GENERAL HERO2010 Member
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.

มุมมองนักกม.รื้อคดีที่ดินรัชดาฯ

Go down

มุมมองนักกม.รื้อคดีที่ดินรัชดาฯ  Empty มุมมองนักกม.รื้อคดีที่ดินรัชดาฯ

ตั้งหัวข้อ  goosehhardcore Sat Sep 10, 2011 4:08 pm


มุมมองนักกม.รื้อคดีที่ดินรัชดาฯ

จาก: ข่าวสดรายวัน หน้า 3: วันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2554 ปีที่ 21 ฉบับที่ 7590
คอลัมน์ รายงานพิเศษ

ความพยายามในการรื้อคดีที่ดินรัชดาฯ อีกเงื่อนปมกฎหมายที่กำลังเป็นข้อถกเถียงกันอย่างกว้างขวาง

รัฐบาลอ้างคำพิพากษาของศาลแพ่งที่สั่งให้สัญญาซื้อขายที่ดินเป็นโมฆะ เพื่อรื้อคดีที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง สั่งจำคุก พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นเวลา 2 ปี

เรื่องนี้ทำได้หรือไม่ มีความเห็นจากนักกฎหมาย

ทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ คณะนิติฯ ม.ธรรมศาสตร์

การพิจารณาทางแพ่งก็ว่าไป ทางอาญาก็เป็นคนละเรื่องกัน คุณโกงผมก็ชดใช้ ความผิดฐานฉ้อโกงก็ยังอยู่ หลอกผมให้ขายของให้ หรือเอาของปลอมมาขาย ในทางแพ่งก็คืนเงินมาสิ แต่ทำผิดอาญา ฆ่าคนตายไปแล้ว ชดใช้แล้วก็จบ คงไม่ได้

ส่วนความเห็นที่ระบุศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งนักการเมืองตัดสินคดีที่ดินรัชดาฯ ขณะที่เรื่องยังไม่เกิด ถ้าคิดอย่างนั้นแล้วจะเริ่มมีการรื้อฟื้นคดี ก็ต้องอธิบายว่าการรื้อฟื้นคดีมีเหตุเดียว

คือมีหลักฐานใหม่ ที่เป็นประเด็นสำคัญของคดีที่อาจทำให้ผิดเป็นถูก และทำให้ถูกเป็นผิด ซึ่งมีหลักฐานสำคัญ 2 ชนิด คือ เป็นพยานหลักฐานใหม่ เช่น สมมติถูกกล่าวหาว่าฆ่าคนตาย แต่คนนั้นไม่ได้ตาย หรือตายผิดเวลา ก็นำสืบได้ใหม่

หลักฐานอีกอันคือ หลักฐานที่ใช้สืบพยาน ซึ่งคือพยานบุคคลและพยานวัตถุ ต้องต่อสู้ว่าพยานดังกล่าวเป็นพยานเท็จ ซึ่งประเด็นนี้คดีต้องถึงที่สุดแล้ว และศาลได้ตัดสินแล้วว่าเป็นพยานเท็จ

การรื้อคดีจึงต้องนำคำตัดสินของศาลที่ถึงที่สุดนี้ไปอ้างในคดีเพื่อขอรื้อฟื้นได้ว่าพยานบุคคลเป็นพยานเท็จ พยานวัตถุเป็นของปลอม

การรื้อคดีกรณีนี้ ก็ต้องไปต่อสู้ว่าคดีที่ศาลแพ่งตัดสินให้การซื้อขายที่ดินเป็นโมฆะ เป็นหลักฐานใหม่ ใช้คำพิพากษาศาลแพ่งไปอ้าง

ผมไม่ได้บอกว่าการรื้อคดีนี้มีช่องทางนี้ที่ทำได้ แต่ผมบอกว่าการอ้างคำพิพากษาศาลแพ่งที่ระบุสัญญาเป็นโมฆะ การซื้อขายที่ดินทำไม่ได้ ไปยื่นเรื่องได้ แต่ศาลจะรับไว้พิจารณาหรือไม่เป็นดุลยพินิจของศาล

ถ้าถามถึงช่องทางนั้นไม่มีหรอก แต่ถ้าจะขอยื่นก็เป็นดุลยพินิจของศาล แต่โดยปกติแล้วคงไม่ใช่

ผมว่าทางออกคือ พ.ต.ท.ทักษิณ ต้องอยู่อย่างนี้ไปอีก 6 ปี คือรอให้คดีขาดอายุความ หลักของกฎหมายคือการปรับคนให้เข้ากับหลักเกณฑ์ ไม่ใช่ปรับหลักเกณฑ์ให้เข้ากับคน


เจษฎา อนุจารี อุปนายกฝ่ายนโยบายและแผนงาน สภาทนายความฯ

หลักการสำคัญของพ.ร.บ.รื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ พ.ศ.2526 คือต้องมีพยานหลักฐานใหม่ ซึ่งแปลว่าต้องไม่เคยปรากฏขึ้นในสำนวนมาก่อน และพยานหลักฐานนั้นก็ต้องมีผลที่จะพิสูจน์ได้ว่าผู้ที่เคยถูกพิจารณานั้นไม่มีความผิด

ขณะที่จะมีการอ้างผลคำพิพากษาคดีแพ่งว่าสัญญาที่ดินเป็นโมฆะแล้วได้สั่งคืนเงินซื้อขายนั้น ต้องย้อนดูด้วยว่าคำพิพากษาคดีแพ่งก็ได้อ้างถึงคำพิพากษาศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง

ที่เห็นว่า พ.ต.ท.ทักษิณดำรงเป็นนายกรัฐมนตรี กลับเซ็นเอกสารยินยอมให้คู่สมรสทำสัญญาซื้อขายที่ดินที่มีหน่วยงานรัฐ กำกับดูแล จึงเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) พ.ศ. 2542 มาตรา 100 และการทำสัญญาซื้อขายจึงไม่ชอบเพราะเป็นประ โยชน์ทับซ้อน

ต่อมา จึงต้องมีการดำเนินกระบวน การทางแพ่งเพื่อให้เกิดการเพิกถอนการทำสัญญาที่ไม่ชอบ ศาลแพ่งจึงตัดสินว่าสัญญาเป็นโมฆะ

กระบวนการที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องที่ต่อเนื่องกับทางคดีอาญา จึงมองได้ว่าไม่ใช่พยานหลักฐานใหม่

ขณะที่หลักการพิจารณาคดีอาญา คือการกระทำเป็นความผิดที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นความผิดนั้นเกิดขึ้นและสำเร็จแล้ว ซึ่งการกระทำที่ฝ่าฝืนกฎหมายป.ป.ช.ของ พ.ต.ท.ทักษิณ ก็สำเร็จแล้วตั้งแต่เซ็นเอกสารให้ภรรยาทำสัญญาเมื่อปี 2546

การนำผลคดีแพ่งมาหักล้างผลที่เป็นการกระทำทางอาญาที่ศาลได้มีคำพิพากษาแล้ว ตามกฎหมายก็มีสิทธิ์ยื่นคำร้องขอรื้อฟื้นคดีได้ แต่ก็มีโอกาสน้อยมากที่จะได้รื้อฟื้น

เนื่องจากต้องมีการพิสูจน์ให้ชัดว่ามีพยานหลักฐานใหม่ แต่ผลคดีแพ่งดังกล่าวไม่ใช่ เพราะเป็นเรื่องที่เป็นการพิจารณาต่อเนื่องจากคดีอาญาที่มีผลคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว

หากจะมียื่นคำร้องจริง ยังต้องรอใช้เวลาพิสูจน์พยานหลักฐานที่หยิบขึ้นมาอ้างว่าเป็นพยานหลักฐานใหม่จริง ตัวอย่างคดีอาญาฆ่า น.ส.เชอร์รี่ แอน ดันแคน ชัดเจนมากว่าเมื่อจะมีพยานกลับคำให้การก็ต้องเริ่มกระบวนพิสูจน์ด้วยว่าคำให้การเดิมเป็นความเท็จ ก็ต้องเริ่มฟ้องคดีให้การเท็จก่อน

ไม่ใช่บอกว่าจะรื้อฟื้นคดีแล้วอ้างว่ามีพยานหลักฐาน ก็จะทำได้วันนี้ หรือพรุ่งนี้

แม้การรื้อฟื้นจะมีสิทธิ์ยื่นคำร้องได้ แต่ศาลท่านเองก็ต้องทำตามกฎหมายอยู่แล้ว ต้องพิจารณาหลักเกณฑ์ที่กฎหมายบัญญัติให้ถูกต้อง


เจริญ คัมภีรภาพ ม.ศิลปากร เชี่ยวชาญกฎหมาย และกฎหมายระหว่างประเทศ

เรื่องนี้น่าสนใจ ส่วนตัวมองว่าทางใดที่จะทำให้ความยุติธรรมเกิดขึ้น เมื่อขณะนี้ฝ่ายผู้เสียหาย ฝ่ายผู้ถูกกระทำ เห็นว่ามีข้อเท็จจริง มีหนทางต่อสู้ ก็น่าจะเปิดโอกาสให้ผู้เสียหายได้พิสูจน์ความยุติธรรม ต้องให้โอกาสแก่คนที่เขาเห็นว่าตัวเขาไม่ได้รับความยุติธรรม

อย่างกรณีที่ดินรัชดาฯ การที่บุคคลถูกลงโทษทางการเมืองโดยที่เขาไม่มีสิทธิอุทธรณ์ ฎีกา เพราะการพิจารณาศาลเดียว แล้วเมื่อเขาเห็นว่ามีข้อเท็จจริงใหม่ ซึ่งมีความสัมพันธ์กับข้อเท็จจริงที่เกี่ยวโยงกับที่ศาลลงโทษ

ถ้ามีโอกาสให้ผู้ถูกลงโทษนำข้อเท็จจริงใหม่ขึ้นสู่ศาล หน้าที่ของศาลก็คือให้ความยุติธรรม ศาลไม่ใช่ตัวยุติความยุติธรรม ศาลต้องเป็นคนทำให้ข้อขัดแย้งยุติด้วยความยุติธรรม

ถ้ามันเป็นหลักฐานใหม่ อย่างกรณี เชอร์รี่ แอน ใครรับผิดชอบ การรื้อคดีก็เป็นไปโดยทั่วไปของคดีหากพบข้อเท็จจริงใหม่ การให้สิทธิแก่คนเป็นสิ่งที่ควรทำ อย่าไปปิดกั้นตั้งแต่แรก

กฎหมายจะยุติธรรมต้องเปิดโอกาสให้บุคคลได้พิสูจน์ความจริง ซึ่งผมว่ามองว่าความยุติธรรมอยู่สูงกว่ากฎหมาย ถ้าคุยเรื่องกฎหมายเป็นการใช้เทคนิค กลไกเท่านั้น

คมสัน โพธิ์คง คณะนิติศาสตร์ ม.สุโขทัยธรรมาธิราช

องพิจารณา 1. ที่รัฐบาลพูดผิดทั้งหมด ยกตัวอย่างผมจ้างคุณไปฆ่าคน ทำสัญญาจ้างเรียบร้อย 5 แสนบาท จ่ายไปแล้ว 3 แสน เหลืออีก 2 แสน จ่ายเมื่องานเสร็จ คุณฆ่าคนตายแล้วมาขอรับเงินที่เหลือแต่ผมไม่จ่าย คุณเอาสัญญาไปฟ้องศาลแพ่ง ศาลบอกหลักกฎหมายแพ่งถือเป็นโมฆะ

ถามว่าที่ฆ่าคนตายไปแล้วมีการกระทำเกิดขึ้นหรือไม่ ในหลักกฎหมายแพ่งที่เป็นโมฆะไม่ได้หมายความไม่มีการกระทำเกิดขึ้น แต่รับผิดทางแพ่งแค่ไหนนั้นเป็นเรื่องหนึ่ง ส่วนความผิดทางกฎหมายอาญารับโทษแค่ไหนก็แยกเรื่องกัน

พ.ต.ท.ทักษิณ ผิดพ.ร.บ. ป.ป.ช. 2542 มาตรา 100 พ.ร.บ.มีโทษทางอาญา วิชากฎหมายอาญา 1 ทุกมหาวิทยาลัยภาคทฤษฎี บอกเลยว่ากฎหมายอาญา มี 2 ประเภท 1.ความผิดอาญาอยู่ในประมวลกฎหมายอาญา 2. ความผิดอาญาอยู่ในพ.ร.บ.ที่มีโทษทางอาญา

กรณี พ.ต.ท.ทักษิณ ตัดสินตามพ.ร.บ. ป.ป.ช. เป็นกฎหมายมีโทษทางอาญา สิ่งที่ทำผิดคือเซ็นชื่อไปซื้อที่ดินโดยที่รู้อยู่แล้วว่าตัวเองควบคุมกองทุนฟื้นฟูฯ เป็นความผิดสำเร็จ

ส่วนคุณหญิงพจมาน ดามาพงศ์ จะไปซื้อที่ดินได้หรือไม่ เมื่อสัญญาเป็นโมฆะก็ไม่ได้ทำให้ความผิดกรณีพ.ต.ท.ทักษิณ เอื้อประ โยชน์ ไม่มีความผิด กรณีสัญญาเป็นโมฆะ เพราะเขาไม่ยอมรับให้การกระทำนั้นมีผล เสมือนไม่เกิด แต่ไม่ได้หมายความว่าการกระทำไม่เกิด

เรื่องนี้ไม่เข้าเงื่อนไขที่จะยื่นอุทธรณ์ ฟื้นคดีไม่ได้และไม่มีเหตุเพราะไม่มีข้อเท็จจริงใหม่ และหากจะยื่นก็เลยระยะเวลาไปแล้ว เพราะรัฐธรรมนูญให้เวลาไว้ 30 วัน

อีกทั้งหากจะอ้างคำสั่งศาลแพ่งไปขัดคำสั่งศาลฎีกา ก็เท่ากับคำสั่งศาลแพ่งใช้บังคับไม่ได้

เรื่องนี้เด็กที่เรียนกฎหมายปี 1 ปี 2 ก็ตอบได้ ซึ่งผมว่าที่จริงพอจะรู้กันอยู่แล้วว่าคดีไม่มีประเด็น แต่น่าจะเป็นการหาเหตุ

และหากจะเอาเหตุนี้มาอ้างเพื่อเขียนถวายคำแนะนำน่าจะเข้าข่ายเป็นการก้าวล่วง
http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROd2Iyd3dNakV3TURrMU5BPT0=



goosehhardcore
goosehhardcore
Hero gen.seh member
Hero gen.seh member

จำนวนข้อความ : 6012
Join date : 12/06/2010
ที่อยู่ : Bangkok Thailand

ขึ้นไปข้างบน Go down

ขึ้นไปข้างบน


 
Permissions in this forum:
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ