึงอาวุธที่จะใช้ในการลอบสังหาร ซึ่งได้สอบถาม
เสธ.ตี๋ ว่าจะให้ใช้อาวุธปืนยิงใช่หรือไม่ แต่ เสธ.ตี๋ ได้บอกกลับว่า
"นายใหญ่" ให้ใช้ระเบิด ซึ่งขณะนั้น พ.ท.มนัส
ได้รายงานให้ทราบว่ามีการจับระเบิดที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้กว่า 20
กิโลกรัม เสธ.ตี๋ จึงบอกว่าจะใช้มากกว่านี้อีกเท่าหนึ่ง
เพื่อจะได้ประสบผลสำเร็จ แต่ได้พยายามทักท้วงโดยบอกว่า
เพราะการใช้ระเบิดมากขนาดนั้นจะทำให้คนที่ไม่เกี่ยวข้องเสียชีวิตเป็นจำนวน
มาก การโต้แย้งของตนทำให้ เสธ.ตี๋
โมโหพร้อมกับยืนยันว่าจะให้ใช้ระเบิดตามคำสั่งของ "นายใหญ่"
โดยบอกว่าคนตายเป็นร้อย แต่ต้องรักษาชีวิตคนอีก 60 กว่าล้านคน
เพราะต้องกำจัด "ระบอบทักษิณ" ให้สิ้นซากให้ได้



@ เตรียมแผนใหม่ใช้อาร์พีจีสังหาร

จ.ส.อ.ชาคริตให้การต่อว่า หลังจากตำรวจเข้าจับกุม
ร.ท.ธวัชชัยได้ในที่เกิดเหตุจนเป็นข่าวใหญ่โต ทำให้ เสธ.ตี๋เรียกตนและ
พ.ท.มนัสเข้าไปต่อว่าดุด่าอย่างรุนแรง โดยเฉพาะ พ.ท.มนัส ซึ่ง
เสธ.ตี๋มักจะเรียกว่า "ไอ้แก่" นั้น
ได้ถูกต่อว่าอย่างมากฐานที่ทำงานไม่สำเร็จและยังถูกจับกุมได้ จึงสั่งการให้
พ.ท.มนัสแก้ตัวและลงมือใหม่ โดยเรียกว่าเป็นแผนการครั้งที่ 2 ซึ่ง
เสธ.ตี๋หารือกับ พ.ท.มนัสว่าน่าจะใช้ "อินทผลัม" ตามภาษาทางการทหาร
หรือที่รู้จักกันทั่วไปว่าจรวดอาร์พีจีหรือไม่ก็ใช้ เอ็ม 79
ที่ทหารศูนย์สงครามพิเศษ จ.ลพบุรี ใช้กัน เพื่อลอบสังหารอีกครั้ง ซึ่ง
เสธ.ตี๋ยังบอกด้วยว่า
หากปฏิบัติการครั้งนี้ไม่สำเร็จจะเลือกใช้วิธีสุดท้ายคือการปฏิวัติ ตามที่
"นายใหญ่" ได้คิดไว้แล้ว แต่ยังไม่ได้ลงมือทำ
ทั้งหมดก็ถูกตำรวจออกหมายเรียกให้มาทราบข้อกล่าวหาก่อนแล้ว

@ มีหลักฐานโอนเงิน-ทำแผน10ก.ย.

แหล่งข่าวกล่าวต่อว่า
เบื้องต้นนอกจากคำรับสารภาพของจ่ายักษ์แล้วพนักงานสอบสวนยังได้หลักฐานเป็น
การโอนเงิ​นค่าดำเนินการ ซึ่งโยงให้เห็นความเกี่ยวพันในขบวนการด้วย
และในวันเสาร์ที่ 10 กันยายน จะนำตัว
จ.ส.อ.ชาคริตไปทำแผนประกอบคำรับสารภาพตามขั้นตอนตั้งแต่เริ่มวางแผนจนถึงการ
ลงมือปฏิ​บัติการอย่างละเอียด โดยจะมีการวางกำลังคุ้มกันอย่างแน่นหนา
คาดว่าอาจจะใช้กำลังตำรวจคอมมานโดพร้อมอาวุธไม่ต่ำกว่า 100 นาย
ส่วนผู้ต้องหารายอื่นที่ปฏิเสธจะไม่นำตัวไป
และเป็นสิทธิของผู้ต้องหาที่จะให้การอย่างใดก็ได้

@ พัลลภยันไม่รู้เรื่องลอบสังหาร

พล.อ.พัลลภ ปิ่นมณี อดีตรอง ผอ.กอ.รมน. กล่าวถึงกรณีมีกระแสข่าว
จ.ส.อ.ชาคริตให้การรับสารภาพและซัดทอดถึงว่า ไม่เป็นไร
ขอยืนยันว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไม่รู้เรื่อง ทั้งนี้
ต้องปล่อยให้เป็นไปตามรูปคดีและขั้นตอนของกฎหมาย ยังไม่ทราบรายละเอียดที่
จ.ส.อ.ชาคริตพาดพิง อย่างไรก็ตาม
จะไม่มีการแถลงข่าวชี้แจงรายละเอียดถึงเรื่องนี้
ยังไม่อยากจะพูดขอติดตามรายละเอียดก่อน
เพราะไม่รู้เรื่องกับการกระทำทั้งหมด
lucky m.
lucky m.
Hero gen.seh member
Hero gen.seh member

จำนวนข้อความ : 2803
Join date : 12/06/2010

ขึ้นไปข้างบน Go down

6 ปีแล้วหรือ...คนไทยได้อะไร ???? (ย้อนรอย...โดยLeeds01 )  Empty Re: 6 ปีแล้วหรือ...คนไทยได้อะไร ???? (ย้อนรอย...โดยLeeds01 )

ตั้งหัวข้อ  lucky m. Sun Aug 26, 2012 8:31 pm

RE: 6 ปีแล้วหรือ...คนไทยได้อะไร ???? (ย้อนรอย...โดยLeeds01 )



ลำดับเหตุการณ์ ตามเวลา ดังนี้

1.เหตุการณ์ทางการเมืองก่อนทำการ รัฐประหารในประเทศไทย 19 กันยายน พ.ศ. 2549
2.เหตุการณ์ทางการเมืองหลังการ รัฐประหารในประเทศไทย 19 กันยายน พ.ศ. 2549 - 30 ธันวาคม 2549
3.เหตุการณ์ทางการเมือง ครึ่งปีแรกของปี2550[6เดือนแรก]
4.เหตุการณ์ทางการเมือง ครึ่งปีหลังของปี 2550[6เดือนหลัง]
6.เหตุการณ์ทางการเมือง ครึ่งปีแรกของปี 2551[6เดือนแรก]
7.เหตุการณ์ทางการเมือง ครึ่งปีหลังของปี 2551[6เดือนหลัง]
8.เหตุการณ์ทางการเมือง ครึ่งปีแรกของปี 2552[6เดือนแรก]
9.เหตุการณ์ทางการเมือง ครึ่งปีหลังของปี 2552[6เดือนหลัง]
10.เหตุการณ์ทางการเมือง ครึ่งปีแรกของปี 2553[6เดือนแรก]
11.เหตุการณ์ทางการเมือง ครึ่งปีหลังของปี 2553[6เดือนหลัง]ปัจจุบัน

ลำดับเหตุการณ์สำคัญ Positioning Magazine ธันวาคม 2548

Added on: 8/12/2548 ลำดับเหตุการณ์ ที่รัฐบาลใช้มาตรการ ?เซ็นเซอร์?
มาใช้ในการยุติรายการเมืองไทยรายสัปดาห์
กลายเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้รายการเมืองไทยรายสัปดาห์ได้รับความนิยมจากคนดู

ปลดฟ้าผ่า เมืองไทยรายสัปดาห์

วันที่ 15 ก.ย.
ผลจากการประชุมบอร์ดของผู้บริหาร อสมท
ในการปรับผังรายการเมื่อช่วงเวลา 14.00 น. ทาง อสมท
แจ้งว่าจะทำการยกเลิกการออกอากาศรายการ ?เมืองไทยรายสัปดาห์?
โดยจะเริ่มตั้งแต่วันศุกร์ที่ 16 กันยายนนี้เป็นต้นไป
ทั้งนี้อ้างเหตุผลว่าการปลดแบบกะทันหันในครั้งนี้ ในช่วงระยะเวลา 1
เดือนที่ผ่านมา
ที่ตัวของผู้ดำเนินรายการได้มีการพูดพาดพิงถึงสถาบันพระมหากษัตริย์

ม็อบนศ.รามฯ ต้าน สนธิ วิจารณ์รัฐบาล

วันที่ 30 ก.ย.
กลุ่มนักศึกษา
ซึ่งอ้างเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง ?กลุ่มรักประชาธิปไตย?
เดินทางมาชุมนุมกันที่บริเวณด้านหน้าสำนักงานหนังสือพิมพ์ผู้จัดการ
ถนนพระอาทิตย์ พร้อมชูแผ่นป้ายโจมตี นายสนธิ ลิ้มทองกุล
กรณีใช้ถ้อยคำรุนแรงในการวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล และพาดพิงถึงบุคคลอื่น
รวมทั้งสถาบันพระมหากษัตริย์

ทักษิณ เปิดฉากฟ้อง สนธิ เรียก 500 ล้าน

วันที่ 3 ต.ค
. นายกฯทักษิณ ส่งทนายความยื่นฟ้อง ไทยเดย์-สนธิ-สโรชา
ฐานหมิ่นประมาท และละเมิด เรียกค่าเสียหาย 500 ล้านบาท
โดยอ้างถึงการกล่าวพาดพิง ให้ร้าย ซึ่งสร้างความเสียหายให้แก่ตนเอง

ทักษิณ ฟ้องอีก เรียก 500 ล้าน

วันที่ 11 ต.ค.
ที่ศาลอาญา และศาลแพ่ง ถนนรัชดาภิเษก เวลา 10.40 น.
พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้มอบหมายให้นายนพดล มีวรรณะ
ผู้รับมอบอำนาจ เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง บริษัท แมเนเจอร์ มีเดีย กรุ๊ป จำกัด
(มหาชน) นางสาวเสาวลักษณ์ ธีรานุจรรยงค์ และนายขุนทอง ลอเสรีวานิช
เป็นจำเลยที่ 1-3 ตามลำดับ ในความผิดฐานหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณา
และความผิดทางแพ่งฐานละเมิด เรียกค่าเสียหาย 500 ล้าน
กรณีตีพิมพ์คำเทศนาของหลวงตามหาบัว ?เทียบทักษิณเทวทัต
ลั่นชีวิตขวางประธานาธิบดี

สมัคร-ดุสิต ยื่นฟ้อง นสพ.ผู้จัดการ

วันที่ 25 ต.ค.
สมัคร สุนทรเวช และดุสิต ศิริวรรณ
นักจัดรายการทางสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 สถานีวิทยุโทรทัศน์ช่อง 9
อสมท และทางวิทยุ FM.94.0 เมกะเฮิรตซ์ ใช้ชื่อรายการว่า
เช้าวันนี้-ที่เมืองไทย รายการ สมัคร-ดุสิต คิดตามวัน และรายการ
ข้อเท็จจริงวันนี้ เป็นโจทก์ยื่นฟ้องนายประสาร มฤคพิทักษ์ นักพูด
นักเขียนบทความ, บริษัท แมเนเจอร์ มีเดีย กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)
ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับสื่อสารมวลชน และนายขุนทอง ลอเสรีวานิช
บรรณาธิการผู้พิมพ์ผู้โฆษณา เป็นจำเลยที่ 1-3 ตามลำดับ
ในข้อหาหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณาด้วยเอกสาร

อิทธิพลมืด! โยนระเบิดขู่หนังสือพิมพ์ผู้จัดการ

วันที่ 3 พ.ย.
เวลา 22.00 น.
เกิดเหตุระเบิดเสียงดังสนั่นภายในบริเวณรั้วของอาคารบ้านพระอาทิตย์
ซึ่งเป็นที่ตั้งของสำนักงานหนังสือพิมพ์ผู้จัดการ ตั้งอยู่เลขที่ 102/1
ถนนพระอาทิตย์ แขวงชนะสงคราม เขตพระนคร กทม. จึงรุดไปตรวจสอบยังที่เกิดเหตุ
พร้อมกำลังเจ้าหน้าที่ฝ่ายสืบสวน โดยผู้เห็นเตุการณ์
ยืนยันว่าเห็นชายลึกลับสองคน เป็นผู้ขว้างระเบิดเข้ามา

ตร. ยโสธร แจ้งความ สนธิ


วันที่ 7 พ.ย. พ.ต.ท.สำเนียง ลือเจียงคำ รอง ผกก.สส.สภ.อ.เมือง จ.ยโสธร
เข้าแจ้งความกล่าวโทษ นายสนธิ ลิ้มทองกุล และ น.ส.สโรชา พรอุดมศักดิ์ 2
ผู้ดำเนินรายการเมืองไทยรายสัปดาห์
ว่าดำเนินรายการโดยมีการกล่าวพาดพิงถึงสถาบันพระมหากษัตริย์
จนได้รับความเสียหาย เข้าข่ายความผิดหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ
ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112

ทักษิณ ฟ้องอีกพันล้าน

วันที่ 17 พ.ย.
ที่ศาลแพ่ง ถ.รัชดาภิเษก นายธนา เบญจาธิกุล
ทนายความ ได้รับมอบอำนาจจาก พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี
เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง บริษัท ไทยเดย์ ด็อท คอม จำกัด, นายศุภชัย วงศ์วรเศรษฐ,
นายจิตตนาถ ลิ้มทองกุล, นายพชร สมุทวณิช, นายขุนทอง ลอเสรีวานิช
ซึ่งเป็นกรรมการบริหาร บ.ไทยเดย์ฯ, นายสนธิ ลิ้มทองกุล, น.ส.สโรชา
พรอุดมศักดิ์ ในฐานะพิธีกรดำเนินรายการเมืองไทยรายสัปดาห์, บริษัท
แมเนเจอร์มีเดีย กรุ๊ป จำกัด (มหาชน), น.ส.เสาวลักษณ์ ธีรานุจรรยงค์
ผู้บริหารแผนฟื้นฟูกิจการของบริษัท, นายปัญจภัทร อังคสุวรรณ
ร่วมกันเป็นจำเลยที่ 1-10
ในความผิดเรื่องละเมิดสืบเนื่องจากกรณีหมิ่นประมาท ระหว่างเดือนก.ย.-พ.ย.
2548
ได้กล่าวหาว่านายกรัฐมนตรีได้วิ่งเต้นเพื่อให้บริษัทครอบครัวได้รับสัมปทาน
ดาวเทียมไ​ทยคม เรียกค่าเสียหายทุนทรัพย์จำนวน 1,000 ล้านบาท

กสท สั่งปิดเว็บไซต์ผู้จัดการ

วันที่ 18 พ.ย.
บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ได้ทำหนังสือถึง บริษัท อินเตอร์เนต
โซลูชั่น แอนด์ โพรวายเดอร์ จำกัด หรือไอเอสเอสพี (ISSP)
ในฐานะผู้ให้บริการรับฝากเครื่องแม่ข่ายคอมพิวเตอร์ (co-location)
ของเว็บไซต์ผู้จัดการ หรือ http://www.manager
ได้ทำหนังสือลงวันที่ 18 พ.ย. 2548 ถึงบริษัท ไทยเดย์ ด็อท คอม จำกัด
ในฐานะเจ้าของเว็บไซต์ผู้จัดการ ให้ระงับการเผยแพร่
หรือปล่อยให้มีการเผยแพร่เฉพาะภาพ เสียง หรือข้อความ
รายการเมืองไทยรายสัปดาห์สัญจร ครั้งที่ 1, 3, 4, 5 และ 7

ภูมิธรรม สั่งจับตาม็อบ สนธิ จุดชนวนขับไล่รัฐบาล

วันที่ 22 พ.ย.
นายภูมิธรรม เวชยชัย รมช.คมนาคม ในฐานะรองเลขาธิการพรรคประชาธิปไตย
สั่งทีมงานรัฐบาลจับตาความเคลื่อนไหว สนธิ ลิ้มทองกุล
ในการจัดรายการเมืองไทยรายสัปดาห์สัญจร ครั้งที่ 9 เมื่อวันที่ 18 พ.ย.
ที่ผ่านมา เพราะหวั่นเกรงว่าจะม็อบใหญ่ที่ออกมาขับไล่รัฐบาล

ศาลยัน สนธิ มุ่งวิจารณ์นายกฯ - ไม่หมิ่นเบื้องสูง

วันที่ 23 พ.ย. ศาลยโสธร สั่งยกคำร้องขออนุมัติหมายจับ สนธิ-สโรชา
ในคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ระบุถ้อยคำใน เมืองไทยรายสัปดาห์
มุ่งวิจารณ์ที่ตัวนายกฯ แม้บางคำเปรียบเทียบพระมหากษัตริย์ และรัชทายาท
ถือว่าไม่บังควร แต่ไม่ถึงกับหมิ่นประมาท หรืออาฆาตมาดร้าย ตามมาตรา 112
พร้อมเปิดทางตำรวจอุทธรณ์คำร้องได้


ทรท.รณรงค์สวมเสื้อ เรารักในหลวง เย้ย สนธิ ใกล้แพแตก

วันที่ 29 พ.ย. ไทย
รักไทยรณรงค์สวมเสื้อสีเหลืองเขียนข้อความ ?เรารักในหลวง? วันที่ 1
ธ.ค.เพื่อฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ศิธา ทิวารี สั่ง สนธิ ถอดเสื้อ
เราจะสู้เพื่อในหลวง ออก ระบุสู้เพื่อตัวเอง เย้ยหยันมันปาก กำลังแพแตก
แนวร่วมกำลังตีจาก
พร้อมอ้างผู้ใหญ่ที่ใกล้ชิดสถาบันเบื้องสูงไฟเขียวให้ชี้แจงประชาชน
อ้ำอึ้งแจงตารางเที่ยวบินเมล์ ซี-130 ขนเพื่อนน้องสาว ทักษิณ
ยันจะขึ้นลงที่ไหนก่อนหลังขึ้นอยู่กับความพอใจของนักบิน

โดนมือปาอุจจาระใส่สำนักงาน

วันที่ 2 ธันวาคม 2548
ถูกชายฉกรรจ์ 4 คน
บุกปาอุจจาระใส่อาคารสำนักงาน หนังสือพิมพ์ "ผู้จัดการ" ช่วงเวลาตี 3 กว่าๆ
ของวันที่ 2 ธันวาคม 2548
เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นหลังจากที่เคยโดนเหตุระเบิดเมื่อวันที่ 3
พฤศจิกายน 2548
lucky m.
lucky m.
Hero gen.seh member
Hero gen.seh member

จำนวนข้อความ : 2803
Join date : 12/06/2010

ขึ้นไปข้างบน Go down

6 ปีแล้วหรือ...คนไทยได้อะไร ???? (ย้อนรอย...โดยLeeds01 )  Empty Re: 6 ปีแล้วหรือ...คนไทยได้อะไร ???? (ย้อนรอย...โดยLeeds01 )

ตั้งหัวข้อ  lucky m. Sun Aug 26, 2012 8:32 pm

RE: 6 ปีแล้วหรือ...คนไทยได้อะไร ???? (ย้อนรอย...โดยLeeds01 )
( เว้นวรรค การประชุมบ้านไฮโซเพื่อวางแผนล้มทักษิณ)Blush



ในปี พ.ศ. 2549 นายอภิสิทธิ์ได้ลงนามร่วมกับนักวิชาการและประชาชนจำนวนหนึ่ง เพื่อทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาขอนายกรัฐมตรีพระราชทาน โดยอาศัยความตาม มาตรา 7 (ม.7) ของรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 ต่อมาได้มีพระบรมราชวินิจฉัยว่ากรณีดังกล่าวไม่เป็นประชาธิปไตย ทำให้นายอภิสิทธิ์ที่มีชื่อเล่นว่า "มาร์ค" ถูกสื่อมวลชนตั้งฉายาว่า "มาร์ค ม.7" ในกรณีดังกล่าวนายอภิสิทธิ์ได้เคย ให้เหตุผลที่ตัดสินใจร่วมถวายฎีกาไว้ว่า เป็นการพยายามหาทางออกที่ดีที่สุด ให้กับสถานการณ์การเมืองที่ ถึงทางตันและในที่สุดก็เกิดการรัฐประหารรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ซึ่งเป็นการแก้ปัญหา ทางตันอีกวิธีหนึ่ง ที่โดยหลักการแล้วไม่ได้รับการยอมรับอย่างยิ่งในสังคมประชาธิปไตย

. ก่อนรัฐประหาร
?ตอนสายของวันที่ 9 กันยายน - พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร รักษาการนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ขึ้นเครื่องที่ บน.6 เพื่อเดินทางไปประเทศทาจิกิสถาน ท่ามกลางการอารักขาของหน่วยทหารพร้อมอาวุธสงคราม เนื่องจากก่อนหน้านี้ไม่นานมีความพยายามลอบสังหารรักษาการนายกรัฐมนตรี (คาร์บอมบ์)
?10 กันยายน - พ.ต.ท.ทักษิณ เดินทางถึงกรุงเฮลซิงกิ ประเทศฟินแลนด์ เพื่อเข้าร่วมประชุมอาเซม มีข่าวลือเรื่องปฏิวัติหนาหูขึ้น พ.ต.ท.ทักษิณ บอกกับนักข่าวว่าเป็นเพียงการปล่อยข่าว ในขณะที่เมืองไทย รองปลัดกระทรวงกลาโหม พล.ร.อ. บรรณวิทย์ เก่งเรียน แสดงความไม่พอใจอย่างมากต่อการแทรกแซงโผย้ายทหารของรัฐบาลและ พล.อ. ธรรมรักษ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา
?11 กันยายน - พ.ต.ท.ทักษิณ และคณะ เดินทางไปพักผ่อนที่อังกฤษ เนื่องจากเกิดเป็นไข้ขึ้นมากะทันหัน หลังเสร็จการประชุมอาเซมที่ประเทศฟินแลนด์ เพื่อเตรียมตัวร่วมประชุมกลุ่มประเทศไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดที่ประเทศคิวบา
[ภาพ: sondhi_boonyaratkalin.jpg]
?13 กันยายน - พล.อ.สนธิ บุณยรัตกลิน ผู้บัญชาการทหารบก ให้สัมภาษณ์ว่าทหารไม่คิดปฏิวัติ
?15 กันยายน - พ.ต.ท.ทักษิณ ให้สัมภาษณ์นักข่าวระหว่างเดินทางไปประเทศคิวบาว่าอาจจะเว้นวรรคทางการเมือง

ที่มา wikipedia.org
lucky m.
lucky m.
Hero gen.seh member
Hero gen.seh member

จำนวนข้อความ : 2803
Join date : 12/06/2010

ขึ้นไปข้างบน Go down

6 ปีแล้วหรือ...คนไทยได้อะไร ???? (ย้อนรอย...โดยLeeds01 )  Empty Re: 6 ปีแล้วหรือ...คนไทยได้อะไร ???? (ย้อนรอย...โดยLeeds01 )

ตั้งหัวข้อ  lucky m. Sun Aug 26, 2012 8:33 pm

RE: 6 ปีแล้วหรือ...คนไทยได้อะไร ???? (ย้อนรอย...โดยLeeds01 )
รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
[ภาพ: 512px-thai_coup_soldier.jpg][ภาพ: 800px-bkk24090618.jpg]


รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549 เป็นการก่อรัฐประหารในประเทศไทย ซึ่งเกิดขึ้นในคืนวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 นำโดย คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ซึ่งมีพลเอก สนธิ บุญยรัตกลินเป็นหัวหน้าคณะ โดยโค่นล้มรักษาการนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ซึ่งนับเป็นการก่อรัฐประหารเป็นครั้งแรกในรอบ 15 ปี รัฐประหารครั้งนี้เกิดขึ้นก่อนการเลือกตั้งทั่วไปในเดือนต่อมา หลังจากที่การเลือกตั้งเดือนเมษายนถูกตัดสินให้เป็นโมฆะ นับเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญในวิกฤตการณ์ทางการเมืองที่ดำเนินมายาวนานนับตั้งแต่เดือนกัน​ยายน พ.ศ. 2548 คณะรัฐประหารได้ยกเลิกการเลือกตั้งในเดือนตุลาคม ยกเลิกรัฐธรรมนูญ สั่งยุบสภา สั่งห้ามการประท้วงและกิจกรรมทางการเมือง ยับยั้งและเซ็นเซอร์สื่อ ประกาศใช้กฎอัยการศึก และจับกุมสมาชิกคณะรัฐมนตรีหลายคน

พลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน ได้แถลงเมื่อวันที่ 21 กันยายน ถึงสาเหตุในการยึดอำนาจและให้คำมั่นว่าจะฟื้นฟูรัฐบาลภายใต้ระบอบประชาธิปไตยภายในหน​ึ่งปี อย่างไรก็ตาม คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขประกาศว่า หลังจากการเลือกตั้งและการจัดตั้งรัฐบาลประชาธิปไตยแล้ว คณะปฏิรูปการปกครองจะเปลี่ยนไปอยู่ในรูปแบบของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ ซึ่งยังไม่มีการอธิบายถึงบทบาทที่มีต่อการเมืองไทยในอนาคต[1]

ภายหลังรัฐประหาร คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขได้จัดตั้งรั​ฐบาลชั่วคราว โดยมี พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ต่อมาวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2550 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ประกาศเลิกใช้กฎอัยการศึก ใน 41 จังหวัด แต่ยังคงไว้ 35 จังหวัด[2]

รัฐประหารดังกล่าวไม่มีการเสียเลือดเนื้อและไม่มีรายงานผู้ได้รับบาดเจ็บ ปฏิกิริยาตอบรับจากนานาชาติมีตั้งแต่การวิพากษ์วิจารณ์ในหลายประเทศ เช่น ออสเตรเลีย การแสดงความความเป็นกลาง เช่น สาธารณรัฐประชาชนจีน ไปจนถึงการแสดงความผิดหวังอย่างสหรัฐอเมริกา ซึ่งถือว่าประเทศไทยเป็นพันธมิตรนอกนาโต และกล่าวว่า การก่อรัฐประหารนั้น "ไม่มีเหตุผลที่ยอมรับได้"[3]

เหตุการณ์

ชนวนเหตุ
พลเอก สนธิ บุญรัตกลิน เปิดเผยว่าได้ใช้เวลาประมาณ 7 เดือนในการเตรียมการก่อรัฐประหาร ซึ่งหมายความว่าเริ่มวางแผนในราวเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549[4][5][6] ซึ่งเป็นห้วงเวลาเดียวกับที่มีการเปิดตัวพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ซึ่งเดิมทีแล้ว พลเอก สนธิ บุญยรัตกลินเคยรับประกันว่าจะไม่มีการยึดอำนาจของฝ่ายทหาร เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2549

ในเดือนกรกฎาคม แม่ทัพภาคที่ 3 พลเอก สพรั่ง กัลยาณมิตร ได้ให้สัมภาษณ์ว่าการเมืองไทยอยู่ในระดับต่ำกว่ามาตรฐาน และความเป็นผู้นำที่อ่อนแอ เขายังกล่าวอีกว่าประเทศไทยมีระบอบประชาธิปไตยที่ไม่ถูกต้อง เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม นักเคลื่อนไหวประชาธิปไตย ทวีวุฒิ จุลวัจนะ ได้โพสต์จดหมายเปิดผนึกบนเว็บบอร์ดการเมืองที่เป็นที่นิยมที่สุดในประเทศไทย โดยอ้างอิงจากแหล่งข้อมูลทางทหาร กล่าวว่า กองทัพและสนธิ ลิ้มทองกุลกำลังสมคบคิดในการวางแผนล้มล้างรัฐบาลทักษิณ และคืนอำนาจให้กับประชาชน หลังจากการปฏิรูปประเทศแล้ว[7] เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม นายทหารกองทัพบกระดับกลางกว่าร้อยนาย ซึ่งถูกมองว่าเป็นผู้สนับสนุนของ พ.ต.ท. ทักษิณ ถูกบรรจุใหม่โดยกองบัญชาการทหารสูงสุด ทำให้มีข่าวลือว่ากองทัพแบ่งแยกออกเป็นฝ่ายที่สนับสนุนและฝ่ายที่ต่อต้านนายกรัฐมนตร​ี

ต่อมา ในเดือนสิงหาคม มีรายงานเคลื่อนไหวของรถถังใกล้กับกรุงเทพมหานคร แต่ฝ่ายทหารกล่าวว่าเป็นการฝึกซ้อมตามกำหนดการ[8] เมื่อต้นเดือนกันยายน ตำรวจไทยได้จับกุมนายทหารกองทัพบกจำนวน 5 นาย ซึ่งมีตำแหน่งในกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน หลังจากที่สามารถตรวจพบว่าหนึ่งในคณะนายทหารมีระเบิดซุกซ่อนอยู่ในรถ ซึ่งมีเป้าหมายมุ่งหน้าไปยังที่พักของนายกรัฐมนตรีตามข้อกล่าวหา[9] ซึ่งสามในห้าของผู้ที่ถูกจับกุมถูกปล่อยตัวหลังจากการก่อรัฐประหาร[10]

พฤศจิกายน 2549 สองเดือนหลังจากรัฐประหาร คมช. ได้ออก "สมุดปกขาว"[11] ชี้แจงสาเหตุของการก่อรัฐประหารยึดอำนาจโดยมีสาระสำคัญ ได้แก่ การทุจริตผลประโยชน์ทับซ้อน การใช้อำนาจในทางมิชอบ การละเมิดจริยธรรมคุณธรรมของผู้นำประเทศ การแทรกแซงระบบการตรวจสอบทางการเมืองตามรัฐธรรมนูญ ข้อผิดพลาดเชิงนโยบายที่นำไปสู่การละเมิดสิทธิเสรีภาพและการบ่อนทำลายความสามัคคีของ​คนในชาติ[12]

อย่างไรก็ตาม บทวิเคราะห์จากหลายฝ่ายชี้ให้เห็นว่ายังมีสาเหตุอีกบางประการนอกเหนือจากเหตุผลของ คมช. ที่นำมาสู่รัฐประหาร เช่น ความขัดแย้งทางอำนาจที่เห็นได้จากการโยกย้ายนายทหารประจำปี รวมไปถึงความขัดแย้งระหว่าง พ.ต.ท.ทักษิณ กับประธานองคมนตรี[13]
lucky m.
lucky m.
Hero gen.seh member
Hero gen.seh member

จำนวนข้อความ : 2803
Join date : 12/06/2010

ขึ้นไปข้างบน Go down

6 ปีแล้วหรือ...คนไทยได้อะไร ???? (ย้อนรอย...โดยLeeds01 )  Empty Re: 6 ปีแล้วหรือ...คนไทยได้อะไร ???? (ย้อนรอย...โดยLeeds01 )

ตั้งหัวข้อ  lucky m. Sun Aug 26, 2012 8:34 pm

RE: 6 ปีแล้วหรือ...คนไทยได้อะไร ???? (ย้อนรอย...โดยLeeds01 )
[ภาพ: 21438_010.jpg]
พล.ต.ประพาศ ศกุนตนาค อ่านแถลงการณ์คณะปฏิรูปการปกครองฯ

ดูบทความหลักที่ ลำดับเหตุการณ์รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549

เช้าวันที่ 19 กันยายน มีคำสั่งจาก พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เรียกผู้นำทุกเหล่าทัพเข้าประชุมร่วมกับคณะรัฐมนตรีที่ทำเนียบรัฐบาล แต่ไม่มีผู้นำเหล่าทัพคนใดเข้าร่วม ยกเว้น พล.ต.อ. โกวิท วัฒนะ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ทำให้ช่วงบ่ายมีกระแสข่าวลือการปฏิวัติรัฐประหารแพร่สะพัดไปทั่วทำเนียบรัฐบาลและตลา​ดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย มีข่าวลือว่ารัฐมนตรีและนักการเมืองร่วมรัฐบาลหลายคนได้หลบหนีออกนอกประเทศแล้ว ช่วงพลบค่ำมีข่าวว่ากำลังทหารหน่วยรบพิเศษจาก จ.ลพบุรี เคลื่อนกำลังเข้ากรุงเทพฯ

เวลา 18.00 น. นายสมชาย มีเสน ผู้จัดรายการวิทยุ F.M. 92.25 MHz นัดผู้ฟังรายการจำนวนหนึ่งเข้าพบ พล.อ.สนธิ ที่หน้ากองบัญชาการกองทัพบก (บก.ทบ.) เพื่อขอให้ทหารให้ความคุ้มครองกลุ่มผู้ชุมนุมพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยที่จะช​ุมนุมขับไล่ พ.ต.ท.ทักษิณ วันพรุ่งนี้

ประมาณ 21.00 น. กำลังทหารจากพลร่มป่าหวาย หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ เข้ามาประจำการที่กองบัญชาการกองทัพบก

เวลา 22.00 น. ขบวนรถถังเคลื่อนเข้าคุมเชิงที่สะพานมัฆวานรังสรรค์และ ถ.ราชดำเนินไม่กี่นาทีต่อมา ทหารจำนวนมากออกมาตรึงกำลังตามถนนต่าง ๆ ตั้งแต่แยกเกียกกาย ผ่านมาถึง ถ.ราชสีมา บริเวณสวนรื่นฤดี สี่แยกราชตฤณมัยสมาคม (สนามม้านางเลิ้ง) โดยมีทหารแต่งกายลายพรางเต็มยศเป็นผู้ควบคุมกำลัง

เวลา 22.54 น. โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทยออกอากาศทางสถานีทุกช่อง ขึ้นคำประกาศของคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประ​มุข พร้อมขออภัยในความไม่สะดวก และเปิดเพลง "ความฝันอันสูงสุด" ประกอบ ด้านสถานีโทรทัศน์ซีเอ็นเอ็นและบีบีซีเผยแพร่ข่าวรถถังและกำลังทหารควบคุมสถานการณ์ภ​ายในกรุงเทพมหานคร[14] หลังจากนั้น พล.ต.ประพาศ ศกุนตนาค อดีตโฆษก ททบ.5 ได้อ่านแถลงการณ์คณะปฏิรูปการปกครองฯ ที่แสดงไว้ในหน้าจอก่อนหน้านี้ซ้ำถึงสองครั้ง

เกือบเที่ยงคืน ผู้บัญชาทหารทุกเหล่าทัพเข้าเฝ้าฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต


การกะเวลาก่อรัฐประหาร

ในภายหลัง พลเอกสนธิ ได้ให้สัมภาษณ์ครั้งหนึ่งว่า การก่อรัฐประหารเดิมถูกวางแผนให้ดำเนินการเมื่อวันที่ 20 กันยายน เพื่อให้ตรงกับการเดินขบวนต่อต้านรัฐบาลครั้งใหญ่ที่กำหนดเอาไว้ล่วงหน้า เขาได้กล่าวอ้างถึง "ตัวอย่างที่เกิดขึ้นในโปรตุเกส" ซึ่งได้มีการเดินขบวนต่อต้านรัฐบาล พร้อมกับการก่อการปฏิวัติโดยกองทัพ ซึ่งโค้นล่มพระเจ้ามานูเอลที่ 2 แห่งโปรตุเกส และจัดตั้งสาธารณรัฐโปรตุเกสที่หนึ่ง การก่อรัฐประหารถูกเลื่อนขึ้นมาเป็นวันที่ 19 กันยายน ขณะที่รักษาการนายกรัฐมนตรียังคงปฏิบัติหน้าที่อยู่ในนิวยอร์ก พลเอกสนธิยังได้กล่าวอีกว่า ครั้งหนึ่งที่ พ.ต.ท. ทักษิณกำลังรับประทานอาหารกลางวันกับผู้บัญชาการทหารสูงสุด เขาได้ถามพลเอกสนธิว่า "คุณจะปฏิวัติผมหรือเปล่า" ซึ่งพลเอกสนธิก็ตอบว่า "ใช่"[15] ซึ่งเป็นเรื่องที่ขัดแย้งกับแถลงการณ์ต่อสาธารณะซึ่งเขาปฏิเสธว่ากองทัพจะก่อการรัฐป​ระหาร[16]

เดอะ เนชั่น ยังได้มีข้อสังเกตถึงการกะเวลาของการก่อรัฐประหาร โดยมีหลายกรณีที่เดียวข้องกับเลข 9 ซึ่งเป็นเลขมงคลอย่างยิ่งตามความเชื่อ การก่อรัฐประหารครั้งนี้เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 19 เดือน 9 ปีพุทธศักราช 2549 หัวหน้าคณะรัฐประหาร พลเอก สนธิ บุญยรัตกลินได้ประกาศต่อสาธารณชนหลังจากการก่อรัฐประหารเมื่อเวลา 9.39 น.[17]


ปฏิกิริยาของฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายคณะรัฐประหาร

ฝ่ายรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร

เวลา 22.15 น. วันที่ 19 กันยายน พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้ออกแถลงการณ์สถานการณ์ฉุกเฉินในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร ผ่านดาวเทียม จากประเทศสหรัฐอเมริกา เผยแพร่ทางสถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ทีวี แต่เมื่ออ่านแถลงการณ์ได้ 3 ฉบับ ก็มีกำลังทหารพร้อมอาวุธกลุ่มหนึ่งบุกเข้าไปยังสถานีฯ พร้อมออกคำสั่งให้หยุดการแพร่ภาพโดยทันที เป็นผลให้เจ้าหน้าที่สถานีฯ ต้องตัดสัญญาณการแถลงข่าวลงทันที[18]

จากนั้น พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ได้ปรับกำหนดการที่จะขึ้นแถลงต่อสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ แต่แล้วก็ยกเลิกการขึ้นแถลง จากนั้นจึงขึ้นเครื่องบินเที่ยวพิเศษ เดินทางออกจากนิวยอร์ก ไปกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เมื่อเวลา 16.00 น. วันที่ 20 กันยายน ตามเวลาในประเทศไทย

มีข่าวว่าอดีตรัฐมนตรีในรัฐบาลของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร กำลังเดินทางไปสมทบกันที่ประเทศสิงคโปร์ เพื่อหารือในการตั้งครม.พลัดถิ่น โดยจะขอให้สหประชาชาติให้การรับรอง

ในที่ประชุมแกนนำ คปค. เมื่อวันที่ 23 กันยายน ในที่ประชุมได้กล่าวถึงการติดต่อจาก พ.ต.ท.ทักษิณ จากประเทศอังกฤษ เข้ามายังคณะปฏิรูปการปกครองฯ ด้วยว่า พ.ต.ท.ทักษิณได้ให้การยืนยันทางโทรศัพท์กับพลเอกสนธิ โดยระบุว่าพร้อมจะยุติการเคลื่อนไหวทางการเมืองในทุกกรณี และได้แจ้งให้รัฐมนตรีและสมาชิกพรรคไทยรักไทยทุกคนรับทราบ พร้อมจะปฏิบัติตามคำสั่งของหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองฯ ทุกประการ และจะพักผ่อนกับครอบครัวในต่างประเทศ จนกว่าจะมีการตั้งนายกรัฐมนตรีคนใหม่ จึงจะเดินทางกลับประเทศไทย[19]


ฝ่ายคณะรัฐประหาร

พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ผบ.ทบ.ในฐานะหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็​นประมุข กล่าวชี้แจงต่อคณะทูตานุทูตจำนวน 43 ประเทศ ที่หอประชุมกิตติขจร ถึงการประกาศยึดอำนาจจากรัฐบาลพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ว่า การประกาศยึดอำนาจเพื่อนำไปสู่การปฏิรูปการปกครองประเทศ เป็นไปด้วยความเรียบร้อย และได้รับความร่วมมือจากประชาชน และสังคมเป็นอย่างดี โดยคาดว่าจากนี้ไปอีก 2 สัปดาห์จะสามารถจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ และสรรหานายกรัฐมนตรีขึ้นมารักษาการแทน และจัดตั้งสภานิติบัญญัติ เพื่อนำไปสู่การร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่

พล.อ.สนธิ กล่าวว่า จะยึดมั่นในหลักกฎบัตรสหประชาชาติและองค์กรระหว่างประเทศอื่น ๆ เพื่อผลประโยชน์ของชาติ พร้อมทั้งรักษาไว้ซึ่งสิทธิและจะปฏิบัติตามพันธกรณีในสนธิสัญญาหรือข้อตกลงที่ทำไว้ก​ับนานาประเทศ ภายใต้หลักเกณฑ์แห่งความเสมอภาคโดยเคร่งครัด และจะส่งเสริมและรักษาไว้ซึ่งความสัมพันธ์อันดีที่มีอยู่ สำหรับชาวต่างประเทศ คณะทูตานุทูต กงสุล สถานเอกอัครราชทูต และองค์การระหว่างประเทศที่ตั้งอยู่ในประเทศไทยจะได้รับการคุ้มครอง

จากนั้น พล.อ.สนธิ เปิดโอกาสให้สื่อมวลชนทั้งไทย และต่างประเทศ ซักถาม โดยยืนยันว่าจะปฏิบัติหน้าที่ไม่เกิน 2 สัปดาห์ และใช้เวลาไม่เกิน 1 ปีในการยกร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ ในราวต้นเดือนตุลาคม พ.ศ. 2550 และกำลังอยู่ระหว่างการสรรหาผู้ที่เหมาะสมจะมารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีรักษาการ ซึ่งจะมาจากคนกลางที่รักประชาธิปไตย และเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์

สำหรับการดำเนินการกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีนั้น จะเป็นไปตามกระบวนการยุติธรรม ตามที่ก่อนหน้านี้มีผู้ฟ้องร้องดำเนินคดีไว้ แต่ไม่มีแนวคิดที่จะตั้งคณะกรรมการขึ้นมาตรวจสอบบัญชีทรัพย์สินเหมือนที่เกิดขึ้นในย​ุค รสช. และยังไม่มีแนวคิดยึดหุ้นชินคอร์ป (SHIN) คืนจากกลุ่มเทมาเส็ก และจะประกาศยกเลิกคณะปฏิรูปการปกครองฯ ทันทีเมื่อสถานการณ์บ้านเมืองเข้าสู่ภาวะปกติ[20]

สำหรับพลเรือนที่มีข่าวว่าได้รับการทาบทามให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐบาล ได้แก่ นายอักขราทร จุฬารัตน, นายศุภชัย พานิชภักดิ์, หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เทวกุล, นายสุเมธ ตันติเวชกุล, พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์, นายชาญชัย ลิขิตจิตถะ, นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์, นายเกริกไกร จีระแพทย์, นายไกรศักดิ์ ชุณหะวัณ, พลเอกปานเทพ ภูวนารถนุรักษ์

ทันทีภายหลังการรัฐประหาร คณะรัฐประหารได้แต่งตั้ง โยกย้าย และถอดถอนบุคคลจำนวนมาก โดยส่วนใหญ่เป็นตำแหน่งใน กองบัญชาการคณะปฏิรูปการปกครอง คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินและคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ รวมถึงข้าราชการและทหารตำรวจระดับสูงที่ใกล้ชิดกับรัฐบาลทักษิณและมีการเรียกให้อดีต​รัฐมนตรีของรัฐบาลทักษิณเข้ารายงานตัว สำหรับรายชื่อบุคคลทั้งหมด ดูได้ที่ รายชื่อบุคคลที่ได้รับการแต่งตั้งถอดถอนหรือควบคุมโดยคปค.
[ภาพ: 800px-bkk24090613.jpg][ภาพ: 450px-bkk24090602.jpg]
อาหารที่ประชาชนผู้สนับสนุนนำมาให้กับทหารประชาชนจำนวนหนึ่งออกมาให้กำลังใจทหารที่จ​ุดต่าง ๆ โดยเฉพาะบริเวณกองบัญชาการกองทัพบก ภายหลังการยึดอำนาจของคณะปฏิรูปฯ โดยแสดงความชื่นชมเหล่าทหาร ด้วยการมอบดอกไม้ ส่งยิ้ม ถ่ายรูปด้วย แม้กระทั่งมีการพ่นสีข้อความว่า "พล.อ.สนธิ วีรบุรุษชาวไทย" และ"กองทัพเพื่อประชาชน" บนตัวถังรถยนต์บีเอ็มดับเบิลยู ซีรีส์ 7 เป็นต้น นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติจำนวนหนึ่ง ในบริเวณถนนราชดำเนิน ให้สัมภาษณ์ว่าไม่ตื่นตะหนก และร่วมถ่ายรูปกับทหารและรถถัง (ซึ่งประดับด้วยดอกไม้ที่ประชาชนมอบให้) เป็นที่ระลึก หรือ มอบน้ำ อาหาร ให้แก่ทหารด้วย[21]
ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวชื่นชมว่า "จากที่ดูภาพในซีเอ็นเอ็น เป็นการยึดอำนาจที่เรียบร้อยที่สุด ไม่มีเสียเลือดเสียเนื้อ เราก็รู้สึกสบายใจว่ามันคงไม่กระทบความเชื่อมั่น เพราะการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ประชาชนยอมรับ ขณะที่ต่างชาติก็รู้สึก ไม่น่าจะมีผลกระทบต่อการลงทุน"[22]
สวนดุสิตโพล ได้สอบถามความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ จำนวน 2,019 คน ในวันที่ 20 ก.ย. 49 พบว่าประชาชน 83.98% จากกลุ่มสำรวจ เห็นด้วยกับรัฐประหารในครั้งนี้ เนื่องจากเห็นว่าจะการเมืองจะเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น ส่วนประชาชนที่ไม่เห็นด้วย มีความเห็นว่าภาพลักษณ์ของประเทศอาจตกต่ำลง[23] ผลสำรวจแตกต่างจากโพลสำรวจการเลือกตั้งเดือนตุลาคม พ.ศ. 2549 ซึ่งมีผู้สนับสนุนพรรคไทยรักไทยถึง 49%[24]
กลุ่มนักธุรกิจทั่วประเทศแสดงความคิดเห็นโดยส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการปฏิรูปการปกครองค​รั้งนี้ โดยเชื่อว่าเศรษฐกิจกระทบบ้างแต่ชั่วคราว และจะสยบความวุ่นวายของประเทศ นักธุรกิจในกลุ่มนี้ เช่น นายสุรศักดิ์ วงศ์มังกร อดีตประธานหอการค้าจังหวัดมหาสารคาม, นายทวิสันต์ โลณารักษ์ ประธานหอการค้าจังหวัดนครราชสีมา, นายนิพนธ์ สุวรรณนาวา ที่ปรึกษาหอการค้า จ.ประจวบคีรีขันธ์, นายรุ่งโรจน์ สีเหลืองสวัสดิ์ ที่ปรึกษาสมาคมโรงแรมไทยภาคตะวันตก และสมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวหัวหิน-ชะอำ, นายบุญธรรม ทิพย์ประสงค์ รองประธานหอการค้า จ.เชียงราย, นายประทีป พงษ์วิทยภานุ ประธานหอการค้าจังหวัดกาญจนบุรี, นายชุมพร เตละวัฒนะวรรณา ประธานศูนย์ประสานงานเครือข่ายภาคประชาชนจังหวัดพระนครศรีอยุธยา, นายธนารักษ์ พงษ์เภตรา เลขาธิการสภาอุตสาหกรรมภาคใต้, นายธนารักษ์ พงษ์เภตรา เลขาธิการสภาอุตสาหกรรมภาคใต้, นายอาทิตย์ ลิ้มอุดมพร ประธานหอการค้าจังหวัดชุมพร, นายประยูร สงค์ประเสริฐ นายกสมาคมชาวสวนกาแฟไทย เป็นต้น[25]
lucky m.
lucky m.
Hero gen.seh member
Hero gen.seh member

จำนวนข้อความ : 2803
Join date : 12/06/2010

ขึ้นไปข้างบน Go down

6 ปีแล้วหรือ...คนไทยได้อะไร ???? (ย้อนรอย...โดยLeeds01 )  Empty Re: 6 ปีแล้วหรือ...คนไทยได้อะไร ???? (ย้อนรอย...โดยLeeds01 )

ตั้งหัวข้อ  lucky m. Sun Aug 26, 2012 8:35 pm

ฝ่ายคัดค้าน
6 ปีแล้วหรือ...คนไทยได้อะไร ???? (ย้อนรอย...โดยLeeds01 )  800px-bkk22090601
วันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2549 ในช่วงเที่ยงวัน ร.ต.ฉลาด วรฉัตร และ นายทวี
ไกรคุปต์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
ทำการประท้วงการรัฐประหารที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย บริเวณถนนราชดำเนิน
นายทวีกางป้ายขนาดใหญ่สองป้ายระบุว่า "กระผม นายทวี ไกรคุปต์
ขออดข้าวประท้วงผู้ที่ล้มล้างประชาธิปไตย ทำให้บ้านเมืองถอยหลังและแตกแยก"
พร้อมทั้งทำการแจกจ่ายจดหมายเปิดผนึกของตนให้กับบรรดาสื่อมวลชนด้วย
ในเวลาต่อมาได้มีเจ้าหน้าที่ทหารเชิญตัว ร.ต.ฉลาด ขึ้นรถมิตซูบิชิ
ที่มีรถบัสทหารติดตามระบุ ร.๑ พัน๑ รอ. ไปที่หน่วยบังคับบัญชา จากนั้น 3
ชั่วโมง เจ้าหน้าที่ทหารจำนวน 7 นาย
ได้ล็อกตัวนายทวีขึ้นรถตู้สีขาวและขับออกไปทันที
โดยระหว่างขึ้นรถนายทวีมีอาการขัดขืน
จากนั้นทหารบางส่วนได้เข้าเก็บป้ายประท้วงออกจากอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย[27]

ศูนย์ข่าวสารกิจกรรมนักศึกษาประณามรัฐบาลเผด็จการทหารว่าเป็น การ "ฉีก"
รัฐธรรมนูญฉบับที่ประชาชนได้มีส่วนร่วมกันการร่างมากที่สุด
การปิดหูปิดตาประชาชนด้วยการควบคุมสื่ออย่างเบ็ดเสร็จ,
รวมไปถึงการลิดรอนสิทธิเสรีภาพของประชาชนและได้เรียกร้องประชาชนร่วมกันใส่
ชุดดำหรือ​ปลอกแขนดำเพื่อไว้อาลัยประชาธิปไตย[28]

กลุ่มนักศึกษาล้อการเมืองธรรมศาสตร์ ได้ขึ้นป้ายคัตเอาต์ขนาดใหญ่ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต คัดค้านการรัฐประหาร[29]

กลุ่มองค์กรที่เรียกตัวเองว่า "เครือข่าย 19 กันยา ต้านรัฐประหาร"
มีการชุมนุมและกล่าวแถลงการณ์ที่หน้าศูนย์การค้าสยามพารากอน
เมื่อวันศุกร์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2549 เวลา 18.00 น.
ซึ่งศูนย์ข่าวสารกิจกรรมนักศึกษาได้เข้าร่วมการชุมนุมด้วยและกล่าวว่าพวกเขา
จะยื่นแถ​ลงการณ์ต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเพื่อเรียกร้องให้ปกป้อง
สิทธิ์ในการชุมนุม​ที่หน้าสยามพารากอน
โดยเห็นว่ารัฐบาลชั่วคราวขาดความชอบธรรม
และเรียกร้องให้มีการจัดการเลือกตั้งตามครรลองประชาธิปไตย
ที่จะนำไปสู่การปฏิรูปการเมืองได้อย่างแท้จริง
กลุ่มผู้ประท้วงที่สยามสแควร์ เมื่อวันที่ 22 กันยายน พ.ศ.
2549หลังจากเหตุการณ์รัฐประหาร
การประท้วงครั้งแรกมีขึ้นที่หน้าห้างสยามเซ็นเตอร์ เมื่อเย็นวันศุกร์ที่ 22
กันยายน พ.ศ. 2549 โดยมีผู้ประท้วงประมาณ 20-100
คนหรือมากกว่า[30][31][32][33][34][35][36][37]
ผู้ประท้วงแต่งชุดดำเพื่อไว้อาลัยให้กับประชาธิปไตย
และได้เชิญชวนให้ประชาชนที่คัดค้านการรัฐประหารใส่เสื้อดำในการประท้วง[38])
ป้ายประท้วงมีข้อความ "No to Thaksin. No to coup" ("ไม่เอาทักษิณ
ไม่เอารัฐประหาร") และ "Don't call it reform - it's a coup"
("นี่ไม่ใช่การปฏิรูป แต่เป็นการรัฐประหาร")
มีป้ายหนึ่งเป็นรูปอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย มีกำกับว่า "On vacation again"
("งดใช้ชั่วคราว") รองศาสตราจารย์ใจ อึ๊งภากรณ์ หนึ่งในผู้ประท้วง กล่าวว่า

"เราเชื่อว่าเราเป็นกระบอกเสียงของคนไทยอีกมากที่ยังเป็นห่วงหรือที่ยังกลัว
ที่จะพูดอ​อกมา" การประท้วงครั้งนี้ไม่มีผู้ใดถูกจับกุม
แต่ตำรวจนายหนึ่งกล่าวว่า "ตำรวจได้บันทึกวิดีโอการประท้วงไว้เป็นหลักฐาน
และจะตรวจสอบเทปเพื่อหาผู้ที่ละเมิดกฎอัยการศึก คือ
มีการชุมนุมทางการเมืองมากกว่า 5 คน"
ไม่มีใครรู้ว่าตำรวจหรือทหารได้จับกุมเขาเหล่านั้นในเวลาต่อมาหรือไม่
ไม่มีสถานีโทรทัศน์ไทยช่องใดรายงานเรื่องการประท้วงครั้งนี้[38]
หนังสือพิมพ์ The Independent
รายงานว่าตำรวจติดอาวุธหลายนายได้ฝ่าฝูงชนและผู้ชุมนุมเข้าจับกุมผู้ประท้วง
ซึ่งเป็น​นักศึกษาหญิงไม่ทราบชื่อคนหนึ่งซึ่งนับเป็นผู้ประท้วงคนแรก
ขณะกำลังอ่านแถลงการณ์ต่อต้านการทำรัฐประหาร
โดยมีตำรวจนายหนึ่งได้ใช้ปืนกระแทกเข้าที่บริเวณท้องของเธอและทำการจับกุม
ในขณะที่ผู้ประท้วงหลายคนต่างพยายามฉุดเธอกลับ
ซึ่งในปัจจุบันยังไม่ใครทราบชะตากรรมของเธอ[39]

วันจันทร์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2549 เวลา 17.00 น.
กลุ่มประท้วงกลุ่มที่สองซึ่งประกอบด้วยผู้ประท้วงจำนวน 50-60 คน
ได้มาชุมนุมกันที่ลานปรีดี หน้าตึกโดมมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
เพื่ออภิปรายคัดค้านการรัฐประหาร และจัดเสวนาในหัวข้อ
"ทำไมเราต้องคัดค้านรัฐประหาร?" ซึ่งจัดโดยศิษย์เก่าและศิษย์ปัจจุบันของ
ม.ธรรมศาสตร์ในชื่อ"กลุ่มโดมแดง", เครือข่ายนิสิตจุฬาฯ เพื่อเสรีภาพ,
นิสิตนักศึกษาจาก ม.มหิดล, ม.รามคำแหง, ม.เกษตรศาสตร์
โดยระบุว่าเป็นการอารยะขัดขืนภาคปฏิบัติ อุเชนทร์ เชียงแสน
ผู้ก่อตั้งกลุ่มโดมแดงกล่าวว่า "ถ้าพวกเขา [ทหาร] จับกุมหรือทำร้ายเรา
เราจะไม่สู้ แต่นี่แสดงให้เห็นว่าการปฏิรูปทางการเมืองตามที่
คปค.กล่าวอ้างเป็นเรื่องโกหก"[40] การชุมนุมครั้งนี้กินเวลาประมาณ 1
ชั่วโมงโดยมีการขึงป้ายผ้าที่มีข้อความว่า "Council of Demented and
Ridiculous Military" การชุมนุมเป็นไปด้วยความสงบ
ปราศจากวี่แววของเจ้าหน้าที่[41]

วันอังคารที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2549 ได้มีผู้กล่าวโทษพลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน
กับพวกในฐานความผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายในราชอาณาจักรต่อกรมสอบสวนคดี
พิเศษ (ดีเอสไอ) ซึ่งทางดีเอสไอได้รับเรื่องไว้ดำเนินการตามกฎหมาย
ตามเลขรับ ที่ 03614 พอทางกองทัพบกและรัฐบาลได้ทราบ
จึงได้มีคำสั่งให้ยุติเรื่องดังกล่าว โดยยึดถือตามรัฐธรรมนูญ
ชั่วคราวที่ได้นิรโทษกรรม การกระทำความผิดไม่ว่ากรณีใด ๆ ของคณะปฏิรูปฯ
แต่ทางดีเอสไอได้แย้งว่า พ.ร.บ.การสอบสวนคดีพิเศษต่างจากกฎหมายอย่างอื่น
ที่กฎหมายแม่สามารถหักล้างกฎหมายลูกได้ กล่าวคือ
พ.ร.บ.การสอบสวนคดีพิเศษและกรมสอบสวนคดีพิเศษ
ตั้งขึ้นตามสนธิสัญญาทางกฎหมายกับกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้วเป็นสนธิสัญญาความ
ร่วมมือแ​นวนโยบายและปฏิบัติระหว่าง FBI
และหน่วยงานสอบสวนกลางของประเทศในกลุ่มภาคีสมาชิกเพื่อต่อต้านการกระทำผิด
กฎหมายอย่า​งร้ายแรง การนิรโทษกรรมตามรัฐธรรมนูญจึงไม่สามารถกระทำได้[42]

วันพุธที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2549 เวลา 16.00 น. "เครือข่ายนิสิตจุฬาฯ
เพื่อเสรีภาพ" จัดเสวนากลางแจ้งในหัวข้อ "ทำไมเราต้องคัดค้านรัฐประหาร"
ที่ลานหน้าตึก 1 คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมีศิโรตม์
คล้ามไพบูลย์, รศ.ใจ อึ๊งภากรณ์, ประภาส ปิ่นตบแต่ง และที่ปรึกษาสมัชชาคนจน
ร่วมอภิปราย[43] ภายในวันเดียวกันนี้ "เครือข่ายนักศึกษาเพื่อประชาธิปไตย
เชียงใหม่" ได้จัดเสวนาทางวิชาการในหัวข้อ
"เราจะทำความเข้าใจกับการเมืองไทยได้อย่างไร" ที่บริเวณลานสนามหญ้า
หน้าคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ขณะที่การเสวนาดำเนินไประยะหนึ่ง
ได้มีเจ้าหน้าที่ตำรวจจาก สภต.ภูพิงค์ พร้อมเจ้าหน้าที่นอกเครื่องแบบ
ประมาณ 20 นาย ได้ขอความร่วมมือให้ผู้จัดยุติการเสวนา
เนื่องจากขัดต่อประกาศกฎอัยการศึก
แต่การเสวนาก็ดำเนินต่อไปภายใต้สถานการณ์ที่ตึงเครียด
กระทั่งผู้จัดประกาศเลิกการเสวนา เมื่อเวลา 19.40 น.[44]

วันเสาร์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2549 เวลา 12:46 น. นาย นวมทอง ไพรวัลย์ อายุ
60 ปี ขับรถแท็กซี่พ่นสีคำว่า "พลีชีพ" ที่กระโปรงท้าย
ส่วนบริเวณด้านข้างประตูรถทั้งสองข้างพ่นเป็นตัวหนังสือจับใจความว่า
"พวกทำลายประเทศ"?พุ่งเข้าชนรถถังบริเวณลานพระบรมรูปทรงม้า? จนรถพังยับเยิน
และตัวเองได้รับบาดเจ็บสาหัส ซี่โครงซ้ายหัก คางแตก ปากแตก และ
ตาซ้ายบวมเป่ง
หลังจากนั้นแท๊กซี่จำนวนหลายร้อยคันรีบรุดไปเยี่ยมแต่ถูกห้ามไม่ให้เข้า
เยี่ยมเรื่อง​ราวการรวมตัวของกลุ่มแท๊กซี่ไม่ได้ถูกรายงานข่าวต่อสาธารณะชน
6 ปีแล้วหรือ...คนไทยได้อะไร ???? (ย้อนรอย...โดยLeeds01 )  23images6 ปีแล้วหรือ...คนไทยได้อะไร ???? (ย้อนรอย...โดยLeeds01 )  2index
วันจันทร์ที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2549 เวลา 17:00-18:00 น. เครือข่าย 19 กันยา
ต้านรัฐประหาร จัด ?อารยะขัดขืนภาคปฏิบัติสัญจร?
ด้วยการชุมนุมทางการเมืองเกินกว่า 5 คน บริเวณหน้ากองบัญชาการทหารบก
ถนนราชดำเนินนอก (ตรงข้ามเวทีมวยราชดำเนิน)
มีประชาชนให้ความสนใจเข้าร่วมรับฟัง
และในช่วงท้ายยังมีการจุดไฟเผารัฐธรรนูญชั่วคราวของ คปค.
เพื่อแสดงความไม่ยอมรับในการเข้ามาทำหน้าที่ของ คปค.

วันศุกร์ที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2549
นักศึกษาและญาติวีรชนร่วมพิธีเวียนประทีปจากลานโพธิ์ไปรอบสนามฟุตบอลในงาน
"30 ปี 6 ตุลา"
เพื่อรำลึกการต่อสู้ของนักศึกษาและประชาชนในการเรียกร้องประชาธิปไตย
เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2519 ณ สวนประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม ช่วงเวลา 14.00 น.ที่หอประชุมเล็ก มธ.
มีการจัดเสวนาในหัวข้อ เรื่อง "ประวัติศาสตร์ที่ยังไม่ได้ชำระ" โดยมี
รศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศ. (พิเศษ)
ดร.ชลธิรา สัตยาวัฒนา อาจารย์คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ผศ.ดร.ธเนศ
อาภรณ์สุวรรณ อาจารย์คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และนายพิเชียร
อำนาจวรประเสริฐ ร่วมเสวนา โดยมีการเปรียบเทียบเหตุการณ์ 6 ตุลา 2519 กับ
19 กันยา 2549 ว่าเมื่อมีการนำมาพูดคุยกันก็เกิดการทะเลาะกันตลอด
แต่ไม่มีการนองเลือดเหมือนเหตุการณ์ 6 ตุลา[45]

วันเสาร์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2549 การรวมตัวกันอีกครั้งในงานรำลึกวีรชน 14
ตุลาฯ มีเครือข่าย 19 กันยา ต้านรัฐประหาร เริ่ม 16:30 น.
ใช้สัญลักษณ์คือชุดดำ เพื่อไว้อาลัยให้กับประชาธิปไตย โดยเวลา 19.50
น.เคลื่อนขบวนมาจากบริเวณสนามฟุตบอลหน้าตึกโดมมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ตอนเริ่มขบวนหัวแถวอยู่ประตูใหญ่ท้ายแถวอยู่หน้าตึกคณะวารสารฯ
เคลื่อนมาหยุดยังอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ถ.ราชดำเนินเพื่อประท้วงรัฐประหาร
ระหว่างทางร้องตะโกนว่า "คปค.ออกไป" จากนั้นตั้งแผ่นป้าย "ขอไว้อาลัยแด่
รธน.ฉบับประชาชน" และป้ายผ้าไม่มี ปชต.ในระบบเผด็จการ
และจุดเทียนไว้อาลัย[46]

วันจันทร์ที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2549 กลุ่มผู้เข้าร่วมงานสมัชชาสังคมไทย
เครือข่ายผู้พิการ เครือข่ายแรงงาน กว่า 200 คน ได้เดินขบวนจากอนุสรณ์สถาน
14 ตุลาไปยังอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย
เพื่อประกาศเจตนารมณ์และข้อเสนอในการปฏิรูปการเมือง
ตลอดจนการประกาศยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่โดยภาคประชาชน
ผู้ชุมนุมถือป้ายผ้าข้อความเรียกร้องต่าง ๆ เช่น "ยกเลิกกฎอัยการศึก"
"ค่าแรงขั้นต่ำ 7,000 บาท" "Right Base not Charity Base" โดยมีทหารราว 20
นายเฝ้าจับตาอยู่ ทั้งหมดมีอาวุธพร้อมรบและกระจายกำลังจุดละ 2
นายในมุมตึกต่าง ๆ ก่อนที่ขบวนจะเดินทางกลับสู่อนุสรณ์สถานฯ
ทหารนายหนึ่งได้ขอเชิญตัวผู้แจกใบปลิว
โดยระบุว่าข้อความในใบปลิวขัดต่อกฎอัยการศึก
ทำให้ประชาชนและสื่อมวลชนเข้ามาห้อมล้อม ทหารนายนั้นจึงกล่าวว่า
"ถ่ายรูปไว้ก่อน ค่อยเชิญตัววันหลัง"[47]

6 ปีแล้วหรือ...คนไทยได้อะไร ???? (ย้อนรอย...โดยLeeds01 )  Nuamthong


จดหมายลาตายของ นวมทอง
ไพรวัลย์เมื่อกลางดึกของคืนวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2549 นายนวมทอง ไพรวัลย์
ได้ผูกคอเสียชีวิต บนสะพานลอยข้ามถนนวิภาวดีรังสิต
หน้าสำนักงานหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ
พร้อมด้วยจดหมายประท้วงรัฐบาลโดยมีข้อความตอนหนึ่งว่า
"เหตุที่ผมกระทำการพลีชีพครั้งที่ 2 โดยการทำลายตัวเอง
เพื่อมิให้เสียทรัพย์เหมือนครั้งแรก ก็เพื่อลบคำสบประมาทของท่านรองโฆษก
คปค. (พ.อ.อัคร ทิพย์โรจน์) ที่ให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์หลายฉบับว่า
'ไม่มีใครมีอุดมการณ์มากขนาดยอมพลีชีพได้'
lucky m.
lucky m.
Hero gen.seh member
Hero gen.seh member

จำนวนข้อความ : 2803
Join date : 12/06/2010

ขึ้นไปข้างบน Go down

6 ปีแล้วหรือ...คนไทยได้อะไร ???? (ย้อนรอย...โดยLeeds01 )  Empty Re: 6 ปีแล้วหรือ...คนไทยได้อะไร ???? (ย้อนรอย...โดยLeeds01 )

ตั้งหัวข้อ  lucky m. Sun Aug 26, 2012 8:36 pm

นาทีต่อนาที ......

วันที่ 19 กันยายน
6 ปีแล้วหรือ...คนไทยได้อะไร ???? (ย้อนรอย...โดยLeeds01 )  Taksin_teleconference
พ.ต.ท.ทักษิณ เรียกผู้นำเหล่าทัพเข้าประชุมความมั่นคงอย่างกระทันหัน
แต่ไม่มีผู้นำเหล่าทัพไหนเข้าร่วมเลย ยกเว้น พล.ต.อ.โกวิท วัฒนะ
ผู้บัญชาการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ

เช้าวันที่ 19 กันยายน มีคำสั่งจาก พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
ซึ่งเตรียมเข้าประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ก
เรียกผู้นำทุกเหล่าทัพเข้าประชุมร่วมกับคณะรัฐมนตรีที่ทำเนียบรัฐบาล
แต่ไม่มีผู้นำเหล่าทัพคนใดเข้าร่วม โดย พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ผบ.ทบ.
อ้างว่ากระชั้นชิดเกินไป ยกเว้น พล.ต.อ.โกวิท วัฒนะ ผบ.ตร.
ทำให้มีกระแสข่าวลือการปฏิวัติรัฐประหารแพร่สะพัดไปทั่วทำเนียบรัฐบาล
และกระจายสู่ภายนอกโดยเฉพาะตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย[2]

เวลา 18.00 น. นายสมชาย มีเสน ผู้จัดรายการวิทยุ F.M. 92.25 MHz
นัดผู้ฟังรายการจำนวนหนึ่งเข้าพบ พล.อ.สนธิ ที่หน้ากองบัญชาการกองทัพบก
(บก.ทบ.)
เพื่อขอให้ทหารให้ความคุ้มครองกลุ่มผู้ชุมนุมพันธมิตรประชาชนเพื่อ
ประชาธิปไตยที่จะช​ุมนุมขับไล่ พ.ต.ท.ทักษิณ วันพรุ่งนี้

ช่วงพลบค่ำมีข่าวว่ากำลังทหารหน่วยรบพิเศษจาก จ.ลพบุรี
เคลื่อนกำลังเข้ากรุงเทพฯ ขณะเดียวกัน พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์
ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ ได้เข้าเฝ้าฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
แต่ข่าวระบุว่าเป็นเรื่องการทำบุญ หม่อมหลวงบัว กิติยากร
หลังจากนั้นประมาณครึ่งชั่วโมง สำนักข่าวไทยรายงานว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
ประกาศเลื่อนเดินทางกลับประเทศไทยเร็วขึ้นจากวันที่ 22 กันยายน เป็นเวลา
05.00 น. ของวันที่ 21 กันยายน[2]

ประมาณ 21.00 น. กำลังทหารจากพลร่มป่าหวาย หน่วยสงครามพิเศษลพบุรี
เข้ามาประจำการที่กองบัญชาการกองทัพบก
จากนั้นอีกครึ่งชั่วโมงสถานการณ์เริ่มชัดเจนขึ้น
เมื่อสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5
ได้ยุติรายการปกติและเปิดเพลงที่มีเนื้อหาสรรเสริญพระบารมี
มีข่าวลืออีกว่าทหารเข้าควบคุมตัว พล.ต.อ.ชิดชัย วรรณสถิตย์
รักษาการรองนายกรัฐมนตรี และ พล.อ.ธรรมรักษ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา รักษาการ
รมว.กลาโหม อีกกระแสข่าวบอกว่า นายพานทองแท้ ชินวัตร บุตรชายของ
พ.ต.ท.ทักษิณ ได้เดินทางไปประเทศอังกฤษตั้งแต่วันที่ 18 กันยายน[2]

ช่วงนั้น น.พ.พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช เลขาธิการนายกฯ
เดินทางมาที่ทำเนียบรัฐบาลด้านหลังตึกไทย ไล่เลี่ยกัน พล.ต.อ.ชิดชัย
วรรณสถิตย์ รักษาการรองนายกรัฐมนตรีและ รมว.ยุติธรรม
ที่เดินทางตามเข้ามาแต่ไม่ได้ลงจากรถ ก่อนที่ น.พ.พรหมินทร์
จะหอบเอกสารปึกใหญ่เดินขึ้นรถ พล.ต.อ.ชิดชัย
และเคลื่อนออกไปจากทำเนียบด้วยกัน
กำลังคอมมานโดตำรวจกองปราบปรามได้เดินทางไปรักษาความปลอดภัยที่บ้านจันทร์
ส่องหล้า[2]

เวลา 22.00 น. ขบวนรถถังเคลื่อนเข้าคุมเชิงที่สะพานมัฆวานรังสรรค์ และ
ถ.ราชดำเนิน สถานีโทรทัศน์ซีเอ็นเอ็นรายงานข่าวด่วน สถานการณ์ในประเทศไทย
หลังมีผู้เห็นกองกำลังทหารตามสถานที่สำคัญต่างๆ ทั่วกรุงเทพฯ ขณะเดียวกัน
พ.ต.ท.ทักษิณ รักษาการนายกฯ ได้โทรศัพท์สั่งการไปยังสถานีโทรทัศน์ช่อง 11
เตรียมการถ่ายทอดเสียงผ่านทางโทรศัพท์ แต่ขณะที่กำลังรอสาย
ทหารได้เข้าควบคุมสถานีโทรทัศน์ช่อง 11 ได้ก่อน[2]
6 ปีแล้วหรือ...คนไทยได้อะไร ???? (ย้อนรอย...โดยLeeds01 )  Thaksin_declares_state_of_emergency
พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน

สถานีโทรทัศน์ โมเดิร์นไนน์ ทีวี แพร่สัญญาณเสียงของ พ.ต.ท.ทักษิณ
เมื่อเวลา 22.13 น. ออกประกาศพระราชกำหนด (พ.ร.ก.)
บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ควบคุมพื้นที่กรุงเทพฯ
ระบุอยู่ในขั้นรุนแรง และให้ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ผบ.ทบ.
ไปประจำสำนักนายกรัฐมนตรี โดยให้รายงานตัวต่อ พล.ต.อ.ชิดชัย และตั้ง
พล.อ.เรืองโรจน์ มหาศรานนท์ ผบ.สส. คุมอำนาจแก้สถานการณ์ฉุกเฉิน [2]

ไม่กี่นาทีต่อมา ทหารจำนวนมาก ออกมาตรึงกำลังตามถนนต่าง ๆ
ตั้งแต่แยกเกียกกาย ผ่านมาถึง ถ.ราชสีมา บริเวณสวนรื่นฤดี
สี่แยกราชตฤณมัยสมาคม (สนามม้านางเลิ้ง)
โดยมีทหารแต่งกายลายพรางเต็มยศเป็นผู้ควบคุมกำลัง จากนั้นสัญญาณ
โมเดิร์นไนน์ ทีวี ถูกตัดลง มีรายงานว่าเพราะทหารตัดไฟ โมเดิร์นไนน์ ทีวี
ขณะ พ.ต.ท.ทักษิณ กำลังประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน
ก่อนจะตัดเข้าโฆษณาและเข้าสู่รายการปกติ
โดยมีรายงานข่าวว่ากำลังทหารบุกเข้าควบคุมที่ห้องส่งสัญญาณออกอากาศ
พร้อมควบคุมตัวนายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ กก.ผอ.ใหญ่ บมจ.อสมท
(ภายหลังนายมิ่งขวัญชี้แจงว่าตนไม่ได้อยู่ที่สถานีในขณะนั้น
และไม่ได้ถูกจับกุม [3])

เวลาประมาณ 22.25 น. สถานีโทรทัศน์เกือบทุกช่องตัดเข้ารายการเพลง
เปิดเพลงที่มีเนื้อหาสรรเสริญพระบารมี ยกเว้นช่อง 9 และช่อง 3
ที่นำเสนอรายการปกติ
โดยมีรายงานข่าวว่ามีกำลังทหารเข้ายึดสถานีโทรทัศน์ทุกช่อง โดยเฉพาะ
โมเดิร์นไนน์ ทีวี และไอทีวี
หลังจากนั้นสถานีโทรทัศน์ทุกช่องเริ่มเชื่อมสัญญาณกับ ททบ.5
และเปิดเพลงที่มีเนื้อหาสรรเสริญพระบารมี
ยกเว้นสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมอย่างเอเอสทีวี และ เนชั่นแชนนัล
ทางสถานีโทรทัศน์ไททีวี ช่อง 1 ที่ยังคงรายงานสถานการณ์ได้ตามปกติ
กำลังทหารส่วนหนึ่งได้เข้าควบคุมตัว พล.ต.ต.วินัย ทองสอง
ผบก.กองปราบปรามและ พล.อ.ไตรรงค์ อินทรทัต (เสธ.ไอซ์) ที่ปรึกษากองทัพบก[2]
6 ปีแล้วหรือ...คนไทยได้อะไร ???? (ย้อนรอย...โดยLeeds01 )  20060919_coup_early_statement
ข้อความชี้แจงที่ปรากฏบนหน้าจอโทรทัศน์

เวลา 22.54 น. โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทยออกอากาศทางสถานีทุกช่อง

ขึ้นคำประกาศของคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์
ทรงเป็นประ​มุข พร้อมขออภัยในความไม่สะดวก และเปิดเพลง "ความฝันอันสูงสุด"
ประกอบ
ด้านสถานีโทรทัศน์ซีเอ็นเอ็นและบีบีซีเผยแพร่ข่าวรถถังและกำลังทหารควบคุม
สถานการณ์ภ​ายใน กทม.
ช่วงหนึ่งได้แพร่ภาพกลุ่มชาวบ้านใช้โทรศัพท์มือถือถ่ายรูปทหารเหล่านั้น
โดยไม่ได้รู้สึกหวาดกลัวแต่อย่างใด
มีกำลังทหารจำนวนหนึ่งพร้อมอาวุธครบมือบุกเข้ายึดอาคารชินวัตร
เนื่องจากเป็นจุดสำคัญในการส่งสัญญาณสื่อสาร
รวมทั้งสถานีโทรทัศน์ไอทีวีและบ้านจันทร์ส่องหล้า[2]

นายสนธิ ลิ้มทองกุล
แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยประกาศทางเอเอสทีวี
ยกเลิกการชุมนุมใหญ่ที่จะมีขึ้นในวันที่ 20 กันยายน เวลา 17.00 น
ที่ลานพระบรมรูปทรงม้า เพื่อหลีกเลี่ยงความวุ่นวายที่อาจเกิดขึ้น
และเนื่องจากอยู่ในช่วงประกาศกฎอัยการศึก เวลา 23.15 น. พล.ต.ประพาศ
ศกุนตนาค อดีตโฆษก ททบ.5 อ่านแถลงการณ์คณะปฏิรูปการปกครองฯ
ที่แสดงไว้ในหน้าจอก่อนหน้านี้ซ้ำถึงสองครั้ง จากนั้นทหารจาก ป.พัน 21
สังกัด ร.21 ประมาณ 30 นาย
พร้อมอาวุธครบมือเดินทางไปยังอาคารเนชั่นทาวเวอร์
ที่สถานีโทรทัศน์เนชั่นแชนนัล โดยยืนยันว่า
มาดูแลความสงบเรียบร้อยทั่วไป[2]

เวลาประมาณ 23.30 น. คณะปฏิรูปการปกครองฯ ได้ควบคุมตัว พล.ต.อ.ชิดชัย
วรรณสถิตย์ อดีตรองนายกรัฐมนตรี น.พ.พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช
อดีตเลขาธิการนายกรัฐมนตรี และนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ปลัดกระทรวงยุติธรรม
รวมทั้งนายดุสิต ศิริวรรณ อดีตผู้ดำเนินรายการผู้สนับสนุนคนสำคัญ
มากักตัวไว้ที่ศูนย์รักษาความปลอดภัยแห่งชาติ (ศรภ.) กองบัญชาการทหารสูงสุด
[4] เกือบเที่ยงคืน ผู้บัญชาทหารทุกเหล่าทัพเข้าเฝ้าฯ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต


วันที่ 20 กันยายน
พล.ต.ประพาศ ศกุนตนาค อ่านประกาศคณะปฏิรูปฯ
ประกาศคณะปฏิรูปฯ ฉบับที่ 1/2549 เรื่อง มูลเหตุของการยึดอำนาจ
ประกาศคณะปฏิรูปฯ ฉบับที่ 2/2549 เรื่อง ห้ามการเคลื่อนย้ายกำลังทหาร
ประกาศคณะปฏิรูปฯ ฉบับที่ 3/2549 เรื่อง รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.
2540 ให้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 สิ้นสุดลง
ให้วุฒิสภา สภาผู้แทนราษฎร คณะรัฐมนตรี และศาลรัฐธรรมนูญ
สิ้นสุดลงพร้อมกับรัฐธรรมนูญ
ให้คณะองคมนตรีดำรงตำแหน่งและปฏิบัติหน้าที่ต่อไป
ให้ศาลคงอำนาจหน้าที่ต่อไป
เวลา 1.13 น. ทหารได้กันพื้นที่ไม่ให้ประชาชนผ่านโดยมีรถถังคุมบริเวณสี่จุดรอบเขตพระนครดังนี้
จุดที่ 1 บริเวณสนามม้านางเลิ้ง 1 คัน
จุดที่ 2 บริเวณลานพระบรมรูปทรงม้า 2 คัน ซึ่งมีขนาดใหญ่ติดอาวุธครบถ้วน
จุดที่ 3 บริเวณสวนจิตรลดา 1 คัน
จุดที่ 4 บริเวณเชิงสะพานปิ่นเกล้าฝั่งธนบุรี 1 คัน ซึ่งเป็นรถยานเกราะ ไม่มีอาวุธ
เวลา 1.24 น. พล.ต.ประพาศ ศกุนตนาค อ่านประกาศคณะปฏิรูปฯ
ประกาศคณะปฏิรูปฯ ฉบับที่ 4/2549 เรื่อง อำนาจบริหารราชการแผ่นดิน ให้อำนาจบริหารราชการแผ่นดินแก่หัวหน้าคณะปฏิรูปฯ
เวลา 5.30 น. น.ส.ทวินันท์ คงคราญ หัวหน้า ปชส. ททบ.5 อ่านคำสั่งคณะปฏิรูปฯ
ฉบับที่ 3/2549 แต่งตั้งให้แม่ทัพภาค 1 แม่ทัพภาค 2 แม่ทัพภาค 3
และแม่ทัพภาค 4
เป็นผู้อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อยในเขตพื้นที่แต่ละกองทัพภาค
เวลา 8.00 น. พล.ต.ประพาศ ศกุนตนาค แถลงว่า พล อ.สนธิ บุญยรัตกลิน
จะออกแถลงการณ์ในเวลา 9.00 น.
และให้สถานีโทรทัศน์ออกรายการตามปกติของแต่ละสถานี
เวลา 8.12 น. โทรทัศน์เริ่มออกอากาศรายการตามปกติ
เวลา 9.20 น. พล อ.สนธิ บุญยรัตกลิน อ่านประกาศแถลงการณ์ คณะปฏิรูปฯ พร้อมด้วยผู้นำเหล่าทัพ
เวลา 10.45 น. น.ส.ทวินันท์ คงคราญ อ่านประกาศคณะปฏิรูปฯ
ประกาศคณะปฏิรูปฯ ฉบับที่ 5/2549 เรื่อง การมีส่วนร่วมทางการเมืองของนักศึกษา
ประกาศคณะปฏิรูปฯ ฉบับที่ 6/2549 เรื่อง ความเดือดร้อนของผู้ใช้แรงงาน ชาวนา ชาวไร่
ประกาศคณะปฏิรูปฯ ฉบับที่ 7/2549 เรื่อง ห้ามการเคลื่อนไหวทางการเมือง
ประกาศคณะปฏิรูปฯ ฉบับที่ 8/2549 เรื่อง ห้ามการกักตุนสินค้าและขึ้นราคาสินค้า
ประกาศคณะปฏิรูปฯ ฉบับที่ 9/2549 เรื่อง เรื่องนโยบายต่างประเทศ
ประกาศคณะปฏิรูปฯ ฉบับที่ 10/2549 เรื่อง การขอความร่วมมือจากสื่อมวลชนในการนำเสนอข่าวสาร
เวลา 11.00 น. พล.ต.ประพาศ ศกุนตนาค อ่านประกาศและคำสั่งคณะปฏิรูปฯ
ประกาศคณะปฏิรูปฯ ฉบับที่ 11/2549 เรื่อง แต่งตั้งผู้มีอำนาจในคณะปฏิรูปฯ
คำสั่งคณะปฏิรูปฯ ฉบับที่ 4/2549 เชิญเอกอัครราชทูต
มาชี้แจงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เวลา 13.00 น.
และจะเปิดแถลงข่าวต่อสื่อไทยและต่างประเทศ และให้โอกาสซักถามข้อสงสัย เวลา
14.00 น.
คำสั่งคณะปฏิรูปฯ ฉบับที่ 5/2549 เรื่อง ให้กระทรวง ICT ควบคุมการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร
เวลา 14.00 น. กลุ่มนักศึกษาล้อการเมืองธรรมศาสตร์ ขึ้นป้าย CUT OUT ไม่เห็นด้วยกับการทำรัฐประหาร ของพลเอก สนธิฯ
เวลา 18.00 น. ประกาศคณะปฏิรูปฯ ฉบับที่ 12/2549 เรื่อง
การดำเนินการเกี่ยวกับการตรวจเงินแผ่นดิน ให้
พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. 2542
มีผลใช้บังคับต่อไป โดยให้ คตง. พ้นจากตำแหน่ง และ ผู้ว่า สตง.
(คุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา) คงอยู่ในตำแหน่งต่อไป และให้มีอำนาจของ คตง.
เวลา 19.00 น. ประกาศคณะปฏิรูปฯ พระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง
พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน เป็นหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ประกาศ ณ วันที่ 20 กันยายน 2549
เป็นปีที่ 61 ในรัชกาลปัจจุบัน ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พล.อ.สนธิ
บุญยรัตกลิน ผู้บัญชาการทหารบก
เวลา 21.30 น. คำสั่งคณะปฏิรูปฯ ฉบับที่ 9/2549 ให้นายยงยุทธ ติยะไพรัช
และนายเนวิน ชิดชอบ ไปรายงานตัวที่กองทัพบก ภายในวันที่ 21 กันยายน
เวลา 21.30 น. ประกาศคณะปฏิรูปฯ ฉบับที่ 13/2549 ให้
พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย กรรมการการเลือกตั้ง มีผลใช้บังคับต่อไป ให้
กกต.ทั้ง 5 คน เป็นผู้มีอำนาจควบคุมและจัดการเลือกตั้งท้องถิ่น

วันที่ 21 กันยายน
เวลา 16.20 น. ประกาศคณะปฏิรูปฯ
ประกาศคณะปฏิรูปฯ ฉบับที่ 14/2549 ให้ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา มีผลใช้บังคับต่อไป
ประกาศคณะปฏิรูปฯ ฉบับที่ 15/2549 ให้
พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2541 มีผลใช้บังคับต่อไป
และห้ามพรรคการเมืองที่มีอยู่แล้วดำเนินการประชุม หรือ ดำเนินการใด ๆ
ในทางการเมือง

วันที่ 22 กันยายน
เวลา 12.00 น. โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจ ถ่ายทอดเทปบันทึกภาพ
พิธีรับสนองพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง พลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน
เป็น
หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็น
ประมุข?

วันที่ 1 ตุลาคม

6 ปีแล้วหรือ...คนไทยได้อะไร ???? (ย้อนรอย...โดยLeeds01 )  Vy7qq
พล.อ.สุรยุทธ จุลานนท์ รับสนองพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

เวลา 9.30 น. โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจ ถ่ายทอดการประกาศใช้ ธรรมนูญการปกครองฉบับชั่วคราว
เวลา 16.45 น.โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจ มีกำหนดถ่ายทอด
พิธีรับสนองพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์
เป็นนายกรัฐมนตรี ที่ห้องสีงาช้าง ภายในตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล
[แก้] วันที่ 2 ตุลาคม
กองทัพเริ่มถอนกำลังทหารออกจากสถานที่สำคัญในใจกลางกรุงเทพมหานคร
ทั้งที่ทำเนียบรัฐบาล รัฐสภา และลานพระบรมรูปทรงม้า และกลับเข้าสู่กรมกอง
lucky m.
lucky m.
Hero gen.seh member
Hero gen.seh member

จำนวนข้อความ : 2803
Join date : 12/06/2010

ขึ้นไปข้างบน Go down

ขึ้นไปข้างบน

- Similar topics

 
Permissions in this forum:
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ