ความรู้รอบตัว ** เรื่องควรทราบเกี่ยวกับสุขภาพของดวงตา **
หน้า 1 จาก 1 • Share •
ความรู้รอบตัว ** เรื่องควรทราบเกี่ยวกับสุขภาพของดวงตา **
** เรื่องควรทราบเกี่ยวกับสุขภาพของดวงตา **
ในแต่ละวัน มีผู้ใช้แท็บเล็ตและสมาร์ทโฟนเพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยๆ โดยสิ่งเหล่านั้น
มาพร้อมกับพฤติกรรมการใช้สายตาเพื่อจ้องมองหน้าจอของอุปกรณ์อย่างปฏิเสธไม่ได้
ดร.คริสติน เพอสโลว ผู้เชี่ยวชาญด้านสายตา เผยว่า เมื่อเราจดจ่ออยู่กับการมอง
อุปกรณ์ดังกล่าว จะทำให้เกิดอาการ "ลืมกระพริบตา" ซึ่งส่งผลกระทบต่อระบบ
หล่อลื่นตา เพราะโดยปกติคนเราจะกระพริบตา 12-15 ครั้งต่อนาที แต่เมื่อใช้แท็บเล็ต
สมาร์ทโฟน หรือแม้กระทั่งโน๊ตบุ๊ค คอมพิวเตอร์ การมองหน้าจอจะทำให้กระพริบตา
ลดลงไปเหลือ 7-8 ครั้งต่อนาที
** การกระพริบตาที่น้อยลง อาจทำให้ตาแห้งจนเยื่อตาฉีกขาดได้

นพ.ไพศาล ร่วมวิบูลย์สุข นายแพทย์เชี่ยวชาญด้านเวชกรรม สาขาจักษุวิทยา
โรงพยาบาลราชวิถี กล่าวเรื่อง จอตาขาดและหลุดลอก ในการประชุมวิชาการ
ประจำปีของราชวิทยาลัยจักษุแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 100 ว่าจากสถิติของ
ศูนย์ความเป็นเลิศเฉพาะทางโรคจอตา โรงพยาบาลราชวิถีโรคจอประสาทตา
ปีงบประมาณ 2555 พบว่า มีผู้ป่วยโรคจอตาขาดและหลุดลอก จำนวน 4,213 ราย
โดยอัตราการป่วยโรคจอตาขาดและหลุดลอกอยู่ที่ 1 ต่อ 10,000 ราย หรือประมาณ
7,000-8,000 รายต่อปี

ส่วนใหญ่เกิดกับ
1. กลุ่มผู้สูงอายุที่มีอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป
2. ผู้ที่เคยได้รับอุบัติเหตุทางดวงตา
3. ผู้ที่เคยได้รับการผ่าตัดตามาก่อน เช่น ผ่าตัดต้อกระจก และ
4. ผู้ที่มีสายตาสั้นมากกว่า 7 ไดออปเตอร์ หรือ 700 ขึ้นไป
เพราะเป็นกลุ่มที่มีโอกาสเกิดความเสื่อมของน้ำวุ้นตามากกว่าคนปกติ
ทำให้มีความเสี่ยงเป็นโรคจอตาขาดและหลุดลอก
นพ.ไพศาล กล่าวอีกว่า โรคจอตาขาดและหลุดลอกเกิดจากความเสื่อมของน้ำวุ้นตา
ที่แนบอยู่กับจอตา ทำให้น้ำวุ้นตาดึงจอตาจนเกิดรอยฉีกขาดและหลุดลอก โดยอาการ
ที่แสดงว่าเป็นโรคดังกล่าวคือ
1. จะเห็นเป็นม่านค่อยๆตกลงมาบังการมองเห็น ซึ่งระยะแรกจะเห็นเป็นม่านบางๆ ก่อน
และจะเริ่มมีความหนามากขึ้นหรือมืดขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งหากรักษาไม่ทันอาจส่งผลให้ตาบอดได้
2. นอกจากนี้ ยังอาจเห็นแสงฟ้าแลบเข้ามาเป็นระยะๆ เหมือนการฉายแฟลชเข้าดวงตา
ซึ่งความถี่ในการเห็นแสงฟ้าแลบนั้นมีจำนวนครั้งไม่แน่นอน บางรายอาจเกิดชั่วโมงละครั้ง
แต่หากทิ้งไว้นานๆ ความถี่ของการเกิดจะมากขึ้น อาจส่งผลให้ตาบอดได้

ดังนั้น ผู้ที่เป็นกลุ่มเสี่ยงควรพบจักษุแพทย์อย่างน้อยปีละครั้ง เพื่อขยายม่านตา
ตรวจจอประสาทตา เพราะบางรายอาจเกิดอาการจอตาขาดโดยไม่รู้ตัว
เนื่องจากขาดแล้วแต่ยังไม่หลุดลอก ในการรักษาจะผ่าตัดน้ำวุ้นตาเพื่อให้
จอตาติดกลับคืน ได้ผลมากกว่า 90%
..............................
"ควรใช้สายตาอย่างทะนุถนอม อย่าใช้มากเกินไปโดยไม่จำเป็น เช่น การเคลื่อนที่ของดวงตา
เพราะยิ่งเคลื่อนไหวตามากๆ จะทำให้เสื่อมไว ส่วนการเพ่งหน้าจอคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ
สมาร์ทโฟน หรือแท็บเล็ตมากจนเกินไป หรือนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ แม้จะไม่มีรายงาน
การวิจัยที่ชัดเจนว่ามีโอกาสทำให้น้ำวุ้นตาเสื่อม แต่จะทำให้กล้ามเนื้อตาอ่อนล้า และเกิดอาการ
ตาแห้ง ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อดวงตาเช่นกัน ขอแนะนำให้ทุกคนใช้ดวงตาอย่างทะนุถนอม อย่าขยี้ตา
กดเข้าไปในดวงตา หรือการนวดเข้าไปที่ดวงตาโดยตรง"นพ.ไพศาลกล่าว

ในแต่ละวัน มีผู้ใช้แท็บเล็ตและสมาร์ทโฟนเพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยๆ โดยสิ่งเหล่านั้น
มาพร้อมกับพฤติกรรมการใช้สายตาเพื่อจ้องมองหน้าจอของอุปกรณ์อย่างปฏิเสธไม่ได้
ดร.คริสติน เพอสโลว ผู้เชี่ยวชาญด้านสายตา เผยว่า เมื่อเราจดจ่ออยู่กับการมอง
อุปกรณ์ดังกล่าว จะทำให้เกิดอาการ "ลืมกระพริบตา" ซึ่งส่งผลกระทบต่อระบบ
หล่อลื่นตา เพราะโดยปกติคนเราจะกระพริบตา 12-15 ครั้งต่อนาที แต่เมื่อใช้แท็บเล็ต
สมาร์ทโฟน หรือแม้กระทั่งโน๊ตบุ๊ค คอมพิวเตอร์ การมองหน้าจอจะทำให้กระพริบตา
ลดลงไปเหลือ 7-8 ครั้งต่อนาที
** การกระพริบตาที่น้อยลง อาจทำให้ตาแห้งจนเยื่อตาฉีกขาดได้

นพ.ไพศาล ร่วมวิบูลย์สุข นายแพทย์เชี่ยวชาญด้านเวชกรรม สาขาจักษุวิทยา
โรงพยาบาลราชวิถี กล่าวเรื่อง จอตาขาดและหลุดลอก ในการประชุมวิชาการ
ประจำปีของราชวิทยาลัยจักษุแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 100 ว่าจากสถิติของ
ศูนย์ความเป็นเลิศเฉพาะทางโรคจอตา โรงพยาบาลราชวิถีโรคจอประสาทตา
ปีงบประมาณ 2555 พบว่า มีผู้ป่วยโรคจอตาขาดและหลุดลอก จำนวน 4,213 ราย
โดยอัตราการป่วยโรคจอตาขาดและหลุดลอกอยู่ที่ 1 ต่อ 10,000 ราย หรือประมาณ
7,000-8,000 รายต่อปี

ส่วนใหญ่เกิดกับ
1. กลุ่มผู้สูงอายุที่มีอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป
2. ผู้ที่เคยได้รับอุบัติเหตุทางดวงตา
3. ผู้ที่เคยได้รับการผ่าตัดตามาก่อน เช่น ผ่าตัดต้อกระจก และ
4. ผู้ที่มีสายตาสั้นมากกว่า 7 ไดออปเตอร์ หรือ 700 ขึ้นไป
เพราะเป็นกลุ่มที่มีโอกาสเกิดความเสื่อมของน้ำวุ้นตามากกว่าคนปกติ
ทำให้มีความเสี่ยงเป็นโรคจอตาขาดและหลุดลอก
นพ.ไพศาล กล่าวอีกว่า โรคจอตาขาดและหลุดลอกเกิดจากความเสื่อมของน้ำวุ้นตา
ที่แนบอยู่กับจอตา ทำให้น้ำวุ้นตาดึงจอตาจนเกิดรอยฉีกขาดและหลุดลอก โดยอาการ
ที่แสดงว่าเป็นโรคดังกล่าวคือ
1. จะเห็นเป็นม่านค่อยๆตกลงมาบังการมองเห็น ซึ่งระยะแรกจะเห็นเป็นม่านบางๆ ก่อน
และจะเริ่มมีความหนามากขึ้นหรือมืดขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งหากรักษาไม่ทันอาจส่งผลให้ตาบอดได้
2. นอกจากนี้ ยังอาจเห็นแสงฟ้าแลบเข้ามาเป็นระยะๆ เหมือนการฉายแฟลชเข้าดวงตา
ซึ่งความถี่ในการเห็นแสงฟ้าแลบนั้นมีจำนวนครั้งไม่แน่นอน บางรายอาจเกิดชั่วโมงละครั้ง
แต่หากทิ้งไว้นานๆ ความถี่ของการเกิดจะมากขึ้น อาจส่งผลให้ตาบอดได้

ดังนั้น ผู้ที่เป็นกลุ่มเสี่ยงควรพบจักษุแพทย์อย่างน้อยปีละครั้ง เพื่อขยายม่านตา
ตรวจจอประสาทตา เพราะบางรายอาจเกิดอาการจอตาขาดโดยไม่รู้ตัว
เนื่องจากขาดแล้วแต่ยังไม่หลุดลอก ในการรักษาจะผ่าตัดน้ำวุ้นตาเพื่อให้
จอตาติดกลับคืน ได้ผลมากกว่า 90%
..............................
"ควรใช้สายตาอย่างทะนุถนอม อย่าใช้มากเกินไปโดยไม่จำเป็น เช่น การเคลื่อนที่ของดวงตา
เพราะยิ่งเคลื่อนไหวตามากๆ จะทำให้เสื่อมไว ส่วนการเพ่งหน้าจอคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ
สมาร์ทโฟน หรือแท็บเล็ตมากจนเกินไป หรือนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ แม้จะไม่มีรายงาน
การวิจัยที่ชัดเจนว่ามีโอกาสทำให้น้ำวุ้นตาเสื่อม แต่จะทำให้กล้ามเนื้อตาอ่อนล้า และเกิดอาการ
ตาแห้ง ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อดวงตาเช่นกัน ขอแนะนำให้ทุกคนใช้ดวงตาอย่างทะนุถนอม อย่าขยี้ตา
กดเข้าไปในดวงตา หรือการนวดเข้าไปที่ดวงตาโดยตรง"นพ.ไพศาลกล่าว

Mamhablue- Senior gen.member
- จำนวนข้อความ : 202
Join date : 23/09/2012
หน้า 1 จาก 1
Permissions in this forum:
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ