GENERAL HERO2010 Member
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.

ย้อนรอยคดี13ศพ หลักฐาน-คำให้การ โยงคำสั่งลับ"ศอฉ." อนุญาตใช้อาวุธหนัก

Go down

ย้อนรอยคดี13ศพ หลักฐาน-คำให้การ โยงคำสั่งลับ"ศอฉ." อนุญาตใช้อาวุธหนัก Empty ย้อนรอยคดี13ศพ หลักฐาน-คำให้การ โยงคำสั่งลับ"ศอฉ." อนุญาตใช้อาวุธหนัก

ตั้งหัวข้อ  lucky m. Mon Aug 15, 2011 10:30 am

วันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2554 ปีที่ 21 ฉบับที่ 7563 ข่าวสดรายวัน


ย้อนรอยคดี13ศพ หลักฐาน-คำให้การ โยงคำสั่งลับ"ศอฉ." อนุญาตใช้อาวุธหนัก

คอลัมน์ แฟ้มคดี



กลายเป็นหลักฐานชัดๆ อีกชิ้นที่เปิดเผยออกมาว่าในช่วงการสลายม็อบเสื้อแดงระหว่างวันที่ 10 เมษายน และวันที่ 13 เมษายน 2553 ผู้มีอำนาจบางคน มีคำสั่งผ่านทางศอฉ.อนุญาตให้ทหารใช้อาวุธปืน และกระสุนจริง เพื่อจัดการกลุ่มผู้ชุมนุม

แม้ในคำสั่งจะระบุให้ทหารใช้ "ปืนลูกซอง" และให้ยิงต่ำกว่า หัวเข่า

แต่ข้อเท็จจริงจากศพผู้เสียชีวิต และภาพข่าวก็ชัดเจนว่าทหารใช้ปืนเอ็ม 16 กับปืนสไนเปอร์เป็นอาวุธหลัก ผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่ไม่ถูกยิงที่หน้าอกก็ศีรษะ โดยนักแม่นปืน

จึงกลายเป็นข้อมูลที่หนักแน่นยิ่งว่าเหตุใดการสลายการชุมนุมจึงมีผู้เสียชีวิตถึง 91 ราย และบาดเจ็บกว่า 2,000 คน

ในชั้นนี้ที่ผิดชัดเจนคือ "ผู้สั่งการ" เพราะลำพังทหารผู้ปฏิบัติการคงไม่กล้าใช้อาวุธหนัก และสาดกระสุนออกไปเป็นแสนๆ นัด ถ้าไม่มีคำสั่งออกมาเป็นลายลักษณ์อักษรเช่นนี้

เมื่อนำข้อมูลดังกล่าวมารวมกับข้อมูลของดีเอสไอ ที่แถลงเมื่อต้นปีโดย นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีดีเอสไอ เรื่องผู้เสียชีวิต

นายธาริต พูดชัดเจนว่ามีม็อบอย่างน้อย 13 ราย น่าเชื่อว่าเสียชีวิตจากฝีมือของเจ้าหน้าที่รัฐ!??

พลิกคดี 13 ศพเหยื่อสลายม็อบ

นายธาริต ออกมาเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการตายของเหยื่อสลายม็อบเมื่อวันที่ 20 มกราคมที่ผ่านมา โดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ คือตายเพราะกลุ่มคนเสื้อแดง 12 ราย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเจ้าหน้าที่รัฐ อีกส่วนหนึ่งซึ่งมากที่สุดคือ 64 ราย ยังไม่สามารถระบุว่าเป็นฝีมือใคร

และสุดท้ายมีอีก 13 ศพที่ดีเอสไอเชื่อว่าตายเพราะเจ้าหน้าที่รัฐ!!!

ในจำนวนนี้มี 3 ใน 6 ศพของวัดปทุมวนารามรวมอยู่ด้วย

ข้อมูลนี้ยังเจาะลึกลงไปอีกเมื่อ นายจตุพร พรหมพันธุ์ ส.ส.พรรคเพื่อไทย นำไปพูดในสภาในการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

หลักฐานทั้งหมดสอบสวนโดยดีเอสไอ

เริ่มจากคดีแรกที่อื้อฉาวที่สุดและน่าจะเป็นจุดสลบของรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ คือกรณีฆ่าหมู่ 6 ศพวัดปทุมวนาราม เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2553 ซึ่งเกิดขึ้นหลังม็อบสลายตัวไปหมดแล้ว โดยมีประชาชนหลบเข้าไปอยู่ภายในวัดนับพันคน

แต่ก็เกิดเรื่องเมื่อมี 6 รายถูกยิงเสียชีวิตในจำนวนนั้นมีอาสาพยาบาลที่ไม่เกี่ยวข้องกับการชุมนุมเลย เหยื่อทั้ง 6 รายประกอบด้วย นายรพ สุขสถิตย์, นายอัฐชัย ชุมจันทร์, น.ส.กมนเกด อัคฮาด, นายมงคล เข็มทอง, นายสุวรรณ ศรีรักษา และนายอัครเดช ขันแก้ว

จากหลักฐานของดีเอสไอที่รับผิดชอบการสอบสวนระบุว่า สอบปากคำพยานรวม 41 ปาก มีทั้งญาติของผู้เสียชีวิต ผู้อยู่ในเหตุการณ์ ผู้บาดเจ็บ ทหารที่รับผิดชอบบริเวณรางรถไฟฟ้าหน้าวัดปทุมฯ และตำรวจประจำตร.แห่งชาติ ซึ่งถ่ายวิดีโอนาทีเห็นชายแต่งกายคล้ายทหารบนรางรถไฟฟ้ายิงถล่มเข้าไปภายในวัดปทุมฯ

มีพยานเอกสารและหลักฐานรวม 46 ชิ้น

การสอบสวนพบว่าทหารบนรางรถไฟฟ้าบีทีเอส มีนายทหารยศ "พันตรี" เป็นหัวหน้าชุด พร้อมลูกทีมจำนวนหนึ่ง ซึ่งรับว่าเกิดการยิงบริเวณวัดจริงโดยให้การกับพนักงานสอบสวนว่ายิงตอบโต้กับกองกำลังติดอาวุธ

จากคำให้การของพยานผลการตรวจศพ วิถีกระสุน พบว่าเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2553 เวลา 18.00 น. เศษ พยานยืนยันว่าทหารแต่งกายชุดลายพรางยืนถือปืนยาวอยู่บนรางรถไฟฟ้าบีทีเอส ฝั่งวัดปทุมวนาราม ใช้อาวุธปืนประจำกายยิงพยาน และยิงเข้าไปในเต็นท์พยาบาลภายในวัด เป็นเหตุให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต

ส่วนคำให้การของทหารบนรางรถไฟฟ้าบีทีเอส ระบุว่าใช้อาวุธปืนยิงเข้าไปภายในวัดจริง แต่ยิงใส่ชายชุดดำที่มีอาวุธ

ขณะที่ในศพบางรายพบหัวกระสุนสีเขียวขนาด .223 (5.56) ชนิดเดียวกับที่ทหารบนรางรถไฟฟ้าใช้

ดีเอสไอระบุว่าในจำนวนนี้มี 3 รายที่น่าเชื่อว่าเป็นฝีมือของเจ้าหน้าที่รัฐคือนายรพ สุขสถิตย์, นายมงคล เข็มทอง และนายสุวรรณ ศรีรักษา

"ฮิโรยูกิ มูราโมโต้"ก็ด้วย

ในสำนวนของดีเอสไอระบุว่ากรณีนาย ฮิโรยูกิ มูราโมโต้ ชาวญี่ปุ่น ช่างภาพสำนักข่าว รอยเตอร์ ซึ่งถูกยิงเสียชีวิตระหว่างทำข่าวการชุมนุมคนเสื้อแดงบริเวณถนนดินสอ แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2553 ก็น่าเชื่อว่าเป็นฝีมือของเจ้าหน้าที่รัฐเช่นกัน

ผู้เสียชีวิตรายที่ 5 คือ นายมานะ อาจราญ พนักงานดูแลบำรุงรักษาสัตว์สวนสัตว์ดุสิต ถูกยิงตายในสวนสัตว์ดุสิต เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2553 ในสำนวนระบุว่า มีพยานรวม 14 ปาก ทั้งเจ้าหน้าที่สวนสัตว์ และเจ้าหน้าที่ทหาร ซึ่งรวมพลกันในลานจอดรถสวนสัตว์ดุสิต

รายนี้หลักฐานชัดเจนมากเพราะในที่เกิดเหตุมีแต่ทหารที่เข้าไปประจำการอยู่ คาดว่าเกิดความเข้าใจผิด สุดท้ายนายมานะ ก็ถูกยิงตาย ในที่เกิดเหตุพบปลอกกระสุนปืนเอ็ม 16 จำนวน 2 ปลอก โล่ปราบจลาจล และเสื้อลายพรางระบุชื่อ "บารมี ชีพไธสงค์"

เหยื่อรายที่ 6 คือพลทหารณรงค์ฤทธิ์ สาละ ถูกยิงเสียชีวิตเมื่อวันที่ 28 เมษายน 2553 บนถ.วิภาวดี-รังสิต เขตดอนเมือง กทม. มีพยานรวม 26 ปาก ส่วนใหญ่เป็นตำรวจ ทหาร และพยานที่อยู่ใกล้จุดเกิดเหตุ ซึ่งระหว่างนั้นตำรวจ-ทหารตั้งแถวป้องกันกลุ่มผู้ชุมนุมเดินทางผ่านมาทาง ถ.วิภาวดีฯ

พลทหารณรงค์ฤทธิ์ กับพวกขี่รถจักรยานยนต์มาสมทบโดยมาทางกลุ่มผู้ชุมนุม เมื่อมาถึงแถวทหารก็ถูกยิงเสียชีวิต

วิถีกระสุนมาจากซ้ายข้างจุดที่มีทหารถือปืนเอ็ม 16 เอชเค และลูกซองประจำการอยู่ และมีพยานยืนยันว่าเห็นทหารชุดดังกล่าวยิงปืนเข้าใส่กลุ่มรถจักรยานยนต์ที่แล่นเข้ามา

ศพที่ 7 นายชาติชาย ชาเหลา หนึ่งในผู้ชุมนุมถูกยิงตายเมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2553 ระหว่างเดินถ่ายวิดีโอบริเวณริมถนนพระราม 4 ตรงข้ามสวนลุมพินี จุดดังกล่าวมีทหารประจำอยู่บนสะพานลอยบริเวณตึกอื้อจือเหลียง มีพยานรวม 3 ปากเป็นทหาร และหลักฐานภาพถ่ายจากกล้องวิดีโอของนายชาติชาย

ช่วงเกิดเหตุนายชาติชายถือกล้องวิดีโอถ่ายภาพมาตามบาทวิถี แล้วมาหยุดห่างจากด่านของทหารประมาณ 100 เมตร ระหว่างถ่ายภาพทหารบนสะพานลอยก็ถูกยิงได้รับบาดเจ็บก่อนเสียชีวิตในเวลาต่อมา

ตายต่อหน้านักข่าวต่างชาติ

รายที่ 8 นายบุญมี เริ่มสุข อายุ 71 ปี ถูกยิงเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2553 บริเวณทางเท้าข้างร้านอาหารระเบียงทอง เขตปทุมวัน กทม. โดยไม่ได้เกี่ยวข้องกับการชุมนุมเลย เพราะช่วงเกิดเหตุนายบุญมี ไปทานอาหารที่ร้านระเบียงทอง เมื่อเดินออกมาก็ถูกยิง

นายบุญมี ได้รับบาดเจ็บนอนรักษาตัวอยู่ราว 2 เดือน ก่อนเสียชีวิตเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2553 ซึ่งระหว่างรักษาตัวเหยื่อบอกกับภรรยาและแพทย์ที่รักษาว่า ถูกยิงโดยกลุ่มทหาร

รายที่ 9 คือ นายชาญณรงค์ พลสีลา ถูกยิงเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2553 เวลาประมาณ 14.00 น. บริเวณถ.พญาไท เขตราชเทวี กทม. ระหว่างชุมนุมแล้วใช้หนังสติ๊กยิงสู้กับทหาร

นายนิโคลัส นอร์ติสส์ ช่างภาพต่างชาติที่อยู่กับผู้ชุมนุมให้ปากคำชัดเจนว่า นายชาญณรงค์ ถูกยิงบาดเจ็บ ก่อนที่เพื่อนๆ จะพาหนีเข้าไปในห้องน้ำปั๊มน้ำมันใกล้ๆ กัน พยานระบุว่ามีทหารตามเข้ามาแล้วเกิดเสียงปืนอีกหลายนัด ก่อนที่จะลากนายชาญณรงค์ออกไป และเสียชีวิตในเวลาต่อมา

แพทย์ผ่ากระสุนจากศพพบเป็นขนาด .223 (5.56) หรือกระสุนปืนเอ็ม 16

ศพที่ 10-11 คือ ด.ช.คุณากร ศรีสุวรรณ และนายพัน คำกอง ถูกยิงตายบริเวณ ถ.พญาไท เขตราชเทวี มีพยานระบุชัดว่าเป็นความเข้าใจผิดของทหารที่ตั้งด่านสกัดแล้วมีรถตู้พยายามแล่นเข้ามา จึงใช้อาวุธปืนยิงใส่หลายนัด หลังเหตุการณ์สงบพบว่าด.ช.คุณากร และนายพัน ถูกยิงด้วยกระสุนความเร็วสูง

เหยื่อรายที่ 12-13 ตายในเหตุการณ์เดียวกันคือการปะทะกันระหว่างทหารกับผู้ชุมนุมบริเวณใต้ทางด่วนพระราม 4 เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2553

เสื้อแดงจี้รบ.ใหม่หาคนผิด

แม้ดีเอสไอจะสรุปเหตุนี้ตั้งแต่ต้นปี แต่ก็มีอีกหลายขั้นตอนโดยโยนกลับไปให้ตำรวจสอบสวนเพิ่ม และคดีก็ดำเนินไปอย่างเรื่อยๆ มาเรียงๆ ผิดกับคดีของกลุ่มเสื้อแดงที่รวบรัดฉับไว จับส่งเข้าคุกไปจำนวนมาก

จึงเมื่อมีการเลือกตั้งใหม่และพรรคเพื่อไทยชนะได้เป็นรัฐบาลภายใต้การนำของน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กลุ่มเสื้อแดงและญาติผู้เสียชีวิตจึงเคลื่อนไหวเรียกร้องให้คืนความเป็นธรรมกับผู้เสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บ

พร้อมๆ กับการจี้ให้เปลี่ยนตัวผู้รับผิดชอบจากนายธาริต เป็นคนอื่นเพื่อความเป็นธรรมเนื่องจากนายธาริต ถือว่าเกี่ยวกับศอฉ.โดยตรง และการทำงานที่ผ่านมาก็แสดงออกชัดเจนว่ามีจุดยืนเช่นไร!??

อย่างไรก็ตาม เมื่อเปลี่ยนรัฐบาลใหม่ ดูเหมือนคดีก็เริ่มมีความคืบหน้ามากขึ้น โดยนายธาริต ระบุว่าคดี 13 ศพได้สำนวนคืนจากตำรวจแล้ว ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณานำเสนอความเห็นส่งอัยการคาดว่า จะใช้เวลาสรุปสำนวนภายในสิ้นเดือนสิงหาคมนี้

พร้อมกันนี้ดีเอสไอขออนุมัติออกหนังสือเชิญตัวทหารที่รับผิด ชอบพื้นที่หน้าวัดปทุมฯ และบนรางรถไฟฟ้าบีทีเอส มาให้ปากคำ เพิ่มเติม

โดยคดีฆ่าหมู่ 6 ศพวัดปทุมฯ ถือว่าเป็นคดีที่มีพยานหลักฐานชัดเจนที่สุดก็ว่าได้

จะเป็นคดี 6 ศพวัดปทุมฯ หรือการสรุปคดี 13 ศพของดีเอสไอ เสมอเป็นเพียงการเริ่มต้นคืนความยุติธรรมให้เหยื่อ และมีอีกหลายชีวิตที่สูญเสียรอการชดใช้จาก "ผู้สั่งการ"

ซึ่งจากเอกสารศอฉ.ที่หลุดออกมา และหลักฐานต่างๆ ที่ปรากฏ

มีอย่างน้อย 2 คนที่ต้องรับผิดชอบ!??
lucky m.
lucky m.
Hero gen.seh member
Hero gen.seh member

จำนวนข้อความ : 2803
Join date : 12/06/2010

ขึ้นไปข้างบน Go down

ขึ้นไปข้างบน


 
Permissions in this forum:
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ