GENERAL HERO2010 Member
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.

เจ้าพระยาอภัยภูเบศร

Go down

เจ้าพระยาอภัยภูเบศร Empty เจ้าพระยาอภัยภูเบศร

ตั้งหัวข้อ  lucky m. Thu Aug 02, 2012 3:46 pm


เจ้าพระยาอภัยภูเบศร Pj_pubes07

เจ้าพระยาอภัยภูเบศร Pj_pubes05
อยู่ภายในโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร ห่างจากตัวเมือง
ประมาณ 2.5 กิโลเมตรเป็นตึกที่เจ้าพระยาอภัยภูเบศร สร้างขึ้นในปี
พ.ศ. 2452 เพื่อถวายเป็นที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า
เจ้าอยู่หัวในคราวเสด็จประพาส มณฑลปราจีน มีลักษณะสถาปัตยกรรม
เป็นตึกสองชั้น แบบยุโรปสมัยเรอเนสซอง มีมุขด้านหน้า ตรงกลางเป็น
โดม ผนังด้านนอกมีลายปูนปั้นลายพฤกษาประดับซุ้มประตูและหน้าต่าง
เจ้าพระยาอภัยภูเบศร Pj_pubes06
ภายในจัดทำเป็นพิพิธภัณฑ์การแพทย์แผนไทย เป็นศูนย์รวบรวม
อนุรักษ์ ตำรายาไทย สมุนไพรไทย การแพทย์แผนไทย การแพทย์
พื้นบ้านของจังหวัดปราจีนบุรี อีกทั้งยังเป็นแหล่งการศึกษา ค้นคว้า วิจัย
และเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับวิถีชีวิตของคนท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับสมุนไพร
และการแพทย์ของท้องถิ่น กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแล้ว
เจ้าพระยาอภัยภูเบศร Pj_pubes011
โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร เป็นโรงพยาบาลนำร่องเรื่องการแพทย์
แผนไทย ใช้สมุนไพรบำบัดรักษาโรค มีการนวด อบ ประคบ และฝังเข็ม
แปรรูปสมุนไพรไทยเป็นเวชภัณฑ์ และเครื่องสำอางค์จำหน่ายในราคา
ย่อมเยา นอกจากนี้ยังได้จัดโครงการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ มุ่งเน้นการ
ดูแลสุขภาพแบบองค์รวมทั้งร่างกาย จิตใจ และสังคม โดยให้เกิดการ
เรียนรู้ ใช้เวลา 3 วัน อัตราค่าบริการประมาณ 3,500 บาท/คน
(กิจกรรมนี้งดบริการช่วงฤดูฝน) โทร. 0-3721-108

เจ้าพระยาอภัยภูเบศร Pj_pubes04
เจ้าพระยาอภัยภูเบศร Pj_pubes08
เจ้าพระยาอภัยภูเบศร Pj_pubes15
เจ้าพระยาอภัยภูเบศร Pj_pubes16
เจ้าพระยาอภัยภูเบศร Pj_pubes17
เจ้าพระยาอภัยภูเบศร Pj_pubes18
เจ้าพระยาอภัยภูเบศร Pj_pubes19
เจ้าพระยาอภัยภูเบศร Pj_pubes20
เจ้าพระยาอภัยภูเบศร Pj_pubes21
เจ้าพระยาอภัยภูเบศร Pj_pubes22
เจ้าพระยาอภัยภูเบศร Pj_pubes12

ในปีพุทธศักราช 2452 ท่านเจ้าพระยาอภัยภูเบศร (ชุ่ม อภัยวงศ์)
ได้จ้างเหมา บริษัทโฮวาร์ด เออร์สกิน สร้างตึกหลังหนึ่งขึ้นตามแบบศิลปะ
บาร็อคของตะวันตก โดยมีความประสงค์เพื่อจะใช้เป็นที่ประทับแรมของ
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในกรณีที่พระองค์เสด็จมายัง
มณฑลปราจีนบุรีอีก หลังจากที่เสด็จครั้งแรกในปีพุทธศักราช 2451
แต่พระองค์เสด็จสรรคตเสียก่อนในปีพุทธศักราช 2453

หากกระนั้นตึกหลังนี้ก็ยังคงใช้เป็นที่ประทับแรมของ พระบาทสมเด็จพระ
มงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวในปีพุทธศักราช 2455 รวมทั้งพระบรมวงศ์อีกหลาย
พระองค์ คราเสด็จมณฑลปราจีนบุรี โดยที่ท่านเจ้าของตึกไม่เคยใ้ช้
ตึกหลังนี้เป็นที่พำนักส่วนตัวเลยตราบจนสิ้นอายุไข พ.ศ.2465
จึงได้มีการตั้งศพของท่านไว้ชั้นบนของตึกนี้ ก่อนการพระราชทาน
เพลิงศพในปีเดียวกัน

หลังจากการอสัญกรรม ตึกหลังนี้ก็ตกเป็นของตระกูลอภัยวงศ์ โดยพระเจ้า
อภัยวรเศรษฐ (ช่วง) บุตรชายที่เกิดจากหม่อมสอิ้ง ซึ่งเป็นบุตรวัยอาวุโส
กว่าคนอื่นที่ยังมีชีวิตอยู่ได้รับพินัยกรรมให้เป็นผู้จัดการมรดก

ต่อมาในปี พ.ศ.2467 พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรง
อภิเษกสมรสกับหลานสาวคนหนึ่งของท่านเจ้าพระยาอภัยภูเบศร คือ
นางสาวติ๋ว อภัยวงศ์ ธิดาของพระอภัยพิทักษ์ ( เลื่อม อภัยวงศ์ ) ซึ่งต่อมา
ได้รับการสถาปนา เป็นพระนางเจ้าวัทนา พระวรราชเทวีในพระบาทสมเด็จ
พระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว เจ้าพระยาอภัยวรเศรษฐ (ช่วง) พี่ชายของพระอภัย
พิทักษ์จึงได้ถวายกรรมสิิทธิ์ ในตึกหลังนี้ตลอดจนที่ดินบริเวณนั้น ให้กับ
พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี และพระนางเจ้าฯก็ได้น้อมเกล้าฯ
ถวายตึกและที่ดินผืนนี้แด่พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว

ต่อมาในปี พ.ศ.2480 เมื่อพระองค์จะโดยเสด็จสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ
เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดาฯ พระราชธิดา ไปประทับที่ประเทศอังกฤษ
จึงประทานที่ดินและสิ่งปลูกสร้างทั้งหมดนั้นแก่มณฑลทหารบกที่ 2
จังหวัดปราจีนบุรี เพื่อใช้เป็นสถานพยาบา้ลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร
ในวันที่ 24 มิถุนายน 2484 และได้เปลี่ยนมาเป็นโรงพยา้บาลเจ้าพระยา
อภัยภูเบศร ในวันที่ 24 มิถุนายน 2509 เพื่อรำลึกถึงบุญคุณของท่าน
เจ้าพระยาอภัยภูเบศร ผู้สร้างตึกและได้สร้างความเจริญ รวมทั้งสาธารณ
สมบัติให้กับจังหวัดปราจีนบุรีอย่างมากมาย โดยกราบทูลเชิญเสด็จฯ
สมเด็จเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี
และพระนางเจ้า สุวัทนา พระวรราชเทวี เสด็จฯมาทรงเปิดป้าย
โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร

ตึกเจ้าพระยาอภัยภูเบศรเดิมนั้นเป็นตึกอำำนวยการ ได้มีการดัดแปลง
ทำชั้นล่างเป็นห้องตรวจโรค ห้องจำหน่ายยา และห้องผ่าตัด
ชั้นบนทำหน้าที่รับคนไขัหญิง โดยมีเรือนคนไข้ชายแยกต่างหาก
มีเตียงรับคนไข้ 50 เตียง มีโรงประกอบอาหาร คนไข้ โรงซักฟอก
ที่เก็บศพ เรือนพักคนงาน บ้านนายแพทย์ อย่างละ 1 หลัง บ้านพัก
พยาบาลอีก 3 หลัง การสัญจรติดต่อกับจังหวัด ใช้ทางเรืออย่างเดียว
จนใน พ.ศ.2486 ได้มีการสร้างถนนติดต่ิอกับจังหวัด โดยขอที่ดินจาก
เอกชน คือ ถนนปราจีนอนุสรณ์เป็นถนนหน้าโรงพยาบาลในปัจจุบัน

โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศรได้ถูกใช้งานเป็นโรงพยาบาลจนถึงปี
2512 หลังจากที่ตึกอำนวยการในปัจจุบันได้ก่อสร้างเสร็จ จากนั้น
ทางโรงพยาบาลจะใช้ตึกเจ้าพระยาอภัยภูเบศรในการประชุมสัมมนา
ในบางกรณี

ต่อมากรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนตึกเจ้าพระยาอภัยภูเบศรเป็น
โบราณสถานของชาติ โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 25
มกราคม พ.ศ.2533

ตึกเจ้าพระยาอภัยภูเบศรหลังจากนี้มิเพียงจะมีคุณค่าในฐานะที่เป็นอาคาร
เก่าแก่ ซึ่งมีความงดงามทางสถาปัตยกรรมแต่เพียงอย่างเดียว หากตึก
หลังนี้ยังเป็นเหมือนตัวแทนความจงรักภักดี ความซื่อสัตย์ อดทน
และเสียสละของท่านเจ้าของตึก ที่จะเป็นอนุสติให้กับคนรุ่นหลัง
เป็นความหมายและคุณค่าทางจิตใจ นอกเหนือไปจากความงามทางด้าน
สถาปัตยกรรม และความงามมีคุณค่าในฐานะที่เป็นโบราณสถานที่สำคัญ
ของชาติ

ด้วยในช่วงระยะปีพุทธศักราช 2449 เกิดการผันแปรทางการเมืองระหว่าง
ไทยกับอินโดจีนของฝรั่งเศส ฝรั่งเศสได้ขอเปลี่ยนแผ่นดินเมืองตราด
ซึ่งอยู่ภายใต้ความครอบครองของมณฑลบูรพาทั้งหมดของไทย
รัฐบาลไทยจึงได้ตกลงสัญญา เมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2447
และแลกเปลี่ยน สัตยาบันระหว่างไทยกับฝรั่งเศล ณ กรุงปารีส เมื่อวันที่
21 มิถุนายน พ.ศ.2450 เจ้าพระยาอภัยภูเบศร ซึ่งในขณะนั้นดำรง
ตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแห่งเมืองพระตะบองแห่งกรุงกัมพูชา ได้กราบ
บังคมทูลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขอพระราชทาน
พระบรมราชานุญาต อพยพเข้ามารับราชการสนองพระเดชพระคุณ
ในกรุงเทพมหานคร

เนื่องจากท่านตระหนักว่าต้นตระกูลรวมทั้งปู่และบิดา ได้เป็นข้าทูลละออง
ธุีลี่ีพระบาทมาหลายชั่วคน จึงมิปราถนาที่จะไปเป็นข้ากัมพูชา โดยท่าน
ได้ลั่นวาจาว่่า"เมืื่อพระราชทานเมืองไปเป็นของกรุงกัมพูชาเมื่อใด
จะขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตอพยพเข้ามารับราชการสนอง
พระเดชพระคุณในกรุงเทพฯ"

เมื่อไทยต้องคืนเมืองพระตะบองแก่กรุงกัมพูชา ท่านเจ้าพระยาอภัยภูเบศร
จึงได้อพยพครอบครัวและผู้ติดตาม เข้ามาอยู่ในประเทศไทยโดยผ่านเมือง
ปราจีนบุรี ในระยะแรกนั้นท่านเจ้าพระยาอภัยภูเบศรพำนักอยู่ใน
กรุงเทพมหานคร แต่ด้วยความชอบในการล่าสัตว์โพนช้าง จึงย้ายมา
ปลูกสร้างบ้านเรือนอยู่ที่จังหวัดปราจีนบุรี โดยมีหมู่เรือนใหญ่สิบกว่าหลัง
ของท่านและครอบครัวอยู่ตรงกลาง และหมู่บ้านชาวเขมรที่ติดตามมาจาก
เมืองพระตะบองอยู่รายรอบ

หากในภายหลังเจ้าพระยาอภัยภูเบศรมีดำริให้สร้างตึกเจ้าพระยาอภัย
ภูเบศรขึ้น โดยหวังว่าจะใช้รับเสด็จสนองพระคุณพระบาทสมเด็จ
พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แต่สิ้นรัชกาลเสียก่อน อย่างไรก็ตามตึกหลังนี้
ได้รับเสด็จพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ในปี พ.ศ.2455
รวมถึงเจ้านายพระองค์อื่นๆ อาทิ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ
พลเรือนพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ เป็นต้น

ึตึกเจ้าพระยาอภัยภูเบศรนี้เป็นออาคารสถาปัตยกรรมตะวันตกสองชั้น
ก่ออิฐถือปูน หลังคาทรงปั้นหยามุงกระเบื้องสี่เหลี่ยมลอนเล็กที่สั่งมาจาก
ฝรั่งเศล ตรงกลางหลังคาเป็นโดม ที่ยอดโดมมีเครื่องบอกทิศทางลม
ทำด้วยโลหะเป็นรูปไก่

ขนาดตัวอาคารกว้าง 18.60 เมตร ยาว 38.40 เมตร ภายในตัวอาคาร
แต่ละชั้นแบ่งออกเป็น 3 ห้อง ด้านหน้าของห้องโถงใหญ่ชั้นบนทำเป็น
ดาดฟ้า อาคารหลังนี้สร้างตามแบบอาคารเดิมของท่านเมื่ออยู่พระตะบอง
วัสดุที่ใช้ในการก่อสร้างล้วนนำมาจากต่า่งประเทศทั้งสิ้น ส่วนช่าง
สันนิฐานว่ามาจากดินแดนอินโดจีน ลัษณะสถาปัตยกรรมของตึกนี้
เป็นการเลียนแบบสถาปัตยกรรมยุคบาร็อค (Baroque)

คำว่าบาร็อค มาจากคำในภาษาโปรตุเกสว่าบาโรโค (Barroco) หมายถึง
ไข่มุกที่บิดเบี้ยว ไปจากกฏเกณฑ์ของความงามในสถาปัตยกรรม
แบบคลาสสิค ในยุคเรอเนสซองส์โดยสิ้นเชิง ลวดลายปูนปั้นส่วนใหญ่
ของตึกหลังนี้เป็นลวดลายขนาดเล็ก อ่อนไหว ตามซุ้มประตู หน้าต่าง
เสา ขื่อ คาน ล้วนตกแต่งด้วยลวดลายพรรณพฤกษา ที่แสดงออกถึง
การเคลื่อนไหว ในลักษณะโค้งงอ (s -curve) หรือม้วน (s -scroll)
มีเพียงลายปูนปั้นที่เสาประดับใต้หน้าบันเท่านั้นที่ี่มีสัญลักษณ์ของ
ความเป็นไทย คือ ทำเป็นรูปช้าง นอกเหนือไปจากการตกแต่งลวดลาย
ปูนปั้น ตามตัวอาคารต่างๆ แล้ว ยังตกแต่งเพดานด้วยภาพเขียนสี
ปูนเปียก (Fresco) เป็นลวดลายพรรณพฤกษาอันอ่อนหวานและวิจิตร
งดงามยิ่งนัก

ในระหว่งการใช้เป็นโรงพยาบาลคาดว่าคงมีการดัดแปลงซ่อมแซม
หลายแห่ง แต่ไม่ได้มีหลักฐานการบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร
เท่าที่ทราบคือ บานหน้าต่างเดิมเป็นบานกรอบไม้ติดกระจกทำลวดลาย
ฝังด้วยกระจกสีเนื้อเป็นลวดลายแจกันและดอกไม้ ต่อมาได้เปลี่ยนเป็น
บานเกล็ดไม้อย่างที่เห็นในปัจจุบัน พื้นกระเบื้อง ชั้นล่างปีกซ้าย
เปลี่ยนเป็นพื้นหินขัด เพื่อดัดแปลง เป็น

http://tat8.com/thai/pj/p_jaoprayaapai.htm








เจ้าพระยาอภัยภูเบศร Bg_bottom1
lucky m.
lucky m.
Hero gen.seh member
Hero gen.seh member

จำนวนข้อความ : 2803
Join date : 12/06/2010

ขึ้นไปข้างบน Go down

ขึ้นไปข้างบน


 
Permissions in this forum:
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ